คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขับรถ ชนกันเนื่องจากจักรยานยนต์ตัดหน้า จำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่ทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีรอยห้ามล้อของรถยนต์ก่อนถึงจุดชนเป็นระยะทางประมาณ 6 เมตร ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามหยุดรถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการชนกันขึ้น แต่สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับในระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยที่ 1จะหยุดรถได้ทัน กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันจึงหาได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาตัดสินว่าไม่ประมาท คดีแพ่งก็ต้องฟังตาม
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จำเลยที่ 1ถูกพนักงานอัยการกองคดีแขวงพระนครใต้เป็นโจทก์ฟ้อง ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารชน ช. โดยประมาทหรือไม่ การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 คดีอาญาดังกล่าวฟังข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้ศาลจะต้องฟังในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 1มิได้ขับรถยนต์โดยสารชน ช. โดยประมาทการกระทำของจำเลยที่ 1ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการลดโทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์-พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพ และค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการส่งปืนให้ผู้อื่นทำให้ถึงแก่ความตาย แม้ฟ้องว่าเจตนาฆ่า ศาลลงโทษฐานประมาทได้
จำเลยส่งอาวุธเป็นซึ่งบรรจุกระสุนปืนพร้อมจะยิงได้ให้ ผู้ตายโดยหันปากกระบอกปืนไปทางผู้ตายและไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้ปืนลั่นขึ้นทำให้กระสุนปืนถูกผู้ตายที่กกหูถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเจตนาฆ่าผู้ตาย ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ได้บัญญัติไว้ว่า ข้อแตกต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาทเป็นข้อแตกต่างกันเพียงรายละเอียด ดังนั้นศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ส่งอาวุธปืนให้ผู้ตาย แล้วปืนเกิดลั่นขึ้นทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงไม่ได้หลงต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องทิศทางรถยนต์ไม่ส่งผลต่อการต่อสู้คดี และประเด็นอายุความฟ้องแย้งไม่เป็นสาระ
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 3ฟังได้ต้องกันว่า รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดเฉี่ยวชนกันขึ้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางวิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร"เป็น"รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" จึงเป็นการขอแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง แม้โจทก์จะขอแก้ไขในวันสืบพยานก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า เหตุเกิดเพราะผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 จะขาดอายุความหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอีกต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ.ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไร อันจะถือว่าพ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 300 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้น และแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทขับรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย ศาลฎีกาพิจารณาความร้ายแรงของบาดแผลเพื่อลงโทษตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ. ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไรอันจะถือว่า พ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้นและแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูเวรไม่ต้องรับผิดเพลิงไหม้โรงเรียน หากความเสียหายเกิดจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงและไม่ใช่ผลโดยตรงจากการประมาท
คืนเกิดเหตุจำเลยเป็นครูเวรของโรงเรียนแล้วมีนักเรียนลอบเข้าไปจุดเทียนไขอ่านหนังสือในห้องสมุดของโรงเรียน จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรียนซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ในขณะที่จำเลยไม่ได้อยู่เฝ้าที่โรงเรียนนั้น กรณีเห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่จำเลยไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าจะเกิดขึ้นได้เลย ความเสียหายของโจทก์จึงหาใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถเสียและการใช้ความระมัดระวังเพียงพอ ไม่ถือเป็นการประมาทที่เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ
รถยนต์โดยสารที่จำเลยขับยางล้อหลังระเบิดจำเลยจึงจอดรถยนต์ไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลังด้านขวาอยู่บนถนน แล้วจำเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟกระพริบ ถือได้ว่าจำเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, หุ้นส่วนผู้จัดการ, และผู้รับประกันภัย เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าลูกจ้างประมาท
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของ ว. ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ว. ได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ให้ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแยกได้เมื่อศาลฎีกาฟังว่า ว. มิได้ขับรถโดยประมาท แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา คงฎีกาขึ้นมาเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 3 ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245ประกอบด้วยมาตรา 247
of 56