พบผลลัพธ์ทั้งหมด 218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2943/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การตัดสายห้ามล้อรถยนต์ ไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
การที่จำเลยตัดสายห้ามล้อรถยนต์เพื่อมิให้โจทก์ออกจากบ้านยังห่างไกลต่อการที่จะฟังว่า จำเลยได้ทำร้ายโจทก์ และแม้โจทก์จำเลยทะเลาะกันเป็นประจำก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากสามีอุปการะเลี้ยงดูผู้หญิงอื่น แม้ความสัมพันธ์จะเริ่มก่อนทราบเรื่อง การฟ้องหย่าทำได้
สามีอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นโดยเปิดเผยฉันภริยา ภริยาฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุสามีภรรยาทำร้ายร่างกายและหึงหวง ศาลพิจารณาเหตุผลประกอบการวินิจฉัยสิทธิในการหย่า
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาทะเลาะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์อันเป็นการร้ายแรงไม่
จำเลย(ภริยา) มีเหตุอันควรที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น จึงทำให้เกิดอารมณ์หึงหวงซึ่งโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นโดยไปไหนมาไหนกับหญิงอื่นจนเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและโจทก์ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับจำเลยมานานแล้วการที่จำเลยระงับอารมณ์ไม่อยู่และเกิดทะเลาะวิวาทกับโจทก์ บางครั้งถึงกับทุบตีและทำร้ายร่างกายกัน แม้จะทะเลาะวิวาทในสถานที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าผู้ที่มาติดต่อก็เป็นพฤติการณ์ที่ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
จำเลย(ภริยา) มีเหตุอันควรที่จะเชื่อได้ว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น จึงทำให้เกิดอารมณ์หึงหวงซึ่งโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นโดยไปไหนมาไหนกับหญิงอื่นจนเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและโจทก์ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับจำเลยมานานแล้วการที่จำเลยระงับอารมณ์ไม่อยู่และเกิดทะเลาะวิวาทกับโจทก์ บางครั้งถึงกับทุบตีและทำร้ายร่างกายกัน แม้จะทะเลาะวิวาทในสถานที่ทำงานของโจทก์ต่อหน้าผู้ที่มาติดต่อก็เป็นพฤติการณ์ที่ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากภริยาออกจากบ้านโดยไม่กลับ และแจ้งให้จัดการเรื่องหย่า ถือเป็นการละทิ้งร้างเกินกว่าหนึ่งปี
ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามีไปอยู่ที่อื่น ไม่กลับตามคำขอร้องของสามี และบอกให้สามีจัดการเรื่องหย่า ภริยาจงใจละทิ้งร้างไปเกิน 1 ปีสามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำต่อเนื่องเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ไม่ขาดอายุความฟ้องหย่า
จำเลยมิได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์มาถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วโดยจำเลยมีสามีใหม่และอยู่กินกับสามีใหม่ตลอดมาจนขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าว นอกจากจะเป็นเหตุหย่าในเหตุอื่นเช่นมีชู้จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี เป็นต้นแล้วยังเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงอีกด้วย และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องตลอดมาทุกวัน คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหย่าซ้ำหลังคดีถึงที่สุดแล้วเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
เดิมจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาฟ้องว่า โจทก์ซี่งเป็นสามีทิ้งร้าง ขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้หย่าจากกันอีกไม่ได้ ไม่ว่าจะอ้างมูลเหตุใด ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหย่าซ้ำหลังคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นการฟ้องซ้ำที่กฎหมายห้าม
เดิมจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาฟ้องว่าโจทก์ซึ่งเป็นสามีทิ้งร้าง ขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คดีถึงที่สุดแล้วดังนี้ โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้หย่าจากกันอีกไม่ได้ไม่ว่าจะอ้างมูลเหตุใด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตกลงหย่าที่มีพยานรับรอง ถือเป็นหลักฐานเพียงพอต่อการฟ้องหย่าได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียน
ทำหนังสือหย่าโดยมีผู้ทำบันทึกลงชื่อในฐานะผู้บันทึกข้อความถือว่าผู้ทำบันทึกซึ่งรู้เห็นข้อตกลงเป็นพยานคนหนึ่งโดยไม่ต้องมีคำว่าพยานกำกับไว้ กับมีพยานอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อด้วย สามีฟ้องหย่าให้ภริยาไปจดทะเบียนหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากละทิ้งร้าง ต้องพิจารณาพฤติการณ์ของทั้งสองฝ่าย ศาลยกฟ้องหากโจทก์ไม่ช่วยเหลือดูแลบุตร
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยคลอดบุตรแล้วโจทก์ไม่อยู่ช่วยเหลือดูแลบุตร จำเลยจึงต้องพาบุตรไปอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยชั่วคราว แต่โจทก์กลับไม่ยอมให้จำเลยอยู่ด้วยโดยไปแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ให้จำเลยและบุตรออกไปจากบ้านโจทก์ เมื่อจำเลยมาพบพูดจากับโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นสามี โจทก์ก็ไม่ยอมพูดด้วย จำเลยต้องอาศัยอยู่กับมารดาของจำเลยต่อมา ดังนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: พิจารณาจากผลสำเร็จของงาน แม้มีการฟ้องคดีอาญาควบคู่ไปด้วย
จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้อง อ.ขอหย่าและแบ่งสินสมรสทุนทรัพย์ 697,200 บาท ให้ดำเนินคดีจนถึงที่สุด โดยตกลงให้ค่าจ้าง 60,000 บาท ดังนี้ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่าจำเลยจะชำระค่าจ้าง 60,000 บาท ดังนี้ ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างว่าความให้โจทก์เมื่อจำเลยได้รับชำระเงินจาก อ. การที่โจทก์ยื่นฟ้อง อ. และคดียุติด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยและ อ. ตกลงหย่าขาดจากกัน อ. ยอมแบ่งสินสมรสให้จำเลย 600,000 บาท ซึ่งศาลพิพากษาไปตามยอม ต่อมาเมื่อ อ. ผิดสัญญายอม โจทก์ดำเนินการบังคับคดี แก้ต่างในคดีร้องขัดทรัพย์และฟ้อง อ. เป็นคดีล้มละลาย แม้จำเลยจะมอบให้ ค. เป็นทนายฟ้อง อ. เป็นคดีอาญาเรื่องฉ้อโกงเจ้าหนี้ และ อ. ยอมชำระเงินให้จำเลย ก็ถือได้ว่าการทำงานของโจทก์มีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่เพราะที่ ค. ฟ้องคดีอาญาก็มีส่วนให้อ. ชำระเงินตามยอมด้วย จึงสมควรกำหนดค่าจ้างให้โจทก์ 40,000 บาท