คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายทดแทนเมื่อส่งไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 78
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า "หมายศาล - ปิดหมาย"เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 นั้น ให้ปฏิบัติดั่งนี้...(2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น... ดังนั้น การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาล จึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้
บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัท อ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้ โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง และหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าวดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา74 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208: พฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม และผลของการทราบคำบังคับ
ป.วิ.พ.มาตรา 208 กำหนดระยะเวลาในการขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็นลำดับ กล่าวคือในลำดับแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามคำกำหนดนั้นแล้ว ลำดับที่สอง ถ้าคู่ความที่ขาดนัดไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวได้โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงลำดับที่สาม กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น
การที่โจทก์ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ และคำบังคับให้จำเลยที่บ้านซึ่งจำเลยและครอบครัวไม่ได้พักอาศัยอยู่ โดยจำเลยให้บุคคลอื่นเช่า จำเลยไม่ทราบถึงการถูกดำเนินคดี นับเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดที่ดินและบ้านของจำเลยจำเลยก็อยู่ด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แสดงหมายบังคับคดีให้จำเลยดูและบอกให้จำเลยไปดำเนินการทางศาลต่อไป กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าตนถูกฟ้องและทราบถึงการส่งคำบังคับแล้ว จึงถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงแล้วในวันนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. หากศาลชั้นต้นอนุญาตโดยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บนที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
เมื่อปี 2517 โจทก์ฟ้องขับไล่สามีจำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 ของโจทก์ซึ่งให้สามีจำเลยเช่า สามีจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สามีจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตามโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสามีจำเลย และอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่ 2021โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทอีกนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในคดีนี้เป็นภรรยาของจำเลยในคดีก่อนและได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทกับจำเลยในคดีก่อนตลอดมาจนกระทั่งจำเลยในคดีก่อนถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา จำเลยในคดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยในคดีก่อน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายบังคับคดีซ้ำ – ประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว – ป.วิ.พ. มาตรา 144
จำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยก่อนที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนคำขอของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายบังคับคดี จำเลยที่ 1ได้ยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นในชั้นไต่สวนคำขอออกหมายบังคับคดีของโจทก์จึงมีประเด็นพิพาทกันว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั่นเอง การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องเข้ามาอีกโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แม้จะมีคำขอให้โจทก์คืนเงินที่รับไปจากจำเลยที่ 1 มาด้วย ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบ: ประเด็นซ้ำกับคดีก่อนหน้าทำให้ต้องห้ามพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลน จำเลยที่ 2 โดยผู้อำนวยการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา จำเลยที่ 2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไข โจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสีย โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลน แต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาต โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่า คำสั่งของผู้อำนวยการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอน ปรากฏว่าในคดีแพ่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมด ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาคดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147: กำหนดอายุอุทธรณ์และผลเมื่อไม่โต้แย้ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง คำพิพากษาในคดีที่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้จะถึงที่สุดต่อเมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันครบกำหนดอายุอุทธรณ์หรือฎีกา สำหรับคดีที่อาจอุทธรณ์ได้จึงมีอายุอุทธรณ์ 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 แต่เมื่อคดีดังกล่าวคู่ความมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาตามมาตรา 147 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสี่ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ มาตรา 248วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ.ได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่า การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้นั้น ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกา ขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่ 1 ต่อไป กรณีย่อมอนุโลมได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การยื่นคำร้องพร้อมฎีกาเดิม & การใช้บทบัญญัติมาตรา 248 วรรคสี่ ป.วิ.พ. โดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิให้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้มาตรา248วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุผลสมควรที่จะฎีกาได้นั้นให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นคดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่1แต่การที่จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกาขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่1มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่1ต่อไปกรณีย่อมอนุโลมได้ว่าจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วจึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
of 27