คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานหลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินเนื่องในโอกาสสมรส: สิทธิในการถอนคืน และการนำสืบพยานหลักฐาน
ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาลชั้นต้น ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนโดยมิได้แก้บทลงโทษและกำหนดโทษ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้คืนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อของกลางแก่เจ้าของก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การต่อเมื่อโจทก์มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งนั้นหากโจทก์ไม่มีคำขอดังกล่าว แต่การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การเพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) ผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดก็เป็นผลให้ศาลชั้นต้นอาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้ มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด ดังนั้น การขออนุญาตยื่นคำให้การตามมาตรา 199(เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน เพราะการที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่
การขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดยื่นคำให้การซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอขยายระยะเวลานั้นก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองอ้างเพียงเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นหาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
แม้ปัญหาข้อที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าตนมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องโจทก์ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม)ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้สาบานตนและถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเพื่อรอเอกสารสำคัญและพยานหลักฐาน ศาลต้องอนุญาตโดยคำนึงถึงสิทธิในการนำสืบพยานของผู้ฟ้อง
โจทก์ระบุพยานไว้ 30 อันดับ เป็นพยานนำเกือบทั้งหมด เอกสารบางอย่างเห็นชัดว่าน่าจะมิได้มีอยู่ที่โจทก์จะต้องติดตามมาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร คดีของโจทก์มีทุนทรัพย์สูง โจทก์นำสืบทนายความของโจทก์ไปแล้ว 1 ปาก ยังมิได้อ้างส่งเอกสาร เอกสาร 25 อันดับตามบัญชีระบุพยานเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการสืบพยานบุคคลของโจทก์ 3 ปาก ที่เหลืออยู่ เหตุที่อ้างมาตามคำร้องว่ายังขัดข้องในเรื่องเอกสารซึ่งมีจำนวนมากยังได้มาไม่ครบนั้น ถือได้ว่าเป็นเหตุจำเป็นที่ทำให้โจทก์ยังไม่สามารถสืบพยานบุคคลที่เหลืออยู่ได้ โจทก์เพิ่งจะขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่สองและจำเลยทั้งสี่รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน สมควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนคดีไปก่อนได้อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเนรคุณ หมิ่นประมาท และการขาดการอุปการะเลี้ยงดู ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ศาลล่างทั้งสองได้พิจารณาพยานหลักฐานถ้อยคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์และพยานจำเลยที่นำสืบมาโดยละเอียดชันเจนแล้ว โดยเฉพาะเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังได้กล่าวถึงข้อแตกต่างระหว่างคำเบิกความของพยานโจทก์บางปาก และเห็นว่าพยานโจทก์บางปากไม่มีน้ำหนักรับฟัง แล้วศาลล่างทั้งสองฟังเป็นยุติว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์ด้วยการทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เมื่อฎีกาของโจทก์ที่ยกข้อโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังไม่มีเหตุผลที่จะ เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ ดังนี้ โดยความเห็นของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกา มอบหมาย ศาลฎีกาจึงเห็นว่าฎีกาของโจทก์แม้เป็นสาระแก่คดี ก็ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกฎีกาของโจทก์และคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดชั้นฎีกาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีบุกรุก, กระทำอนาจาร, ชิงทรัพย์: พยานหลักฐานแน่นชัด ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
การที่จำเลยที่ 1 เปลือยกายถืออาวุธมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงภายในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 พอดีผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาเห็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียง จำเลยที่ 1 จึงชกปากผู้เสียหายที่ 1 และเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 1 จึงกัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน ระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกอาวุธมีดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถือมาบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้าย และหยิบเอากระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วย และตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนี จำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และยังใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริต โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทางสาธารณะของที่ดิน: พยานหลักฐานต้องชัดเจนว่ามีการอุทิศให้เป็นสาธารณะโดยเจ้าของที่ดินหรือหน่วยงานรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันเป็นซอยทองหล่อ 18 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนสุขุมวิท 55 โดยโจทก์แนบแผนที่สังเขปมาท้ายคำฟ้องซึ่งแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 ติดกับคลองเป้งและติดกับที่ดินของ ท. ซึ่งเป็นทางเชื่อมกับที่ดินพิพาทเพื่อออกสู่ถนนสุขุมวิท 55แผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ท. และที่ดินพิพาทอยู่ในบริเวณใดและมีสภาพเป็นอย่างไรคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและการข่มขืนกระทำชำเรา: พยานหลักฐานสอดคล้องและน่าเชื่อถือ
พยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความสอดคล้องต้องกัน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุอันควรระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำหรือใส่ร้ายจำเลยให้ต้องได้รับโทษ โดยเฉพาะ ส. ไม่เคยรักใคร่ชอบพอกับจำเลยมาก่อนหากไม่เป็นความจริงแล้ว ส. คงจะไม่เบิกความถึงเรื่องน่าอับอายเช่นนี้จึงไม่น่าเชื่อว่าส. จะยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ เหตุที่ ส. ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเพราะจำเลยขู่ว่าจะฆ่า ส. ย่อมจะเกิดความกลัว จึงหาใช่เป็นข้อพิรุธแต่อย่างใด
แม้ บ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมและพักอาศัยในร้านโจทก์ร่วมจะเปิดประตูให้จำเลยเข้าไปในร้านโจทก์ร่วมเนื่องจากจำเลยเป็นเพื่อนของ บ. ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกมายืนอยู่ที่บันไดในร้านโจทก์ร่วมระหว่างชั้นที่ 3 กับชั้นที่ 4 เป็นการคอยเวลาและหาโอกาสก่อเหตุร้าย จึงเป็นการเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานของโจทก์ร่วม และเมื่อสบโอกาสโดยจำเลยพบเห็น ส. ที่บริเวณหน้าห้องน้ำจำเลยก็เข้ามาใช้มือปิดปากและลากตัว ส. เข้าไปข่มขืนกระทำชำเราในห้องทำแผ่นเทปภายในร้านโจทก์ร่วม ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานของโจทก์ร่วมโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ และการสืบพยานนอกคำให้การ
ปัญหาที่ว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็น แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณา ก็เป็นการสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้ง เท่ากับเป็นการฎีกาให้รับฟังพยานหลักฐานของจำเลยว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้เงินเพื่ออำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนของโจทก์ในกองทุนของจำเลยอันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าถูกฉ้อฉลจริง พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือ
โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าถูกจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลให้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง โจทก์ย่อมต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
of 259