คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจกรรมการในการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ และการละเมิดต่อผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่
มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มทุนของธนาคาร: ความขัดแย้งระหว่างมติกรรมการและผู้ถือหุ้นเดิม
ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้นการที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าวแม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นไม่ใช่เอกสารสิทธิ แม้ใช้ประกอบการจดทะเบียน
แบบฟอร์มรับหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทและรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมวิสามัญ ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นไม่ใช่เอกสารสิทธิ แม้ใช้ประกอบการจดทะเบียน
แบบฟอร์ม รับหนังสือเชิญประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทและรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมวิสามัญ ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวต้องอยู่ภายในประเด็นคำฟ้องและเพื่อบังคับตามคำพิพากษา
การขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้น ชอบที่จะเป็นเรื่องทรัพย์สินสิทธิหรือประโยชน์ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายแห่งประเด็นในคำฟ้องของโจทก์และเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย และให้จำเลยทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้องเท่านั้น โจทก์จะมาขอให้ศาลคุ้มครองประโยชน์ โดยกำหนดให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมทำการแทนบริษัทจำเลยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องมิได้อยู่ในประเด็นแห่งคำฟ้องของโจทก์ และมิใช่เพื่อบังคับตามคำพิพากษาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328-6330/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงหากบริษัทเป็นผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของบริษัทตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและเก็บรวมรวมเงินค่าสินค้าจากลูกค้าส่งให้บริษัท ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจของบริษัทให้กระทำการได้เพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หามีอำนาจกระทำกิจการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) การที่จำเลยที่ 1 โดยลำพังหรอืร่วมกับจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ของบริษัท บริษัทย่อมเป็นผู้เสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิใช่ผู้เสียหายตามความในมาตรา 2(5) อันจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งการโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันบุคคลภายนอกและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของมาตรา 1129 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 (2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลยดังกล่าวแล้วผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันกับบริษัทและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า การโอนหุ้นจะต้องได้จดแจ้งให้ปรากฏหลักฐานการโอนทั้งชื่อ และที่อยู่ของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ เมื่อการโอนหุ้นของบริษัทจำเลยระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆมาเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ตนหลุดพ้นความรับผิดได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตก ได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลย ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอมการทำบัญชีเท็จ ไม่เป็นผู้เสียหาย และไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนฯ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมให้บริษัทที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและจำเลยเป็นกรรมการทำบัญชี 2 ชุดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนี้ได้ และเหตุที่ไม่ได้แบ่งเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากต้องนำเงินไปใช้ขยายกิจการของบริษัท ผู้ถือหุ้นซึ่งรวมทั้งโจทก์มิได้ขาดประโยชน์อันควรได้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามฟ้อง เช่นนี้ ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัททำบัญชีเท็จว่าบริษัทขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอันเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรู้เห็นยินยอม การทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้ ไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
of 26