คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดดีกว่าสิทธิจากการซื้อจากลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลดีกว่าการซื้อจากผู้จัดสรรที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์ จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข.
เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาทเมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมีหลักฐานชัดเจน
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4)ข. เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาท เมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องดูทรัพย์สินที่มีอยู่จริง แม้มีหนี้แต่มีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้ ศาลไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
แม้โจทก์จะนำสืบได้ตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาของศาลจะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ทั้งนี้ตามมาตรา 14 เมื่อจำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดก และเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน 3 แปลง ที่ดินมรดกดังกล่าวจึงตกทอดแก่จำเลยทันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600 แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว ก็หาทำให้สิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงเปลี่ยนแปลงไม่ และแม้ที่ดินนั้นจะติดจำนอง แต่เมื่อรวมหนี้จำนองกับจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์แล้วต่ำกว่าราคาที่ดินจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ศาลไม่จำเป็นต้องกำหนดราคาขั้นต่ำและไม่เลื่อนไต่สวนเพราะจำเลยร่วมถูกพิทักษ์ทรัพย์
ทรัพย์ที่ถูกยึดได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของโจทก์จำเลยจะขอให้รอการขายทอดตลาด เพื่อให้ศาลไต่สวนความเสียหายนั้นก่อนไม่ได้ เพราะไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องดำเนินการขายทอดตลาดให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308,309ศาลจึงไม่จำต้องกำหนดราคาขายขั้นต่ำของทรัพย์ที่ขายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการอุทธรณ์ สิทธิอุทธรณ์เป็นรายบุคคล
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2534 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวัดนัดให้จำเลยที่ 1มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่
การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้จากคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่สามารถอ้างมาตรา 93 พ.ร.บ.ล้มละลายได้
ผู้ที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ชนะคดี มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93 ทั้งบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530ก็มิใช่บทยกเว้นหลักการขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากพ้นกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วแม้จะยังไม่พ้นกำหนด2 เดือน นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก็ตามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตาม มาตรา 119 สิทธิเรียกร้องของจำเลยจะต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อำนาจจัดกิจการทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 6 และมาตรา 22เมื่อผู้ร้องซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว โดยเบิกเงินจากบัญชีของจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องว่ากล่าวกับผู้ร้องต่างหาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมกลับสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับบทตามมาตรา 24 ไม่ใช่ปรับบทตามมาตรา 114,115 เพราะคำว่า"การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างเวลาสามปีหรือสามเดือนแล้วแต่กรณีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น"ตามมาตรา 114,115 หมายถึงการโอนหรือการกระทำที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่การโอนหรือการกระทำหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นโมฆะผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ*พิพาทที่จะโอนขายต่อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนอันจะได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 116 หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนในสารบัญที่ดินได้ และเจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลโดยศาลไม่ต้องสั่งเจ้าพนักงานที่ดินอีก ไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
of 38