คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีค้างชำระ: เงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากรเป็นทางแก้เฉพาะแล้ว ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. เพิ่มเติมได้
ป. รัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาทบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้ สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีที่ค้างไว้โดยเฉพาะ แล้ว จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการเช่าซื้อ, การสละเงื่อนเวลาชำระหนี้, และผลของการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังจากนั้นห้างจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์ โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่ 1 และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ในวงเล็บต่อท้ายด้วย ดังนี้ฟังได้ว่า ห้างจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ได้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความผิดนัดชำระหนี้ เบี้ยปรับและดอกเบี้ย ศาลยืนตามสัญญาเดิม
เดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน850,000บาทพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้วซึ่งมีผลทำให้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันคือโจทก์ยอมลดเงินต้นเหลือ780,000บาทจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในเงินต้นดังกล่าวแก่โจทก์และชำระเงินต้นคืนเป็นการตอบแทนแต่ถ้าจำเลยผิดนัดให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีและให้โจทก์บังคับเอาเงินต้นจากจำเลยเป็นเงิน850,000บาทจึงเห็นได้ว่ากรณีผิดนัดจำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้เพิ่มจากเงินต้นตามสัญญาอีก70,000บาทซึ่งเงินจำนวนนี้ก็คือเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381นั่นเองตามบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยผิดนัดนอกจากโจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับได้อีกด้วยจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจากต้นเงิน780,000บาทตามสัญญาต่อไปอีกจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์เสร็จสิ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้และการคิดดอกเบี้ย เริ่มเมื่อทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ
โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่โจทก์ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา (6 ธันวาคม 2521) แต่หนี้ที่จะต้องชำระเงินคืนของจำเลยนั้นมิได้กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวมิได้กรณีจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ เมื่อได้ความว่าโจทก์ทวงถามไปยังจำเลยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2522 โดยให้จำเลยชำระภายใน 7 วัน จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับจากวันที่ครบกำหนดในหนังสือทวงถาม คือ ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเป็น 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป สำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่าให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องสัญญากู้ และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีสัญญามิได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
สัญญากู้มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะนำดอกเบี้ยมาชำระให้ท่านตามกำหนดระยะเวลา 1 เดือนต่อครั้ง และจะนำต้นเงินมาชำระให้ภายในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 ถ้าข้าพเจ้าไม่นำดอกเบี้ยและต้นเงินมาชำระให้ตามกำหนดด้วยเหตุใดๆ ก็ดีข้าพเจ้ายอมให้ท่านฟ้องร้องเรียกเอาต้นเงินและดอกเบี้ยจากข้าพเจ้าได้ตามกฎหมาย"ตีความได้ว่าสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินต้นคืนจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ผิดนัดในการนำเงินต้นมาชำระคืนด้วยเพราะข้อความในสัญญาระบุว่าจะต้องผิดนัดทั้งในการนำดอกเบี้ยและเงินต้นมาชำระให้ตามกำหนด สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ในการเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจึงจะเกิดขึ้นเหตุนี้อายุความฟ้องร้องเรียกเงินต้นของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่22 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2525คดีจึงไม่ขาดอายุความ สัญญากู้มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จึงต้องบังคับตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือคิดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยโจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติและสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้ อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ในเมื่อเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผิดนัดชำระหนี้แม้แต่วงวดเดียวถือเป็นผิดนัดทั้งสัญญา
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ตกลงกันไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญายอมทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้
า(โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 521/2510 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้เพียงงวดเดียว ถือผิดนัดทั้งหมด โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดโจทก์ฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้ก็ตามแต่เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ตกลงกันไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญายอมทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ (โปรดดูคำพิพากษาฎีกาที่ 521/2510 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อไปได้ทันที จำเลยที่ 1 จำต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด และต้องส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ หากโจทก์ได้รับคืนและจำหน่ายไปได้เงินไม่ครบถ้วนตามที่ค้างชำระ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้จนครบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
of 18