คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้สิทธิเก็บกินเป็นโมฆะ หากไม่แจ้งความประสงค์ภายในกำหนดเวลา ผู้รับโอนสิทธิไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยทำสัญญาให้บริษัท ซ. จำกัดมีสิทธิเก็บกิน(การทำเหมืองแร่) ในที่ดินของจำเลยเป็นเวลา 30 ปี โดยคู่สัญญาตกลงกันว่า หากบริษัทต้องการสิทธิเก็บกินจะต้องแจ้งให้จำเลยทราบภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นเมื่อบริษัทไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยเป็นเวลาเกือบ20 ปี ถือได้ว่าสัญญาให้สิทธิเก็บกินของบริษัทอันจะพึงมีต่อจำเลยนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป แม้โจทก์จะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาดังกล่าว ก็ไม่อาจอ้างสิทธิเก็บกินเอาแก่จำเลยได้ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ในข้อพิพาทซื้อขายที่ดินเช่า หากผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อ คกช.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคสุดท้ายเมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินให้กองทรัพย์สิน หากการโอนไม่สุจริต
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยกัน จำเลยที่ 1 ติดต่อกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา จนถึงเดือนธันวาคม 2526จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้คัดค้าน 5,000,000 บาทโดยไม่มีหลักประกันแสดงว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 1 ติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตลอดเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยขอหยุดทำการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยอ้างว่าเริ่มประสบวิกฤติการณ์ทางภาวะการเงินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2526 ซึ่งผู้คัดค้านน่าจะทราบดีถึงภาวะการเงินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ผู้คัดค้าน2 ฉบับ ๆ แรกจำนวน 969,408 บาท ผู้คัดค้านได้รับเงินแล้ว ฉบับที่2 จำนวน 4,453,812 บาท ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 22 ธันวาคม2527 แต่จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2526 เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระถึง 1 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้รับโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต และเป็นการโอนซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลาย ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนนั้นได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินที่ได้รับจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยให้ผู้คัดค้านหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นซึ่งผู้คัดค้านได้จ่ายไปเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมาได้ ผู้คัดค้านออกเงินค่าใช้จ่ายก็เพื่อบังคับตามสัญญาเช่าซื้อตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมา มิใช่เป็นการจัดการงานนอกสั่งสัญญาเช่าซื้อระบุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ยอมชดใช้ดอกเบี้ยในส่วนค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านจ่ายไป ผู้คัดค้านจึงไม่อาจหักดอกเบี้ยในส่วนนี้จากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้แก่ผู้ร้อง ส่วนดอกเบี้ยของเงินจำนวนที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ในวันยื่นคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง แม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยมาก่อนที่จำเลยจะซื้อที่ดินมาจาก ม. แม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินมาโดยสุจริต ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นตกอยู่ในภารจำยอม จำเลยก็ยกการรับโอนโดยสุจริตเพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ต้องสิ้นไปหาได้ไม่ ในชั้นพิจารณาโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน พ.เป็นพยานโจทก์ไว้แล้ว แต่โจทก์ไม่สามารถนำ พ.มาเบิกความได้โดยแถลงว่าโจทก์ขออ้างคำเบิกความของ พ.ในชั้นที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวมาเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาด้วย จำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ พ.ดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 บัญญัติว่า เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองนั้น ย่อมหมายความรวมถึงว่าโจทก์ทั้งหกชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ เพราะเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ทั้งหกประการหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทขีดคร่อมเฉพาะบัญชีผู้รับเงิน การโอนสิทธิไม่สมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือโดยขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่า A/CPAYEEONLYซึ่งแปลว่า เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น อันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันกับเปลี่ยนมือไม่ได้ไว้ที่ด้านหน้าเช็ค จำเลยที่ 2จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือจะโอนให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือหาได้ไม่จำเลยที่ 2 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ก็ทำได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่าย ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นเพียงคู่สัญญาของจำเลยที่ 1มิได้เป็นคู่สัญญาของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1แล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ และผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้ชำระหนี้หรือไม่ได้ชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และอาจให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1 เป็นการให้เปรียบแก่ผู้โอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอนอันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการโอนหุ้น: แม้ไม่มีข้อความซื้อขาย ศาลต้องพิจารณาเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการรับโอนไว้แทนหรือไม่
แม้ในเอกสารโอนหุ้นจะไม่มีข้อความว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้แทนแต่ก็ไม่มีข้อความว่าการโอนหุ้นรายนี้เป็นการซื้อขายหุ้น จึงต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญ จะฟังว่าเมื่อไม่มีคำว่ารับโอนไว้แทนย่อมเป็นการซื้อขายหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้ไว้แทนคณะกรรมการควบคุมบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
of 37