คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนคำสั่งพนักงานสอบสวนให้การเป็นพยาน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 169
พนักงานสอบสวนเชิญจำเลยไปให้ถ้อยคำในฐานะพยานที่สถานีตำรวจโดยไม่ได้ออกหมายเรียก จำเลยยอมมาโดยดีและพนักงานสอบสวนบอกจำเลยว่าจะสอบสวนเป็นพยานย่อมหมายความว่าสั่งให้จำเลยให้ถ้อยคำ คำสั่งของพนักงานสอบสวนเช่นนี้จึงเป็นคำบังคับตามกฎหมายให้จำเลยให้ถ้อยคำ เมื่อจำเลยขัดขืนคำบังคับดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 169 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนคำสั่งพนักงานสอบสวนให้การเป็นพยาน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 169
พนักงานสอบสวนเชิญจำเลยไปให้ถ้อยคำในฐานะพยานที่สถานีตำรวจโดยไม่ได้ออกหมายเรียก จำเลยยอมมาโดยดีและพนักงานสอบสวนบอกจำเลยว่าจะสอบสวนเป็นพยานย่อมหมายความว่าสั่งให้จำเลยให้ถ้อยคำ คำสั่งของพนักงานสอบสวนเช่นนี้จึงเป็นคำบังคับตามกฎหมายให้จำเลยให้ถ้อยคำ เมื่อจำเลยขัดขืนคำบังคับดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 169 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถเพื่อสอบสวนคดีโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด
จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานสอบสวน.ยึดรถยนต์ของโจทก์ซึ่งชนกับรถของกรมตำรวจไว้.เพื่อประกอบการสอบสวนดำเนินคดี.ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย. เมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตมิได้เจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย. ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ช้าเกินไป
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง. เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย. ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้. ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น. จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระเป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด และอำนาจโจทก์ของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด. จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา.
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ. เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ. การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์. หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่. เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499).
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่. ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน.จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้. ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้.(อ้างฎีกาที่701/2498).
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน. เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน. และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้.(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492).
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้. จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ. เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ.เป็นการผิดนัด. ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ต้องมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิพากษา หากไม่ชัดเจนต้องคืนคดีให้พนักงานสอบสวน
ศาลแขวงบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้ว่า จำเลยเข้าไปในเขตอาคารเก็บรักษาทรัพย์สินค้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ข้อหาเช่นนี้ย่อมหมายรวมทั้งตัวอาคารและเขตของอาคารด้วย ซึ่งไม่ชัดพอที่จะเป็นผิดฐานบุกรุกตามมาตราที่โจทก์ฟ้องได้และจำเลยก็ให้การว่าเข้าไปเดินอยู่ที่ถนนภายในเขตอาคารเก็บสินค้าเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับเต็มตามข้อหา จึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องสั่งคืนผู้ต้องหาให้ผู้ว่าคดีรับไปดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบราชการของพนักงานสอบสวน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน)จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย (ให้พิจารณามาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้วไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาล จึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
of 18