คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างการกู้เงินและการอ้างเหตุผลในการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินจาก ค. ที่จำเลยนำสืบว่าการทำสัญญาจำนองไม่มีการมอบเงินกันเป็นการนำสืบหักล้างว่าการกู้เงินไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้ายและที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อและนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ค. ยึดถือไว้เป็นประกันเงินดาวน์เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นที่มาแห่งมูลหนี้กู้ยืมและจำนองที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานะโจทก์ แต่พิพาทประเด็นเดียวกันกับคดีก่อนย่อมถูกห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีอ้างฐานะของความเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในกรณีที่กองทรัพย์สินของ ส. ถูกจำเลยทั้งสองใช้จ่ายไปโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนจำเลยทั้งสองออกจากการเป็นผู้อนุบาลของ ส. ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีอ้างฐานะของความเป็นผู้อนุบาลของ ส. ซึ่งเกิดจากคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นในคดีก่อนเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินส่วนที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้อนุบาลของ ส. นำจากกองทรัพย์สินของ ส. ไปใช้โดยไม่สุจริตคืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันในคดีก่อนแล้วการอ้างฐานะในการใช้สิทธิต่างกันของโจทก์ทั้งสองที่ทรงสิทธิเดียวกันเช่นนี้หาได้ทำให้ฐานะของการเป็นคู่ความของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลงหรือต่างกันไปด้วยไม่โจทก์ทั้งสองยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายโจทก์รายเดียวกันกับคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีก่อนและพิพาทกันในประเด็นเดียวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน ห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อร้องฟ้องกันใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์คดีแพ่งแยกคำนวณรายโจทก์เมื่อพิพาทสิทธิที่ดินแปลงต่างกัน ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ที่ดินมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ทุนทรัพย์จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกสิทธิครอบครองที่ดินจากจำเลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่
ขณะศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แม้บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรกซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 18ยังไม่ใช้บังคับก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฎีกาบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว คู่ความจะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 80,627 บาท โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้น้อยไปขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 273,342 บาท ดังนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)
แม้ศาลจะสืบพยานหลักฐานไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อมีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง ศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้แทนการขายทอดตลาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้มีโอกาสชำระหนี้ โดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินอันสามารถทำรายได้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไป เมื่อได้ความว่ารายได้จากการประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ที่ยึดเพื่อดำเนินกิจการแทนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากที่ดินโจทก์ กับทำที่ดินให้กลับอยู่ในสภาพเดิม จำเลยให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจึงมิได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่พิพาทมีเนื้อที่เพียงประมาณ 4 ตารางวา ไม่อาจมีราคาเกินกว่า 200,000 บาทจึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดโดยจงใจและการเริ่มนับระยะเวลาในการขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยและมีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายนั้น ณ ภูมิลำเนาจำเลยตามหลักฐานทางทะเบียนบ้าน เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว หากแต่จำเลยไปอยู่บ้านมารดาจำเลย และจำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้ระบุบ้านจำเลยตามที่ปิดหมายในคำฟ้อง คำขอและคำแถลงในคดีอื่นที่จำเลยฟ้องโจทก์ก็เป็นการที่จำเลยระบุตามหลักฐานทางทะเบียนบ้าน กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัด ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัด แม้โจทก์จะได้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์อันถือเป็นการบังคับตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้มีการส่งคำบังคับให้จำเลยทราบกำหนดเวลาสิบห้าวันที่ขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จึงยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาคำขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกบัญญัติว่า"คำขอให้พิจารณาใหม่นั้นให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" เมื่อโจทก์ยังมิได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบ กำหนดเวลาสิบห้าวันจึงยังไม่เริ่มนับ ส่วนที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 19พฤศจิกายน 2530 อันถือเป็นการบังคับตามคำพิพากษาก็ตาม แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2531 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหกเดือนตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงยังไม่ล่วงเลยเวลาที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3387/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
จำเลยซึ่งชนะคดีในศาลชั้นต้นย่อมคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคำแก้อุทธรณ์สำหรับประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นนั้นได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชนะคดีตามคำอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 2 แก้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3)ประกอบมาตรา 247
of 32