พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยมีดเล็ก ผลกระทบต่อการพิจารณาเจตนาฆ่าและการลงโทษ
มีดที่จำเลยใช้แทงผู้เสียหาย ยาวทั้งตัวและด้ามประมาณคืบเศษ แผลที่แทงลึก 8 เซนติเมตร เป็นมีดเล็กไม่ร้ายแรง จำเลยเมาสุรามากจึงแทงไป 1 ที แม้ถูกที่หน้าอกก็หาได้เกิดอันตรายร้ายแรงไม่ ฟังไม่ถนัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องสอด – เหตุสมควรและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
การที่ผู้ร้องสอด ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) (2) นั้น มิได้หมายความว่า ศาลต้องอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ทุกกรณีไป ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตหรือไม่ แล้วแต่คำร้องนั้นมีเหตุสมควรเพียงใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำพิพากษาในคดีอาญาต่อบุคคลภายนอก และการใช้ดุลพินิจเรื่องค่าเสียหายและค่าทนาย
มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันถึงบุคคลภายนอกคดีด้วย
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ควรได้รับชดใช้ค่าเสียหายเพียง 2 ปี แทนที่จะเป็น 5 ปีดังคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วศาลอุทธรณ์จึงใช้ดุลพินิจให้ค่าทนายเป็นพับ ทั้งๆ ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ เช่นนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ควรได้รับชดใช้ค่าเสียหายเพียง 2 ปี แทนที่จะเป็น 5 ปีดังคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วศาลอุทธรณ์จึงใช้ดุลพินิจให้ค่าทนายเป็นพับ ทั้งๆ ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ เช่นนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอทางผ่านที่ดิน: พิจารณาความจำเป็นและผลกระทบต่อเจ้าของที่ดิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 ที่บัญญัติว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป้น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้นั้น ความพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิขอผ่านจะมีแค่ไหน เพียงไร เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยใช้สิทธิไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก และผลกระทบต่อการฟ้องขอไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนด
โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยมีกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี และมีข้อตกลงกันโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ต่อสัญญาขายฝากใหม่และจะเพิ่มเงินให้ด้วย แต่ที่ยังไม่ไปทำสัญญากันใหม่เพราะจำเลยป่วย เช่นนี้ โจทก์จะมาฟ้องขอไถ่เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีโดยถือว่าจำเลย โดยถือว่าจำเลยผิดสัญญาหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีอาวุธปืนระหว่างพิจารณา: การยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยฐานมีอาวุธปืน ซึ่งมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่ริบปืนของกลาง อัยการโจทก์จึงอุทธรณ์ ขอให้ริบปืนของกลาง ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501ออกใช้บังคับโดยมี มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนฯมาขออนุญาตต่อนายทะเบียนในกำหนด 90 วัน โดยผู้นั้นไม่มีโทษ ดังนี้ต้องถือว่าในระหว่างนั้น กฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้ พระราชบัญญัตดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยมิได้ขาดนัดโดยจงใจ และผลกระทบต่อจำเลยอื่นร่วมในคดี
จำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด กรณีเช่นนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) มาปรับเพื่อให้จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์ด้วยกับจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ คดีต้องพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสให้การ แต่จำเลยที่ 2 คงถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การเช่นเดิม ต่อจากนั้นไปจำเลยที่ 2 จะได้รับประโยชน์ในชั้นพิจารณาอย่างใดหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่รูปคดีเป็นอีกตอนหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อตัดสินแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504 และครั้งที่ 6/2504)
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อตัดสินแล้ว ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2504 และครั้งที่ 6/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัด – การพิจารณาคดีใหม่ – ผลกระทบต่อจำเลยแต่ละคน
ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปโดยจำเลยขาดนัด จำเลยร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดส่วนจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด กรณีเช่นนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59(1) มาปรับ เพื่อให้จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์ด้วยกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ คดีต้องพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสให้การแต่จำเลยที่ 2 คงถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การเช่นเดิม จำเลยที่ 2จะได้รับประโยชน์ในชั้นพิจารณาอย่างใดหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่รูปคดีเป็นอีกตอนหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้พิจารณาใหม่ ภายหลังเมื่อตัดสินแล้วไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้พิจารณาใหม่ ภายหลังเมื่อตัดสินแล้วไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินและสัญญาเช่า: ผลกระทบต่อสิทธิผู้เช่าเดิม
เดิมที่ดินและตึกพิพาทเป็นของโจทก์ ให้ผู้ร้องเช่าอยู่อาศัยอันได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯมาก่อนแล้วต่อมาโจทก์โอนขายตึกให้จำเลยโดยไม่ขายที่ดินจำเลยรับซื้อตึกแล้วขอเช่าที่ดินเพียง 1 ปี พอซื้อแล้วจำเลยก็ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องและศาลพิพากษาขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นอุบายที่จะขับไล่ผู้ร้อง จะเอาผลคำพิพากษานั้นมาบังคับขับไล่ผู้ร้องด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททางขับขี่และการตายที่เชื่อมโยง: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
เมื่อจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าชนรถสามล้อ โดยประมาทแล้ว ผู้ตายซึ่งโดยสารมาในรถสามล้อก็ตกกระเด็นลงไปล้มนอนอยู่ที่ทางรถราง พอดีกับรถรางแล่นมาถึงแล้วทับครูดไปในระยะ 1 วารถรางจึงสามารถหยุดนิ่งได้ ทำให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บมากและถึงตายเพราะพิษบาดแผลนั้น โดยรถรางมิได้แล่นมาเร็วผิดธรรมดา กรณีเช่นนี้ถือว่า ความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท