พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างทำของเริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้ การฟ้องข้ามอายุความย่อมขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องในเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างทำของในข้อที่ไม่ชำระหนี้เลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นมาทำการงานแทนนั้นจำเลยได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1วันครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1ตามสัญญาข้อ4คือวันที่3ตุลาคม2522ดังนั้นจำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่4ตุลาคม2522โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องกับจำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าวอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา163เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่27ตุลาคม2532นับจากวันที่4ตุลาคม2522ถึงวันฟ้องเกินกำหนด10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขไหม่)จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา188เดิม(มาตรา193/10ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
สิทธิเรียกร้องในเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างทำของในข้อที่ไม่ชำระหนี้เลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นมาทำการงานแทนนั้นจำเลยได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1วันครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1ตามสัญญาข้อ4คือวันที่3ตุลาคม2522ดังนั้นจำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่4ตุลาคม2522โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องกับจำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าวอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา163เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่27ตุลาคม2532นับจากวันที่4ตุลาคม2522ถึงวันฟ้องเกินกำหนด10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขไหม่)จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา188เดิม(มาตรา193/10ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้าง: เริ่มนับจากวันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ หากฟ้องเกิน 10 ปี คดีขาดอายุความ
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวงตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่1ให้เสร็จภายในวันที่3ตุลาคม2522และส่งมอบงานงวดที่2ให้เสร็จภายในวันที่2พฤศจิกายน2522เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1คือวันที่3ตุลาคม2522จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าวดังนั้นอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่27ตุลาคม2532จึงเกินกำหนด10ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา164เดิม|มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา188เดิม(มาตรา193/10ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสัดส่วน และผลของการผิดนัดชำระหนี้
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่2ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้นมีความว่าข้อ1.ลูกหนี้ที่2ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ2นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ1ลูกหนี้ที่2ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้คืองวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน1ปีโดยแบ่งออกเป็น3งวดงวดละเท่าๆกันโดยมีกำหนด4เดือนต่อ1งวดข้อ3.หนี้ตามข้อ1.และ2.นั้นลูกหนี้ที่2จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2จำนวน10รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน9รายแม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา130(4)กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ1.และข้อ2.เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3นี้เท่านั้นแต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วมิใช่ไม่อาจคำนวณได้และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไปทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่2จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่3นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่2ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่2กลับเพิกเฉยเสียย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ที่2ผิดนักไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่2ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา60วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดและคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่2โดยในวันนัดลูกหนี้ที่2ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันผิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15วันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่2ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้และถือว่าลูกหนี้ที่2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตามแต่ต่อมาลูกหนี้ที่2ได้ยื่นอุทธรณ์แสดงว่าลูกหนี้ที่2ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้วลูกหนี้ที่2จึงไม่ได้รับผลเสียหายใดๆจากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินจากการซ่อมแซมและการผิดนัดชำระหนี้ค่าซ่อม
จำเลยเป็นหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จำนวน 233,149 บาท เมื่อโจทก์วางบิลเพื่อเก็บเงินตามข้อตกลงแล้ว จำเลยไม่ยอมรับการวางบิลและไม่ยอมชำระเงินดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของจำเลยที่รับซ่อมไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอด หาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (6)
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอด หาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหน่วงรถยนต์เพื่อชำระหนี้ค่าซ่อม และการไม่อุทธรณ์ฎีกาโดยไม่มีเหตุผลสมควร
จำเลยเป็นหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จำนวน233,149บาทเมื่อโจทก์วางบิลเพื่อเก็บเงินตามข้อตกลงแล้วจำเลยไม่ยอมรับการวางบิลและไม่ยอมชำระเงินดังกล่าวจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของจำเลยที่รับซ่อมไว้ได้จนกกว่าจะได้รับชำระหนี้ ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดีซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอดหาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีส่วนขาด แต่ไม่ถือเป็นผิดนัด
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาล จนถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป 40,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000 บาท แล้ว นับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรอ อีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: การรับผิดของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด
จำเลยที่1ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศมีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่ายมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษาแม้จะมีถ้อยคำระบุว่าจำเลยที่2ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ได้รับการทวงถามและจำเลยที่2ยอมรับใช้แทนจำเลยที่1จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตามโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่2ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ผู้ขายไม่ต้องเป็นเจ้าของในวันทำสัญญา หากคาดว่าจะโอนได้ในภายหลัง หากโอนไม่ได้ ผู้ซื้อไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยตกลงว่าจะชำระเงินตามที่ตกลงกันส่วนโจทก์ตกลงจะขายที่ดินตามสัญญาแต่โจทก์ก็ไม่จำต้องเป็นเจ้าของในวันทำสัญญาหากคาดหมายว่าจะสามารถโอนให้แก่จำเลยได้เมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาแต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยตามกำหนดได้ไม่ว่ากรณีใดจำเลยก็ไม่เป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา209-211
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: ผู้ขายไม่สามารถโอนได้ ไม่ถือเป็นการผิดนัดของผู้ซื้อ
โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินที่จะขายให้แก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขายไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรจำเลยก็ไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ได้มอบให้แก่จำเลยยึดถือไว้คืนจากจำเลย