พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4966/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยย่อมมีเท่ากับผู้เอาประกันภัย
โจทก์ฟ้องโดยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้รับประกันภัยจึงมีเท่ากับสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่โดยมูลหนี้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ก็ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบฐานละเมิด แม้มีการประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นผู้เอาประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 เพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกรวมถึงความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยและทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้นคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" และวรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่..." มีความหมายว่าบุคคลผู้ต้องเสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่ตนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบฐานละเมิด คือจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ และมาตรา 877 บัญญัติว่า "ผู้รับประกันภัยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) เพื่อจำนวนวินาศภัยแท้จริง..." คำว่า "วินาศภัยอันเกิดขึ้นและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" จึงหมายความว่า เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ ส่วนผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนในหนี้ละเมิดทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 438 กรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้ละเมิดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ระงับเกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เป็นเรื่องระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงยังต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดค่าเสียหายที่โจทก์ควรได้รับในส่วนที่เหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์(ผู้รับประกันภัย)ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ ม. เบิกความโดยได้ฟังคำพยานของจำเลยก่อนก็ตาม แต่ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยนั้น ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์ที่ ส. ขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนทางมา ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยประกอบกับสภาพความเสียหายของรถและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุสนับสนุนกัน คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีบันทึกคำให้การของ ม. ในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานประกอบ จึงเป็นที่เชื่อฟังได้ และไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคสอง
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12622/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับประกันภัยในการบังคับคดี: ผู้รับประกันภัยไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีแทนผู้เอาประกันภัยได้
ผู้ร้องเป็นผู้รับประกันภัยความซื่อสัตย์ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไว้จากโจทก์ผู้เป็นนายจ้างระหว่างปฏิบัติงานจำเลยที่ 1 รับชำระหนี้จากลูกค้าแล้วไม่นำส่งโจทก์และไม่ส่งเงินทดรองคืนโจทก์ เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ร้องจึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ผู้ร้องสามารถเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์เรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนที่ใช้ไปจากจำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์) ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่งและมาตรา 226 วรรคหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยผู้รับประกันภัยเป็นโจทก์ฟ้องในนามของผู้รับประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่การรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการบังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การบังคับคดีเป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิให้ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีของผู้เอาประกันภัยได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การบังคับคดีเป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิให้ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีของผู้เอาประกันภัยได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงเข้ารับช่วงสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9532/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุนต้องระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัย และความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ แล้ว
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยแม้ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ขับขี่
แม้ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม แต่ก็ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เพื่อตั้งเป็นประเด็นไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้อีก เพราะถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถบรรทุกคันเกิดเหตุที่ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย โดยวันเกิดเหตุลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เมื่อลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถคันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยถอยหลังชนซุ้มเสาประตูโรมันค้ำยันและรองรับระเบียงหน้าบ้านของโจทก์แตกหักเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้โดยลำพัง เพียงแต่หากโจทก์ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย จะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ คดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรวมมากับจำเลยที่ ๒ ผู้รับประกันภัยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเอง ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากไม่ได้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์นั้น หาทำให้มูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ระงับสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามกฎหมายก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดไปมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเท่านั้น ดังนั้น เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยยังคงมีอยู่ในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์และขณะนั้นจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งมีความรับผิดตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย กรณีหาใช่เรื่องมูลความแห่งคดีที่การชำระหนี้มิอาจแบ่งแยกกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดอันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องหลุดพ้นไปจากความรับผิดแต่อย่างใดไม่
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถบรรทุกคันเกิดเหตุที่ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย โดยวันเกิดเหตุลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เมื่อลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถคันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยถอยหลังชนซุ้มเสาประตูโรมันค้ำยันและรองรับระเบียงหน้าบ้านของโจทก์แตกหักเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้โดยลำพัง เพียงแต่หากโจทก์ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย จะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ คดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรวมมากับจำเลยที่ ๒ ผู้รับประกันภัยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเอง ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากไม่ได้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์นั้น หาทำให้มูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ระงับสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามกฎหมายก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดไปมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเท่านั้น ดังนั้น เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยยังคงมีอยู่ในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์และขณะนั้นจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งมีความรับผิดตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย กรณีหาใช่เรื่องมูลความแห่งคดีที่การชำระหนี้มิอาจแบ่งแยกกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดอันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องหลุดพ้นไปจากความรับผิดแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15977/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัย: นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้ละเมิด ไม่ใช่วันที่ผู้รับประกันภัยรู้
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่เสียหาย ที่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์และอยู่ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่ในมูลหนี้ต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 ประกอบ 226 วรรคหนึ่งนั้น ในการนับอายุความของโจทก์ดังกล่าว ต้องนับตามสิทธิของผู้เอาประกันภัย คดีนี้เมื่อสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยที่เข้ารับช่วงสิทธิ ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันภัย คือ ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนของผู้เอาประกันได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเช่นกัน หาใช่นับอายุความ ตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เมื่อได้ความว่า ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกัน ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันภัยได้รู้ตัวผู้ขับรถยนต์อีกฝ่ายว่าเป็นผู้ใดในวันที่ 3 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานสอบสวนนัดผู้ขับรถของผู้เอาประกันมาตกลงกับจำเลยที่ 1 และเป็นวันที่ผู้ขับรถของผู้เอาประกันภัยพบกับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์เป็นครั้งแรก ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 8 ธันวาคม 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี เมื่อนับแต่วันที่ 3 เมษายน 2546 ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18462/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ทำละเมิด
ข้อเท็จจริงปรากฏตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 8186 เพชรบุรี และรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน อ่างทอง ง - 5190 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธความรับผิดในส่วนนี้ไว้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ อ. เป็นเจ้าของ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จึงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองระบุในฟ้องและเป็นประเด็นพิพาท คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทประกันภัยต่อความเสียหายจากผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตารางกรมธรรม์และสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ในส่วนที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดสำหรับความผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ผู้ขับ ซึ่งขับโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยเองด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยทั่วไปซึ่งกรมการประกันภัยพิจารณาให้บริษัทประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยเช่นนั้น หากกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลยที่ 3 มีเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นแตกต่างจากแบบของกรมการประกันภัย จำเลยที่ 3 ก็น่าที่จะนำสืบเข้ามาเพราะตามปกติกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ย่อมมีอยู่ที่จำเลยที่ 3 ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่คุ้มครองความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขับ จำเลยที่ 3 น่าจะนำสืบเข้ามาเพราะนำสืบได้ง่ายและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้อ้างส่งต่อศาล กลับอ้างตามคำแก้ฎีกาว่าเป็นหน้าที่โจทก์ที่จะนำสืบ เมื่อตามคำฟ้อง คำให้การจำเลยที่ 3 และพฤติกรรมของจำเลยที่ 3 ดังวินิจฉัยมาเป็นเช่นนี้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดสำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 นั้น ชอบด้วยความเป็นธรรมตามรูปคดีนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้ขับขี่และผู้เอาประกันภัย รวมถึงการคิดดอกเบี้ยจากวันที่จ่ายค่าเสียหาย
ตารางกรมธรรม์เอกสารท้ายคำให้การที่จำเลยที่ 2 ทำประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ข้อ 2.3 ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่เกิน 250,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จำเลยที่ 3 จึงร่วมรับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินไป เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งใบสั่งจ่ายระบุวันจ่ายเงินวันที่ 27 มีนาคม 2539 จึงเห็นสมควรแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 มีนาคม 2539 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินไป เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งใบสั่งจ่ายระบุวันจ่ายเงินวันที่ 27 มีนาคม 2539 จึงเห็นสมควรแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 มีนาคม 2539 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247