พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ความผิดยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน-ลูกจ้าง และการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314,319(1)(3),63 โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่างๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 2 ใบ ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าบำเหน็จพนักงาน: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตามป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินค่าประปาของเทศบาล: เทศบาลเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เทศบาลกู้เงินกระทรวงมหาดไทยมาดำเนินการทำน้ำประปากระทรวงมหาดไทยให้กู้และให้กรมโยธาเทศบาลจัดการทำน้ำประปาจนสามารถจำหน่ายให้ประชาชน แต่กรมโยธาเทศบาลยังคงเก็บค่าบริการน้ำประปาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ต่อมาได้มอบหมายให้เทศบาลเก็บเงินเอง เทศบาลได้ให้คนงานเทศบาลไปเก็บเก็บได้แล้วมามอบให้จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในเทศบาล และรักษาการแทนปลัดเทศบาล จำเลยได้รับเงินเหล่านี้ไว้ แล้วยักยอกเอาเสีย เช่นนี้ถือว่าเทศบาลเป็นผู้เสียหายโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786-788/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของพนักงานที่ปฏิบัติตามคำสั่ง
จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 12 พฤษภาคม 2491 โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2491 จึงยังอยู่ในกำหนดที่โจทก์จะยื่นฎีกาได้
การฆ่าสุกรก่อน วันที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ 2488 มาตรา 12. ไม่ใช่มาตรา 11
ว.จำเลยเป็นพนักงานเทศบาลประจำโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับออกใบอนุญาตให้ฆ่าสัตว์แต่อย่างใด ว.จำเลยได้แก้วันที่ในใบอนุญาต โดย จ.จำเลยเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสั่งให้แก้ ดังนี้ ถือได้ว่า ว.จำเลยได้ทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งตนอยู่ในบังคับบัญชา โดยเชื่อว่าเป็นการชอบและมีเหตุผลอันสมควร ไม่ควรรับอาญา ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 52 (2).
การฆ่าสุกรก่อน วันที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ 2488 มาตรา 12. ไม่ใช่มาตรา 11
ว.จำเลยเป็นพนักงานเทศบาลประจำโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับออกใบอนุญาตให้ฆ่าสัตว์แต่อย่างใด ว.จำเลยได้แก้วันที่ในใบอนุญาต โดย จ.จำเลยเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสั่งให้แก้ ดังนี้ ถือได้ว่า ว.จำเลยได้ทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งตนอยู่ในบังคับบัญชา โดยเชื่อว่าเป็นการชอบและมีเหตุผลอันสมควร ไม่ควรรับอาญา ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 52 (2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถของพนักงานโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ของบริษัทได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมาย
ผู้จัดการบริสัททำบันทึกเสนอรองประธานกัมการบริสัทขอตั้งผู้รักสาเงินอีกคนหนึ่งต่างหากจากสมุห์บันชีโดยกล่าวว่าสมุห์บันชีเปนคนไม่สามาถเพราะไม่เต็มเต็งไม่มีภูมิรู้ทางบัญชี ไม่เอาไจไส่ต่อคำแนะนำของนายกรัถมนตรีชอบทุเลาะกับพนักงานของบริสัท ต้องซื้อเข้าแดงรับประทานดังนี้ ทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันประโยชน์ของบริสัท ย่อมได้ยกเว้นโทสตามมาตรา 283
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินเดือนพนักงาน แม้มีการเซ็นรับเงินแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินจริง
เสมียนได้รับมอบเงินไปจ่ายให้คนงาน ได้ให้คนงานเซ็นชื่อไว้แล้ว แล้วไม่จ่ายเงินให้ ได้เอาเงินนั้นเสียเองดังนี้ เป็นผิดฐานยักยอก ไม่ใช่ฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15399/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านสำหรับพนักงานที่เช่าซื้อบ้านนอกพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องเป็นไปตามข้อบังคับฯ ที่กำหนด
ตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยค่าเช่าบ้าน พ.ศ. 2533 ข้อ 15 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามข้อบังคับนี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านที่ค้างชำระอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านท้ายข้อบังคับนี้..." ดังนั้นการที่พนักงานของจำเลยจะนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ได้เช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านซึ่งอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เท่านั้น ซึ่งตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยค่าเช่าบ้าน พ.ศ.2533 ข้อ 4 ระบุว่า "ท้องที่หมายความว่า กรุงเทพมหานคร อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือท้องที่ของอำเภอ และหรือกิ่งอำเภอที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามข้อ 5 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง" และข้อ 5 ระบุว่า "ให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจประกาศกำหนดให้อำเภอและหรือกิ่งอำเภอหลายท้องที่รวมกันเป็นท้องที่เดียวกันได้" เมื่อโจทก์ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี แต่โจทก์ได้ไปเช่าซื้อบ้านหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในอำเภอวารินชำราบโดยไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางได้ประกาศกำหนดให้สองอำเภอดังกล่าวเป็นท้องที่เดียวกันอำเภอวารินชำราบจึงเป็นท้องที่อื่น มิใช่เป็นท้องที่ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8029/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์ในหน่วยงานรัฐ: การปรับบทและขอบเขตความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีระดับ 5 ประจำแผนกบัญชีและการเงินของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหน่วยงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เมื่อจำเลยเป็นพนักงานเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่คือเอาทรัพย์นั้นเองเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4, 11 และไม่ผิดมาตรา 8 เพราะไม่เป็นการที่จำเลยใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริตหาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาทรัพย์นั้นไป ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์และเจตนาหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงิน การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้า แต่ในทางปฏิบัติจะมีคำสั่งด้วยวาจาจากผู้บังคับบัญชาให้พนักงานในแผนกหมุนเวียนช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับใบเสร็จรับเงินและเงินสดจากผู้ใช้ไฟฟ้าด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 รับเงินค่าใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าแล้วเบียดบังเป็นของตน จึงมีความผิดฐานเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต และเป็นการกระทำที่มีเจตนาเบียดบังตามวาระที่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายชำระ จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน
ก. ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม 2541 ซึ่งมีการระบุจำนวนเงินแน่นอนแล้ว เมื่อ ก. นำเงินไปชำระแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าและออกใบเสร็จรับเงิน ย่อมไม่มีเหตุผลที่จำเลยที่ 2 จะต้องเขียนค่าไฟฟ้าทั้งสองจำนวนลงในเศษกระดาษอีก ทั้งการประทับตรายางว่า ชำระเงินแล้วโดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และวันเดือนปีกำกับในเศษกระดาษดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำเป็นหลักฐานมอบให้แก่ ก. ว่าได้ชำระเงินแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงินตามระเบียบของผู้เสียหาย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
ก. ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม 2541 ซึ่งมีการระบุจำนวนเงินแน่นอนแล้ว เมื่อ ก. นำเงินไปชำระแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการรับชำระเงินค่าไฟฟ้าและออกใบเสร็จรับเงิน ย่อมไม่มีเหตุผลที่จำเลยที่ 2 จะต้องเขียนค่าไฟฟ้าทั้งสองจำนวนลงในเศษกระดาษอีก ทั้งการประทับตรายางว่า ชำระเงินแล้วโดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และวันเดือนปีกำกับในเศษกระดาษดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำเป็นหลักฐานมอบให้แก่ ก. ว่าได้ชำระเงินแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการออกใบเสร็จรับเงินตามระเบียบของผู้เสียหาย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8362/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดตามคำฟ้อง: เจ้าพนักงาน vs. พนักงาน และหลักการห้ามพิพากษาเกินคำขอ
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติกำหนดกรอบอำนาจการพิพากษาหรือการมีคำสั่งชี้ขาดคดีไว้ 2 ประการ คือ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอประการหนึ่ง กับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องอีกประการหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นพนักงานตามความหมายใน พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประการไทยฯ มาตรา 4 จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย และไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ อีก จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ มาใช้บังคับลงโทษจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 และนำสืบสมตามฟ้อง ซึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ โดยมิได้มีคำขอให้ลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 157 ศาลจะยกบทบัญญัติแห่ง ป.อ. ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับและไม่ได้กล่าวมาในฟ้องขึ้นมาเพื่อพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้ขอไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษและโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือเป็นเพียงรายละเอียดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192