พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2463 ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000บาท จริงหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี และคดีเดิมต้องมีการฟ้องต่อศาล
การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 จะต้องได้ความด้วยว่าความเท็จที่เบิกความไปนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อปรากฏว่าข้อหาในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้อง และมิได้ระบุมาตราที่ขอให้ลงโทษ ถือได้ว่าข้อหาที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ ยังไม่เคยมีการฟ้องต่อศาลมาก่อน จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จหรือไม่คำเบิกความในคดีนั้นของจำเลยจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการสืบพยานฝ่ายเดียว ศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่มาศาล
เมื่อจำเลยขาดนัดพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 กำหนดให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวส่วนความในมาตรา 205 นั้น หมายความเฉพาะกรณีที่จำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาฝ่ายเดียวอยู่เท่านั้น เมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบเสร็จในวันเดียวกันโดยจำเลยไม่มาศาล ต้องถือว่าเสร็จการพิจารณาแล้ว ไม่มีทางที่จะเลื่อนคดีไปเพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสซักค้านพยานโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การพิจารณาคำร้องใหม่และการไม่ชี้ขาดภายในเวลาอันสมควร
กรณีที่ผู้มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 31 ไม่ให้คำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในเวลาอันสมควร ผู้รับประเมินมีความชอบธรรมที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกเงินค่าภาษีซึ่งผู้รับประเมินถือว่าไม่ควรต้องเสียคืนได้ โดยไม่จำต้องรอให้มีคำชี้ขาดก่อน
โจทก์นำคดีมาฟ้องภายหลังที่ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เพื่อขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่เป็นเวลาเพียง 3 เดือนเศษนับแต่วันยื่นคำร้อง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ให้คำชี้ขาดภายในเวลาอันสมควรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์นำคดีมาฟ้องภายหลังที่ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เพื่อขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่เป็นเวลาเพียง 3 เดือนเศษนับแต่วันยื่นคำร้อง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ให้คำชี้ขาดภายในเวลาอันสมควรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาความผิดอื่น แม้จำเลยไม่ฎีกา หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิด
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดแทงผู้เสียหายแม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในทางสาธารณะและจำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่ชอบ กรณีใช้ความผิดวินัยที่ไม่เป็นความผิดของลูกจ้างเป็นเหตุ
การที่โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ประจำปีนั้นก็โดยจำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดวินัยและถูกลงโทษทางวินัยเป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณา เมื่อเหตุดังกล่าว ไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์ การที่จำเลยนำไปประกอบการพิจารณาซึ่งเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้ว จำเลยยังมีเหตุอีกหลายประการในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี จึงจำเป็นต้องให้จำเลยพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีแก่โจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์ต้องแก้ไขก่อนพิจารณา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อกลับไปแก้ไขฟ้อง
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745-4747/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ระบุอายุโจทก์: ศาลพิจารณาจากข้อมูลอื่นที่แสดงถึงการบรรลุนิติภาวะ
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุอายุของตนลงในคำฟ้องแต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ว่าตนเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ซ. และเมื่ออ้างตนเองเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็เบิกความว่าตนมีอายุ 40 ปี ย่อมทราบได้ว่าโจทก์อายุ 40 ปี เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่เพียงพอที่จะถือว่าคำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลเลิกจ้าง ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ่ายค่าชดเชย
มีผู้โดยสารแอบขึ้นรถทางด้าน หลังคันที่โจทก์ขับรับส่งผู้โดยสารและมีเงินค่าโดยสารไม่พอ โจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคา โดยที่ผู้โดยสารเป็นหญิงอายุยังน้อยและมาเพียงคนเดียว ในฐานะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถและเป็นผู้ใหญ่ย่อมมีความเมตตาสงสาร จึงให้ความช่วยเหลือด้วยมนุษยธรรม โจทก์ไม่เจตนาทุจริตหรือกระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นเหตุที่สมควรหรือไม่เพียงไรมิได้อยู่ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง.