คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภริยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภริยาในสินสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ: การลงชื่อในโฉนดที่ดิน
สามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยามีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อในโฉนดที่ดินสินสมรสร่วมกับสามีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแยกสินบริคณห์: ผู้รับตามพินัยกรรมมีสิทธิ แม้ภริยาไม่บอกล้างหลังสามีเสียชีวิต
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 ตกลงกันทำพินัยกรรมคนละฉบับแยกให้ทรัพย์แก่บุคคล 2 คน ต่างหากจากกัน ดังนี้ เป็นการแยกสินบริคณห์กัน เมื่อสามีตายเกิน 1 ปี ภริยาไม่ได้บอกล้าง ทรัพย์ตกเป็นของผู้รับตามพินัยกรรมของสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี แม้ภริยาอยู่ต่างประเทศและมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
สามีภริยาที่ยังมิได้หย่าขาดจากกันแต่แยกกันอยู่โดยฝ่ายสามีแสดงเจตนาไม่ต้องการให้ภริยาอยู่ร่วมด้วย และฝ่ายภริยามีรายได้ไม่พอจ่ายเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด กับไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นพอเป็นรายได้เลี้ยงดูตนเอง เช่นนี้ภริยาย่อมมีสิทธิรับการช่วยเหลือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 และมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามีได้ เพราะสามีอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัวต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของภริยาในกรณีมีภริยาหลายคน และรูปแบบพินัยกรรมลับ
ภริยา 2 คนก่อนบรรพ 5 ซึ่งสามียกย่องเป็นภรรยาเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ยกใครเป็นภรรยาหลวง ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ทรัพย์สินบริคณห์และมรดกในฐานะภริยาเท่ากัน คือคนละครึ่งในหนึ่งในสามของสินสมรสซึ่งเป็นส่วนของภริยา
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกของภริยาที่ไม่จดทะเบียน และการครอบครองปรปักษ์
สามีภริยาไม่จดทะเบียน สามีรับมรดกที่ดิน ภริยาไม่มีสิทธิร่วมด้วย และถือว่าอาศัยสิทธิของสามีอยู่ในที่ดินจนสามีตาย ต่อมาภริยารื้อเรือนเดิมปลูกขึ้นใหม่ในรั้วเดียวกันโดยไม่ขออนุญาตทายาทอื่น แต่มิได้โต้แย้งสิทธิกับทายาทหรือครอบครองมีเขตเป็นส่วนสัด ทายาทอื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่แต่ผู้เดียว ไม่เป็นการที่ภริยาครอบครองปรปักษ์ เจ้าหนี้ของภริยายึดที่พิพาทบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยาและสามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยภริยา และความยินยอมของสามี ไม่สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างสามีกับผู้รับ
ภริยาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะสามี ถึงหากที่ดินนั้นจะเป็นของโจทก์และภริยาร่วมกัน เมื่อเอกสารมีข้อความชัดแจ้งว่าภริยาโจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลย กรณีก็ต้องบังคับตามข้อความในเอกสาร ที่โจทก์ให้ความยินยอมก็เป็นเพียงอนุญาตให้ภริยาทำการผูกพันสินบริคณห์ได้เท่านั้น โจทก์หามีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับจำเลยด้วยไม่ โจทก์จึงมิใช่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่จำเลย และไม่มีสิทธิฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราและพรากผู้เยาว์: การพาผู้เสียหายหนีเพื่อเป็นภริยาเข้าข่ายพรากเพื่อการอนาจาร
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราหญิงผู้เยาว์อายุ 14 ปีเศษซึ่งอยู่ในความปกครองของบิดามารดา ครั้นผู้เยาว์ตั้งครรภ์จำเลยกลัวบิดามารดาของผู้เยาว์จะรู้เรื่องจึงพาผู้เยาว์หนีตามจำเลยไปเป็นภริยาของจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยมีบุตรภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2515)
of 27