คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลบังคับใช้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุด ผลบังคับใช้ แม้มีการชี้ขาดซ้ำโดยอนุญาโตตุลาการชุดใหม่
คณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกันผู้คัดค้านว่า การที่ผู้คัดค้านในฐานะผู้ได้รับสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 เรียกเก็บค่าผ่านทางเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้น เป็นการไม่สอดคล้องกับสัญญาสัมปทาน ต่อมาผู้ร้องได้เสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าผ่านทางเพิ่มเติมพร้อมดอกเบี้ยที่ได้รับจากประชาชนผู้ใช้ทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับเงินค่าผ่านทางระหว่างการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทาง เพราะชอบด้วยสัญญาและกฎหมาย และให้ผู้ร้องใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลัง แต่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านโดยมูลคดีเดียวกับคดีนี้ขอให้พิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องในคดีนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่งค่าผ่านทางอัตราที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับอัตราค่าผ่านทางเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยจากผู้คัดค้านในคดีนี้ และให้ผู้ร้องในคดีนี้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้านในคดีนี้ตามคำเรียกร้องแย้ง โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 21 วรรคสี่ ไม่อาจนำข้อโต้แย้งขึ้นสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการได้อีก การที่ผู้คัดค้านนำข้อพิพาทเรื่องเดียวกันมายื่นเรียกร้องแย้งต่อคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลัง เพื่อให้ชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะทำลายหลักการสำคัญของมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้คำชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิงไร้ประสิทธิผลโดยปริยาย การที่คณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดข้อพิพาทเดียวกันใหม่จึงไม่ชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะชี้ขาดและศาลฎีกาในคดีดังกล่าวพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้คัดค้านในคดีนี้ และเมื่อคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 22 วรรคหนึ่งและคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง กรณีหาจำต้องมีคำสั่งศาลฎีกาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังอีกไม่ ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีบทบัญญัติห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกรณีจึงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังตามคำขอของผู้ร้องอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเป็นการชอบแล้ว คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคำวินิจฉัยทั้งมวลในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาขายฝาก vs. การกู้ยืมเงิน: สัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีหลักฐานชัดเจน
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก และโจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากซึ่งโจทก์ยังมี ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง แต่จำเลยมีแต่อ้างตนเองเบิกความลอยๆ ว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเพื่อเป็นอำพรางการกู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้ แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน หากไม่สามารถพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์ของเอกสารได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก โจทก์เป็นผู้รับซื้อฝาก โดยนาง ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน: การเพิ่มโทษหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ มิชอบ
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยที่ 1 จะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ปัญหาว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและการไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้
การแปลงหนี้ใหม่เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป แม้โจทก์จะยอมรับเช็คของจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามเช็คก็มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ไปเป็นจำเลยที่ 2 แต่เป็นเพียงจำเลยที่ 2 เข้าไปเป็นผู้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้เดิมเท่านั้น หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามโอนขายที่ดินมีผลบังคับใช้ก่อนการโอน การโอนหลังคำสั่งคุ้มครองใช้ยันต่อโจทก์ไม่ได้
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท ปรากฏว่าในวันเดียวกันเจ้าพนักงานที่ดินได้รับหมายคุ้มครองชั่วคราวตามคำสั่งของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่คุ้มครองชั่วคราวนี้มีผลใช้บังคับในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 วรรคสาม ดังนั้นการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำขึ้นภายหลังที่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่อาจใช้ยันต่อโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเลือกตั้งใหม่มีผลยกเลิกบทบัญญัติเดิม ทำให้จำเลยพ้นความผิด
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ ออกมาใช้บังคับ และต่อมามีการออก พ.ร.ฎ. ให้บทกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการและตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ และตามมาตรา ๔๔ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ เพียงแต่บัญญัติคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น บทกฎหมายดังกล่าวที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำความผิดหาได้มีบทบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อไป จึงถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายเดิมที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดนั้นไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยอมรับสิทธิสัญญาหลังบอกเลิกสัญญา: ผู้บริหารแผนต้องพิจารณาผลบังคับใช้ของสัญญา
การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ ผู้บริหารแผนจะต้องระบุถึงทรัพย์สินและสิทธิตามสัญญาที่จะไม่ยอมรับในแผนฟื้อฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผน และจะต้องกระทำภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ผู้บริหารแผนทราบคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนแล้ว สิทธิตามสัญญาดังกล่าวยังจะต้องเป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับอยู่ มิใช่ได้มีการไม่ยอมรับหรือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวไปแล้ว
เมื่อสัญญาจ้างผู้ร้องได้มีการบอกเลิกสัญญาไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ การที่ต่อมาผู้บริหารแผนยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง เพื่อที่จะขอใช้อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างผู้ร้องดังกล่าว ทั้งที่สัญญาไม่มีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 90/41 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8747/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมมีผลบังคับใช้ สติสัมปชัญญะผู้ทำพินัยกรรมสำคัญกว่าสถานที่ทำพินัยกรรม
สถานที่ทำพินัยกรรมไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของแบบแห่งพินัยกรรมซึ่งจำต้องระบุไว้แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ระบุสถานที่ทำพินัยกรรมผิดจากความเป็นจริงไม่ทำให้พินัยกรรมต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ผลของพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด" ซึ่งแก้ไขใหม่โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547 นั้น มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปโดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่ามิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัตินี้จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า การขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา แม้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ ไม่จำต้องรอให้มีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้
of 13