คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด: การพิจารณาบาดแผลและพฤติการณ์เพื่อประเมินเจตนาของผู้กระทำ
แม้ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมและจำเลยต่างทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยใช้มีดของกลางแทงทำร้ายโจทก์ร่วม ส่วนโจทก์ร่วมใช้ไม่ตีจำเลยจนได้รับบาดเจ็บแต่เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยดื่มสุราจนมึนเมา กลับมายังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านของมารดาโจทก์ร่วมที่จำเลยเช่าอยู่ และได้ขึ้นไปนอนขวางประตูหน้าห้องเช่าของบุคคลอื่นโจทก์ร่วมและเพื่อนของจำเลยช่วยกันพยุงจำเลยลงมาที่ห้องพักของจำเลยบริเวณชั้นล่าง ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยถูกบุคคลอื่นพูดจาถากถาง เกิดความไม่พอใจ จึงใช้มีดของกลางทุบตีรั้วสังกะสีและส่งเสียงดัง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรเจ้าของบ้านย่อมมีความชอบธรรมที่จะเข้าทำการห้ามปรามจำเลยแต่จำเลยกลับใช้มีดของกลางแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงใช้ไม้ตีต่อสู้เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อนการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงมิใช่การป้องกันตัว โจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้มีดของกลางซึ่งมีขนาดความยาวถึง11 นิ้วแทงหลายทีในระยะกระชั้นชิดติดต่อกัน เกิดบาดแผล4 แห่ง ซึ่งล้วนอยู่ในตำแหน่งของอวัยวะสำคัญบาดแผลดังกล่าวบางแห่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีมีโอกาสถึงแก่ชีวิตได้ แสดงว่าจำเลยแทงโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากแพทย์ทำการรักษาได้ทันโจทก์ร่วมจึงไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการแสดงเจตนาไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลต้องวินิจฉัยพฤติการณ์เพื่อพิสูจน์การเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายถึง การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายถึงการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งการไม่จ่ายค่าจ้างตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าจะต้องถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างก่อนแล้วนายจ้างไม่จ่ายให้ หากมีพฤติการณ์ที่แสดงออกโดยแน่ชัดว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือได้ว่ามีการเลิกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน
เมื่อมีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหรือแสดงออกโดยพฤติการณ์ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เข้าทำงานด้วยหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในปัญหาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 53 แล้วหรือไม่ซึ่งศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดีอาญา: พฤติการณ์หลังเกิดเหตุและหลักการสันนิษฐานในคำบอกเล่า
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยทั้งห้าแม้เรียงกระทงลงโทษแล้วก็คงให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งห้าและหากจะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา289(5)ก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจจะวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลล่างเป็นอย่างอื่นให้ลงโทษหนักไปกว่านี้ได้ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะที่จำเลยทั้งห้ากระทำผิดพฤติการณ์ที่จ.และต. เบิกความถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าจะเกิดเหตุว่าจำเลยที่1ถึงที่5มาร่วมดื่มสุราด้วยกันที่บ้านของพยานส่วนบ. เบิกความว่าวันเกิดเหตุเวลา15นาฬิกาจำเลยที่1ถึงที่4ไปหาพยานที่บ้านแล้วบอกให้พยานล้างรถให้เพราะในรถเปื้อนเลือดและอ. กับส. เบิกความว่าเย็นวันเกิดเหตุจำเลยที่2ขับรถกระบะที่ได้จากการปล้นพาจำเลยที่1ไปที่บ้านบอกว่าได้ฆ่าคนมา5คนขอให้อ. ช่วยขายรถคันดังกล่าวให้ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์หลังเกิดเหตุแล้วเป็นคำบอกเล่าของจำเลยที่อาจให้ยันจำเลยได้อยู่แล้วเพราะตามธรรมดาบุคคลทั่วๆไปย่อมจะไม่กล่าวความใดอันทำให้ตนเสียหายเมื่อมีการบอกเล่าเช่นนั้นก็ย่อมสันนิษฐานได้ว่าคำบอกเล่านั้นเป็นจริงแต่มิใช่เรื่องที่จำนนต่อหลักฐานดังที่โจทก์ฎีกาฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้แก่จำเลยทั้งห้ามานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถชนคนเดินเท้าและการกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปตามถนนแจ้งวัฒนะจากสี่แยกหลักสี่มุ่งหน้าไปห้าแยกปากเกร็ด เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1ขับรถคันเกิดเหตุออกจากช่องทางเดินรถไปบนไหล่ทางด้านซ้ายซึ่งเป็นทางสำหรับคนเดินเท้าและเสียหลักตกไปในคูน้ำข้างถนน โดยทับร่างของผู้ตายทั้งสองขณะเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายดังกล่าวตกไปในคูน้ำข้างถนนด้วย เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายว่าผู้ตายทั้งสองเดินอย่างไร เดินจากไหนไปไหน เดินหันหน้าหรือหันหลังให้รถขณะที่ถูกเฉี่ยวชนก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสองสำนวนจะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปด้วยความเร็วสูงจนไม่สามารถห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนผู้ตายทั้งสองเหตุรถชนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
ถนนที่เกิดเหตุมีเกาะกลางถนน และถนนด้านซ้ายมีไหล่ทางมีรถยนต์ปิกอัพจอดบนไหล่ทาง ไหล่ทางดังกล่าวมีขนาดความกว้างซึ่งรถยนต์สามารถจอดได้อย่างปลอดภัยเมื่อถนนที่เกิดเหตุมีไหล่ทางและจุดที่ผู้ตายทั้งสองเดินขณะถูกชนก็ไม่มีรถยนต์จอด ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองกำลังเดินอยู่บนไหล่ทางด้านซ้ายด้วยกัน มิได้ปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 103ที่บัญญัติเกี่ยวกับคนเดินเท้าว่า ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน ดังนั้นเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายทั้งสองจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายทั้งสองไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
บันทึกข้อความตามหนังสือของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลถึงพนักงานสอบสวนแนะนำถึงวิธีปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนให้คู่กรณีในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้เจรจาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายกัน โดยให้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นประกอบกับฐานะการเงินและความสามารถของผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในคดีนั้น ๆ เป็นราย ๆไปด้วยนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เสียหายไม่ต้องนำคดีไปฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อศาลเท่านั้น บันทึกข้อความดังกล่าวมิใช่หลักปฏิบัติที่ศาลต้องปฏิบัติตาม การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายโดยพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงชอบแล้ว ไม่จำต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถชำระของฝ่ายที่ทำละเมิดด้วย
แม้ชั้นสอบสวนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เจรจากับจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามที่พนักงานสอบสวนช่วยไกล่เกลี่ย และผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ยอมลดค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องลงเหลือ 3,000,000 บาท แต่จำเลยเสนอให้เงินช่วยเหลือเพียง 70,000 บาท เมื่อการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวตกลงกันไม่ได้ จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจรจากันย่อมสิ้นผลไปด้วย และไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมากกว่าจำนวนดังกล่าว ดังนั้นโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนซึ่งเห็นว่าควรจะได้ตามกฎหมายแม้ค่าสินไหมทดแทนที่ฟ้องจะมากกว่าจำนวนที่เจรจากัน ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดต่อศีลธรรม
ป.วิ.พ.มาตรา 161 บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความเมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี เหตุที่โจทก์จำต้องใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกอบกับการดำเนินคดีของจำเลยแล้ว ใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เต็มตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ใช้มีดแทงและการให้การรับสารภาพบ่งชี้ถึงความตั้งใจ
ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การถึงความรู้สึกของจิตใจอารมณ์ของตนเองว่าเมื่อแทงผู้เสียหายที่1ตายแล้วก็จะฆ่าตัวตายเพื่อหนีความวุ่นวายซึ่งพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาพยายามฆ่าตามที่จำเลยให้การไว้ไม่ได้ตั้งข้อหาโดยสรุปเอาเองจึงเป็นการที่จำเลยลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน การที่จำเลยใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกายผู้เสียหายที่1เพื่อให้ผิวหนังทะลุอันเป็นการเล็งเห็นผลว่าถึงตายได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะจิตใจที่ไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่นผู้เสียหายที่1เป็นเพศที่อ่อนแอว่าไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนและไม่มีทางที่จะต่อสู้ชนะได้จำเลยไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธประทุษร้ายผู้หญิงการใช้อาวุธที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองย่อมมุ่งต่อผลคือชีวิตทั้งอายุของจำเลยในขณะที่กระทำความผิดนั้นสามารถรู้ผิดชอบและบังคับตนเองได้ไม่ได้มีจิตใจบกพร่องจำเลยสร้างภยันตรายให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตนเองมิใช่เกิดจากความตื่นเต้นความตกใจหรือความกลัวอันจะทำให้เห็นว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายตามที่ฎีกาจำเลยจะแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาฆ่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดในรถยนต์: พฤติการณ์บ่งชี้ผู้กระทำต้องมีเวลาและโอกาสในการซ่อนยา
เมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนถึง170เม็ดถูกบรรจุไว้ในถุงพลาสติกผูกมัดติดกับสายไฟใต้คัสซีแสดงว่าผู้กระทำการดังกล่าวต้องมีเวลาและโอกาสอยู่กับรถยนต์คันเกิดเหตุมากหากผู้กระทำประสงค์จะกลั่นแกล้งจำเลยแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของกลางจำนวนมากและนำไปผูกมัดซ่อนอยู่ในที่เร้นลับเช่นนั้นที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยอาจถูกส. กลั่นแกล้งนั้นคงมีแต่จำเลยเท่านั้นที่เบิกความเป็นพยานทั้งสาเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับส.ก็เกิดก่อนเกิดเหตุถึง1ปีมาแล้วยากที่จะรับฟังเป็นความจริงได้ยิ่งกว่านั้นพ. นายจ้างของจำเลยยังเคยเตือนจำเลยว่าอย่ามีของผิดกฎหมายไว้ในรถยนต์คันเกิดเหตุแสดงว่านายจ้างของจำเลยเองก็ยังไม่มีความไว้วางใจจำเลยเช่นกันเมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานเด็กในคดีอนาจาร และพฤติการณ์ครูผู้กระทำผิด
แม้โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งมีอายุเพียง8ปีเศษเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวแต่เมื่อเบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับตรงไปตรงมาปราศจากการปรุงแต่งตามประสาเด็กที่ไร้เดียงสาทั้งเรื่องราวหลังเกิดเหตุยังสอดคล้องเชื่อมโยงกันดีกับพยานอื่นทำให้เชื่อได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล: การพิจารณาพฤติการณ์แสดงเจตนาดำเนินคดีของผู้ฟ้อง
คดีนี้โจทก์ยื่นคำฟ้องวันที่ 14 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาวันที่ 23 สิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี โดยปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีนั้น โจทก์ยื่นคำแถลงลงวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ยังได้เสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 3 ในวันยื่นคำฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมนำส่งหมายเรียกหลังจากวันฟ้องแล้วเพียง 8 วัน ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งแสดงว่าโจทก์ยังติดใจดำเนินคดีต่อไปอีกเช่นกัน จึงเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีโจทก์ซึ่งเพิ่งยื่นฟ้องได้เพียง 8 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาโจทก์จากพฤติการณ์และข้อผิดพลาดเรื่องที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจกท์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า"เขตบางเขน"เท่านั้นทั้งๆที่สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า"เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น"เขตดอนเมือง"ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าโจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้วศาลคงสั่งให้ปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้นทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีก่อน และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษเมื่อพฤติการณ์เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีก่อนปรากฏว่าคดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ติดต่อกับคดีก่อนได้ต้องนับแต่วันต้องขังตามหลักทั่วไป ฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218แต่ในคดีที่ฎีกาได้แต่ปัญหาข้อกฎหมายเมื่อพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดีโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
of 79