พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินค้างชำระ สัญญากู้ยืนยันหนี้เดิม พยานเอกสารสำคัญกว่าพยานบุคคล
สัญญาซื้อที่ดินไปแล้วค้างชำระราคาจึงทำสัญญากู้ให้ลักษณพะยาน พะยานเอกสารมีความชัดแล้ว ต้องถือเปนใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่มิได้ส่งสำเนาให้คู่ความก่อนสืบพยาน และอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุแต่เพียงว่า ในวันดังกล่าวมีการสืบพยานโจทก์และโจทก์อ้างส่งเอกสาร 7 อันดับ ศาลหมาย จ.1 ถึง จ.7 โดยจำเลยแถลงคัดค้านว่า แผนผังสมาชิก หนังสือเรื่องขอรับรางวัลเกียรติยศและใบตอบรับเอกสารหมาย จ.5 ถึง จ.7 โจทก์มิได้มีการจัดส่งสำเนาให้แก่จำเลยก่อนสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้ โดยมิได้มีคำสั่งใด ๆ ว่าจะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเรื่องดังกล่าว โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ศาลชั้นต้นเพิ่งจะมีคำสั่งไม่รับฟังพยานเอกสารหมาย จ.5 แผ่นที่ 1 โดยระบุไว้ในคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
คดีนี้โจทก์อ้างว่า โจทก์ทำการตามแผนการตลาดที่ตกลงไว้กับจำเลยและมีสิทธิที่จะได้รับเงิน 1,250,000 บาท ตามที่ตกลงกัน ส่วนจำเลยให้การว่า ผลงานของโจทก์ยังไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัล ประเด็นข้อสำคัญในคดีจึงอยู่ที่ว่า ผลงานของโจทก์อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งเอกสารหมาย จ.5 ทั้งหมด เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงสถานะและผลงานของโจทก์ จากคำเบิกความของพยานบุคคลฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างรับฟังได้ว่า เอกสารหมาย จ.5 เป็นเอกสารที่พิมพ์มาจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้จัดทำ ซึ่งไม่ทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คดีนี้โจทก์อ้างว่า โจทก์ทำการตามแผนการตลาดที่ตกลงไว้กับจำเลยและมีสิทธิที่จะได้รับเงิน 1,250,000 บาท ตามที่ตกลงกัน ส่วนจำเลยให้การว่า ผลงานของโจทก์ยังไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัล ประเด็นข้อสำคัญในคดีจึงอยู่ที่ว่า ผลงานของโจทก์อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งเอกสารหมาย จ.5 ทั้งหมด เป็นเอกสารสำคัญที่แสดงสถานะและผลงานของโจทก์ จากคำเบิกความของพยานบุคคลฝ่ายโจทก์และจำเลยต่างรับฟังได้ว่า เอกสารหมาย จ.5 เป็นเอกสารที่พิมพ์มาจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้จัดทำ ซึ่งไม่ทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9769/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา การพิจารณาพยานเอกสาร และการพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
การที่ศาลกำหนดให้มีการนัดตรวจพยานหลักฐานก่อนวันที่จะมีการสืบพยานกันจริง ๆ เป็นกระบวนการเพื่อให้การดำเนินคดีมีความพร้อมมิได้มีผลถึงกับทำให้กระบวนพิจารณารับฟังไม่ได้ ส่วนเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์นำเสนอต่อศาลโดยไม่ปรากฏชื่อ ที่อยู่ของพยานนั้น โจทก์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่ของพยานบางคน และสถานที่ที่พยานบางคนรับราชการอยู่ซึ่งมีความละเอียดเพียงพอให้รู้ว่าเป็นบุคคลใดบ้าง และพยานบางอันดับก็เป็นบันทึกคำให้การของพยาน ซึ่งโจทก์ไม่จำต้องให้จำเลยตรวจหรือคัดสำเนาเอกสารก่อนสืบพยาน ทั้งการไม่ได้ปฏิบัติดังกล่าวของโจทก์ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียโอกาสในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด นอกจากนี้ศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้จำเลยคัดสำเนาเอกสารได้ตามที่ขอโดยตลอด ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจในการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ลอย ๆ โดยไม่มีพยานบุคคลซึ่งมิได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนมาเบิกความเป็นพยาน พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน แม้ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และจำเลยไม่โต้แย้ง
แม้ศาลแรงงานภาค 7 จะวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ให้จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่เอกสารนั้นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีที่ทำให้แพ้ชนะคดีระหว่างคู่ความ และข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาคดีทนายความจำเลยที่ 1 แถลงขอเลื่อนคดีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว ศาลแรงงานภาค 7 อนุญาตให้เลื่อนคดีไป ถึงวันนัดทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 7 จึงมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ได้ หากเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7783/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานและการรับฟังพยานเอกสารนอกบัญชีรายชื่อพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน ศาลแรงงานเป็นผู้มีอำนาจซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจในการซักถามพยานไม่ว่าเป็นการซักถามก่อนอนุญาตให้ตัวความหรือทนายความซักถาม หรือซักถามหลังจากที่พยานเบิกความตอบตัวความหรือทนายความซักถามแล้ว หรือจะซักถามทั้งก่อนและหลังการอนุญาตให้ทนายความหรือตัวความซักถามพยานก็เป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15364-15365/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ละเมิดทางธุรกิจ: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ และการนำสืบพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้อง
แม้คดีนี้และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 ของศาลชั้นต้น จะเป็นคดีที่มีมูลละเมิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่ 3 กับโจทก์ต่างเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่การที่จำเลยที่ 3 รับจำเลยคนอื่นๆ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 กับการที่จำเลยที่ 3 รับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าร่วมเดินรถรับส่งผู้โดยสารเป็นคดีนี้เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน โดยร่วมกับบุคคลต่างกัน หาใช่บุคคลผู้เป็นคู่ความรายเดิมไม่ ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่เกิดต่างกรรมต่างวาระจากมูลละเมิดในคดีดังกล่าว ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 ของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่จำเลยทั้งสามส่งสำเนาคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2132/2551 ของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา โดยในคำฟ้องระบุว่า พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ฟ้อง ช. ในความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 384/2546, 386/2546, 389/2546 ของศาลชั้นต้น นั้น ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว จำเลยทั้งสามเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ทั้งโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับพยานเอกสารดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นจึงรับฟังไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสามส่งสำเนาคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2132/2551 ของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา โดยในคำฟ้องระบุว่า พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ฟ้อง ช. ในความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 384/2546, 386/2546, 389/2546 ของศาลชั้นต้น นั้น ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว จำเลยทั้งสามเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ทั้งโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับพยานเอกสารดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8163/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายโดยวางมัดจำ: ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบเอกสารได้ หากกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารเท่านั้น
โจทก์และจำเลยมีเจตนาก่อนิติสัมพันธ์กันเป็นสัญญาจะซื้อขายโดยการวางมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งมิได้กำหนดแบบไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นนับแต่เวลาที่โจทก์วางมัดจำ มิใช่เพิ่งเกิดในภายหลังเมื่อมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำกัดเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องที่ฟ้องร้องกันนั้นจะต้องแสดงให้ปรากฏด้วยการนำสืบพยานเอกสาร จึงต้องห้ามนำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่ได้นำมาแสดงแล้ว จึงไม่ตกอยู่ในบังคับข้อห้ามดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงจะหาสถาบันการเงินให้โจทก์กู้ยืมชำระหนี้คืนจำเลยโดยมีระยะเวลาผ่อนนาน 15 ปี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารจากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: ข้อจำกัดเมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาศาล
แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งศาลต้องบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้นำบันทึกคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และจ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ได้รับบาดเจ็บ พยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหรือไม่นั้นข้อเท็จจริงได้ความว่า ในการสืบพยานโจทก์ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. พยานโจทก์ เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่ละเลยเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ในการส่งหมายเรียกให้พยานหรือนำพยานมาศาล จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 ที่แก้ไขใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังนั้น แม้จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจนำบันทึกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8489/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างพยานเอกสารในชั้นอุทธรณ์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นตามกฎหมาย
คำเบิกความของพยานในคดีอื่นเป็นพยานเอกสาร หากคู่ความประสงค์จะอ้างเป็นพยานหลักฐานแห่งตนจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14892/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเอกสารแทนพยานบุคคล และการยกอายุความต้องแสดงเหตุผลชัดเจนในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้กู้ยืมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์แถลงขอส่งหนังสือรับรองและหนังสือมอบอำนาจแทนการสืบพยานและศาลอนุญาตถือได้ว่าเป็นการให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบ
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 ต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 1 ปี นับแต่วันใดและโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้วอย่างไร การที่จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันตกเป็นมรดกของ ศ. ตั้งแต่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาค้ำประกันภายใน 1 ปี นับถึงวันฟ้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ระบุวันที่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ศ. ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความว่าเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่ชัดแจ้งว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 จะอนุมานเอาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของ ศ. ว่าเป็นวันใดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 ต้องแสดงโดยชัดแจ้งด้วยว่าอายุความ 1 ปี นับแต่วันใดและโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความนั้นแล้วอย่างไร การที่จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันตกเป็นมรดกของ ศ. ตั้งแต่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาค้ำประกันภายใน 1 ปี นับถึงวันฟ้องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ระบุวันที่โจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ศ. ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความว่าเป็นวันที่เท่าใด จึงไม่ชัดแจ้งว่าอายุความเริ่มนับเมื่อวันที่เท่าใดและโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้วจริงหรือไม่ จำเลยที่ 2 จะอนุมานเอาจากข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของ ศ. ว่าเป็นวันใดก็ไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่