คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการมอบฉันทะให้ถอนเงินจากบัญชีผู้กู้ ถือเป็นการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้โดยมอบฉันทะให้โจทก์ไปถอนเงินจากธนาคารที่จำเลยทั้งสองมีบัญชีเงินฝากเอง ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลยดังกล่าวและโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลมิอาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาเจ้าของกรรมสิทธิ์
วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่งก็ตาม แต่จะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: วิธีการแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ จากจำนวนที่ดิน 7 ไร่ 1 งาน จำเลยให้การว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมเพียง1 งาน 26 ตารางวา เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โต้แย้งกันในจำนวนที่ดินส่วนที่ต่างกัน คู่ความตีราคาทุนทรัพย์พิพาท 90,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายข้าวนึ่งที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 456 วรรคสอง สัญญาเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยโดยทางโทรพิมพ์ และโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมายังเครดิตธนาคาร ก. เพื่อชำระเงินค่าข้าวนึ่งตามที่มีการติดต่อกันไว้ทางโทรพิมพ์แล้วก็ตาม เมื่อการตกลงซื้อขายข้าวนึ่งดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยทั้งสองผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำหรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน การรื้อถอนกำแพง และสิทธิในการผ่านทางตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การที่จำเลยและจำเลยร่วมสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวในที่ดินของจำเลยเอง มิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลมหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนกำแพงดังกล่าว จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้กำหนดแผนผังแบ่งแยกที่ดินแต่ละแปลงให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง โจทก์ก็สามารถใช้ที่ดินทางทิศใต้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทาง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าถ้าโจทก์ต้องผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะในทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างในที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต แม้เริ่มแรกสุจริต แต่ทราบภายหลังแล้วยังก่อสร้างต่อ ถือผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องคดีระหว่างแม่ลูก: คดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับโจทก์ว่ายื่นคำร้องขอออก น.ส.3ทับที่ดินโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว หาใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ขายลดเช็ค, อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สาขาถนนลาดพร้าว ซอย 99 ไม่ใช่สาขาอินทามระที่จำเลยที่ 1นำเช็คมาขายลดในภายหลังซึ่งจำเลยที่ 1 ได้โอนบัญชีมาแล้วสาขาของโจทก์นั้นไม่ว่าสาขาใดก็คือส่วนหนึ่งของโจทก์นั่นเองสัญญาค้ำประกันระบุว่า หนี้รับซื้อลดตั๋วเงินซึ่งรวมถึงหนี้ขายลดเช็คตามฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็ค และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องโดยตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป มิใช่กิจการที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
การโอนสิทธิเรียกร้อง มิใช่กิจการเฉพาะที่ต้องห้ามมิให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปกระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 จ. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัท ย. จึงเป็นผู้มีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัท ย. มีต่อจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(7)
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 มีอำนาจตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ดำเนินกิจการได้หลายประการ การที่โจทก์ให้จำเลยใช้บริการโทรศัพท์แล้วคิดค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนด ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ค้ำรับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับจากการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) ซึ่งโจทก์จะต้องเรียกร้องเอาค่าบริการภายใน 2 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าบริการคดีนี้เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ
of 42