พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ข้อมูล เจ้าพนักงานประเมินประเมินจากรายรับได้ แต่หักค่าใช้จ่ายเหมาไม่ได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายแล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71 (1) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ไม่อาจนำ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิจึงไม่ชอบ
การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร จึงเห็นได้ว่า หากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงอยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ปฏิบัติตามหมายเรียก
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิจึงไม่ชอบ
การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร จึงเห็นได้ว่า หากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงอยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ปฏิบัติตามหมายเรียก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ไต่สวน: ใช้อัตรา 5% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย แล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือ พยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71(1) เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้ บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว แม้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงาน ประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไร สุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) ก็ตาม แต่ เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการ เหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลย จึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบ ไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐาน กำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่าหากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลง เท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึง อยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตาม หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมินและการบังคับชำระหนี้ภาษีทำให้สะดุดอายุความ
ป.รัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิกเพิกถอนแก้ไขการประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้ากำไร ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาขายที่แท้จริงได้
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 9 โฉนด แล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นทยอยขายไปจนหมด เช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าในประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้า และต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินและตึกแถวนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้น ถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงาน-ประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่ง ป.รัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
โจทก์มิได้ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างไปในราคาที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อราคาที่ประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมโยธาธิการสามารถแสดงถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ ดังนั้น ราคาขายที่ดินที่เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อราคาที่ดินและอาคารที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดเป็นราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับตามปกติเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามราคาที่โจทก์พึงได้รับจากการขายตามปกติได้ ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้นั้น ถือได้ว่าราคาดังกล่าวเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความหมายในมาตรา 49 ทวิ โจทก์จึงต้องนำรายรับดังกล่าวไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ครึ่งปี) หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน เมื่อยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงาน-ประเมินย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ตามมาตรา 19 และ 20แห่ง ป.รัษฎากร เงินที่โจทก์ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำมารวมคำนวณเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีที่ต้องชำระได้ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีหน้าที่ต้องนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์มาเสียภาษีการค้าและต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและมิได้นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงต้องเสียภาษีที่ชำระขาดพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้คงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายนั้นเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สัญญาเช่าซื้อ และการกำหนดค่ารายปีที่เหมาะสม
ตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างบริษัท ร. กับโจทก์กำหนดไว้ว่าในระหว่างอายุสัญญาเช่า ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อทรัพย์สินที่เช่า ผู้ให้เช่ายินยอมขายให้โจทก์ในราคาตามวิธีคำนวณที่กำหนดไว้ต่อท้ายสัญญานั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นในการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 454 วรรคแรก ซึ่งผู้ให้เช่าได้กำหนดเวลาให้ผู้เช่าบอกกล่าวความจำนงในการซื้อไว้เป็นการแน่นอนแล้วผู้ให้เช่าจึงถอนคำมั่นก่อนกำหนดเวลาที่ระบุไว้ไม่ได้ทั้งได้กำหนดราคาซื้อขายที่ดินไว้แน่นอนตามอัตราการเพิ่มมูลค่าของราคาที่ดินนั้นแต่ละปีจากราคาที่ดินที่ผู้ให้เช่าได้ซื้อมาทั้งเมื่อพิจารณาอัตราค่าเช่าที่ดินหากเช่าครบกำหนด 30 ปี จะเป็นจำนวนเงินสูงมากอาจเท่าหรือสูงกว่าราคาที่ดินที่เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงสัญญาเช่าตามปกติธรรมดาแต่เพียงอย่างเดียวหากแต่เป็นสัญญาเช่าที่รวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินที่เช่าไว้ด้วยจึงมีอัตราค่าเช่าสูง การที่จำเลยนำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดค่ารายปีของที่ดินต่อเนื่องและโรงเรือนของโจทก์จึงไม่ชอบ ค่ารายปีที่โจทก์ยื่นรายการเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะสูงกว่าค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันในเขตดังกล่าว ค่ารายปีที่โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการจึงชอบแล้ว หลักฐานการได้รับเลขบ้านประจำสถานีบริการน้ำมัน ไม่ใช่หลักฐานแสดงวันเข้าอยู่หรือประกอบกิจการ การจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นเพียงขั้นตอนเตรียมการประกอบกิจการและการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มก็อาจจดทะเบียนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ สัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 เมษายน 2538 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาแน่นอน รวมทั้งเป็นวันที่โจทก์เริ่มมีสิทธิได้รับค่าใช้สิทธิดำเนินการ ฟังได้ว่าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์สร้างเมื่อเสร็จและสามารถเข้าอาศัยและทำประโยชน์ได้ในวันที่ 1 เมษายน 2538 จำเลยได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 วรรคสอง เฉพาะแต่ในกรณีที่จำเลยคืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเท่านั้น หลังจากนั้นไม่ได้รับการยกเว้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาตลาดในวันโอนอสังหาริมทรัพย์ และการงดเว้นเบี้ยปรับกรณีไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 ทวิ และมาตรา 87 ทวิ (6)กฎหมายได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่โอนตามราคาที่พึงได้รับจากการขายตามปกติหรือตามราคาตลาดในวันที่โอน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ใช้ราคาตามบัญชีราคาประเมินที่ดินของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน ที่ใช้อยู่ในวันที่ทำการโอนในการกำหนดราคาขายที่ดินของโจทก์ในการโอนขายเพื่อคำนวณเงินได้พึงประเมินและรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย และบัญชีราคาประเมินที่ดินและบัญชีประเมินทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 นำมาใช้ประเมินแก่โจทก์นั้นเป็นเอกสารราชการที่มีการรับรองว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นราคาประเมินที่ถูกต้องแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 คำนวณเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยใช้ราคาท้องตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์ แต่โจทก์ใช้ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนวันโอน ดังนั้น เงินได้พึงประเมินที่โจทก์และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 คำนวณจึงต่างกัน เมื่อจำนวนเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องใช้ราคาตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์คำนวณ ดังนั้นการคำนวณเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ปี 2531 (ครึ่งปี)ของจำเลยที่ 1 จึงถูกต้องแล้ว
การกำหนดราคาทรัพย์สินหรือค่าบริการตามราคาตลาดในวันโอนหรือทำบริการตามมาตรา 87 ทวิ (6) ให้ถือราคาตลาดในวันโอน การที่โจทก์นำราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งกระทำก่อนวันโอนมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีย่อมไม่เป็นการถูกต้อง จึงถือได้ว่าราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงเห็นสมควรงดเสียเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์ทั้งหมด ส่วนเงินเพิ่มนั้นตาม ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติให้งดได้ดังเช่นเบี้ยปรับ และจะลดลงได้เมื่อเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 คำนวณเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยใช้ราคาท้องตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์ แต่โจทก์ใช้ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนวันโอน ดังนั้น เงินได้พึงประเมินที่โจทก์และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 คำนวณจึงต่างกัน เมื่อจำนวนเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องใช้ราคาตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์คำนวณ ดังนั้นการคำนวณเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ปี 2531 (ครึ่งปี)ของจำเลยที่ 1 จึงถูกต้องแล้ว
การกำหนดราคาทรัพย์สินหรือค่าบริการตามราคาตลาดในวันโอนหรือทำบริการตามมาตรา 87 ทวิ (6) ให้ถือราคาตลาดในวันโอน การที่โจทก์นำราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งกระทำก่อนวันโอนมาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีย่อมไม่เป็นการถูกต้อง จึงถือได้ว่าราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงเห็นสมควรงดเสียเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์ทั้งหมด ส่วนเงินเพิ่มนั้นตาม ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติให้งดได้ดังเช่นเบี้ยปรับ และจะลดลงได้เมื่อเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์: ราคาตลาดในวันโอนเป็นเกณฑ์สำคัญ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิ และมาตรา 87 ทวิ(6)กฎหมายได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่โอนตามราคาที่พึงได้รับจากการขายตามปกติหรือตามราคาตลาด ในวันที่โอน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ใช้ราคาตามบัญชีราคาประเมินที่ดินของสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน ที่ใช้อยู่ในวันที่ทำการโอนในการกำหนดราคา ขายที่ดินของโจทก์ในการโอนขายเพื่อคำนวณเงินได้พึงประเมิน และรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จึงชอบด้วยบทบัญญัติ ของกฎหมาย และบัญชีราคาประเมินที่ดินและบัญชีประเมินทุนทรัพย์ ที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 นำมาใช้ประเมินแก่โจทก์ นั้นเป็นเอกสารราชการที่มีการรับรองว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นราคาประเมินที่ถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 คำนวณเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยใช้ราคาท้องตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์ แต่โจทก์ใช้ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งทำไว้ก่อนวันโอน ดังนั้นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1คำนวณจึงต่างกัน เมื่อจำนวนเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องใช้ราคาตลาดในวันโอนกรรมสิทธิ์เป็นเกณฑ์คำนวณ ดังนั้นการคำนวณเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ปี 2531(ครึ่งปี) ของจำเลยที่ 1จึงถูกต้องแล้ว การกำหนดราคาทรัพย์สินหรือค่าบริการตามราคาตลาดในวันโอน หรือทำบริการตามมาตรา 87 ทวิ (6) ให้ถือราคาตลาดในวันโอน การที่โจทก์นำราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งกระทำก่อนวันโอน มาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีย่อมไม่เป็นการถูกต้องจึงถือได้ว่าราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร โจทก์ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ50 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อโจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีจึงเห็นสมควรงดเสียเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์ทั้งหมด ส่วนเงินเพิ่มนั้นตามประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติให้งดได้ดังเช่นเบี้ยปรับ และจะลดลงได้เมื่อเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณรายได้ รายจ่าย และผลขาดทุนสุทธิ
โจทก์ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์แล้วมิได้มีการลงบัญชีหรือแสดงไว้ในแบบแสดงรายการเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาคำนวณกับมูลค่าสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดแล้ว เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสินค้าดังกล่าวโดยไม่ได้ลงบัญชีและมิได้นำมาแสดงในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีด้วยเมื่อไม่อาจตรวจสอบได้ว่าโจทก์มีเงินได้ที่แท้จริงเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยคำนวณหารายได้ที่แท้จริงของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากอัตรากำไรขั้นต้นถัวเฉลี่ยของอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ดังกล่าวจึงชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ป.รัษฎากรมาตรา 65 วรรค 2 บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม
รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน ทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531 ถึง2532 จึงเป็นการไม่ชอบ
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณกำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีประเภทต่าง ๆรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35 (อัตราในขณะนั้น)ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ป.รัษฎากรมาตรา 65 วรรค 2 บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม
รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน ทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531 ถึง2532 จึงเป็นการไม่ชอบ
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณกำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีประเภทต่าง ๆรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35 (อัตราในขณะนั้น)ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงแรม: การขายบริการเหมาจ่ายและการแยกรายได้
ตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในหัวข้อวัตถุที่ประสงค์ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการเตรียมและจัดการโครงการของการลงทุน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ถือได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงแรม คำขอจดทะเบียนการค้าของโจทก์ได้ขอจดทะเบียนการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม และกรมสรรพากรออกใบทะเบียนการค้าให้ ระบุว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 4 รับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ) ประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคาร (ข) นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2470 มาตรา 3 ให้นิยาม คำว่า โรงแรม ไว้ หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จัดให้มีห้องพักสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาพักผ่อนเป็นการชั่วคราว โดยโจทก์เรียกสินจ้างหรือค่าบริการ กิจการของโจทก์ย่อมเป็นโรงแรมตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติ แม้ห้องพักของโจทก์ไม่มีความหรูหรา ผู้เข้าพัก 2 คน ซึ่งไม่รู้จักกันก็พักอยู่ในห้องใหญ่เดียวกัน ต้องใช้ห้องน้ำ สุขา และระเบียงร่วมกัน หรือโจทก์จัดให้ผู้เข้าพักได้เข้าร่วมทำกิจกรรม หรือสันทนาการกับผู้ที่เข้าพักด้วยกัน รวมทั้งจัดหาอาหารให้แก่ผู้เข้าพักด้วย ก็หาได้ทำให้กิจการของโจทก์ไม่ได้เป็นโรงแรมไม่
เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัท ฮ.และบริษัท ว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)และ 87 ทวิ (6)
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้า และโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม รายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) ภัตตาคาร ส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้ เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม อย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรม รายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่าย จึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุดไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัท ฮ.และบริษัท ว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)และ 87 ทวิ (6)
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้า และโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม รายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) ภัตตาคาร ส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้ เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม อย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรม รายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่าย จึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุดไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงแรมจากรายได้เหมาจ่าย การแยกรายได้เพื่อเสียภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในหัวข้อวัตถุที่ประสงค์ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการเตรียมและจัดการโครงการของการลงทุน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ถือได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงแรม คำขอจดทะเบียนการค้าของโจทก์ได้ขอจดทะเบียนการค้า ประเภทการค้า 7(ข) โรงแรมและกรมสรรพากรออกใบทะเบียนการค้าให้ ระบุว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 4 รับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)ประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคาร (ข) นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2470 มาตรา 3 ให้นิยาม คำว่าโรงแรม ไว้ หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จัดให้มีห้องพักสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาพักผ่อนเป็นการชั่วคราว โดยโจทก์เรียกสินจ้างหรือค่าบริการ กิจการของโจทก์ย่อมเป็นโรงแรมตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติ แม้ห้องพักของโจทก์ไม่มีความหรูหราผู้เข้าพัก 2 คน ซึ่งไม่รู้จักกันก็พักอยู่ในห้องใหญ่เดียวกันต้องใช้ห้องน้ำ สุขา และระเบียงร่วมกัน หรือโจทก์จัดให้ผู้เข้าพักได้เข้าร่วมทำกิจกรรม หรือสันทนาการกับผู้ที่เข้าพักด้วยกันรวมทั้งจัดหาอาหารให้แก่ผู้เข้าพักด้วย ก็หาได้ทำให้กิจการของโจทก์ไม่ได้เป็นโรงแรมไม่ เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัทฮ.และบริษัทว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาท ต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(4) และ 87 ทวิ(6) ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้าและโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7(ข) โรงแรมรายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7(ข) ภัตตาคารส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า7(ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการ ไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรมอย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรมรายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่ายจึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุด ไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการ ไม่ชอบ