คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการไต่สวนลูกหนี้และการพิพากษาล้มละลาย: ศาลมีอำนาจพิพากษาล้มละลายก่อนไต่สวนได้
การนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายอย่างหนึ่งที่ให้ศาลทำการไต่สวนตัวลูกหนี้เพื่อทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายหรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากการล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นคนละกรณีกับการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยจึงไม่จำต้องกระทำก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกลงมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว การพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้นพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการที่ต่อมาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อน แล้วนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในภายหลังเพื่อความสะดวกตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอมา จึงหาได้เป็นการข้ามขั้นตอนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่จำเป็นต้องทำก่อนพิพากษา ศาลมีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนที่เหมาะสม
การนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายอย่างหนึ่งที่ให้ศาลทำการไต่สวนตัวลูกหนี้เพื่อทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นคนละกรณีกับการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย จึงไม่จำต้องกระทำก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกลงมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายแล้วการพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนลูกหนี้ทั้งสามโดยเปิดเผยก่อนแล้วนัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายภายหลัง แต่ต่อมาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้นัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ทั้งสามล้มละลายก่อน และนัดไต่สวนลูกหนี้ทั้งสามโดยเปิดเผยในภายหลัง ไม่เป็นการข้ามขั้นตอน และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีทำร้ายร่างกายสาหัส ต้องมีการบรรยายรายละเอียดบาดเจ็บในฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสอย่างไรจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297 ไม่ได้ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญที่จำเลยอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าเสาไฟฟ้าเป็นของโจทก์นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงมาจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยมิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยให้ตามอุทธรณ์ของจำเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่จำเลยให้การและอุทธรณ์ต่อสู้ไว้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเสาไฟฟ้าไม่ใช่ของโจทก์ เป็นการพิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความตาม มาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประเด็นดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะไม่วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีฎีกาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีแล้ว
โจทก์ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษา เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาได้พิจารณาเนื้อหาแห่งคดีและทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว ทำให้ปัญหาในเรื่องการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาตามฎีกาของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไปศาลฎีกาให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยพยานผู้มีส่วนร่วมเหตุการณ์และยืนยันตัวผู้กระทำผิด
ว.กับส. พยานโจทก์รู้จักกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเรื่องโกรธเคืองกัน บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟฟ้าจากเสาไฟฟ้าข้างทางและจากบ้านทั้งสองข้างทาง และบิดามารดาของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเข้าไปห้ามปรามก็ถูกพวกจำเลยตีทำร้ายด้วย ว. ถึงได้ตะโกนให้หยุด โดยขู่ว่ามิฉะนั้นจะเอาปืนมายิง พวกจำเลยจึงได้ล่าถอยไป แสดงว่าพยานได้มีส่วนแก้ไขในเหตุการณ์ด้วย ไม่ใช่เพียงรู้เห็นเหตุการณ์อย่างเดียว ในคืนเกิดเหตุภายหลังเกิดเหตุแล้วเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพวกของจำเลยได้ พยานโจทก์ทั้งสองก็ชี้ ตัวว่าเป็นคนร้าย ต่อมาเมื่อ ส. เห็นจำเลยที่ลานสเกต ก็เป็นคน โทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยได้ที่ลานสเกต ดังกล่าว ดังนี้จึงเชื่อ ว่าพยานโจทก์ทั้งสองต้องสนใจและจำจำเลยได้ไม่ผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ร่วมข่มขืน แต่กระทำอนาจารผู้เสียหาย ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษฐานกระทำอนาจาร
จำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้หลบหนีข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 12 ปี ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเฉพาะข้อหาร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ส่วนปัญหาว่า จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายอันเป็นการกระทำส่วนหนึ่งในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ส่วนศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหาย ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีอาญาที่มิชอบ ศาลต้องดำเนินการพิจารณาหลักฐานอย่างครบถ้วนก่อนพิพากษา
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณาคดีไว้และเมื่อโจทก์ทราบกำหนดนัดนั้นแล้วไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเสียได้ ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้น ซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้ เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
of 37