พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้อง: ข้อพิพาททางภาระจำยอมแยกจากข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม จำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภาระจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตน และจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วม ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภาระจำยอมมาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วม ยกฎีกาจำเลยร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, สัญญาประนีประนอม, การบังคับคดี, ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสามใช้ทางภาระจำยอมได้เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่เข้าออกที่ดิน อันเป็นที่ตั้งโรงงานของโจทก์ทั้งสามเป็นประตูกว้างประมาณ 9 เมตรสู่ที่ดินถนนภาระจำยอมของจำเลย ส่วนประตูเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3ฝั่งตรงข้ามโรงงานที่ติดกับที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเว้นช่องเข้าออกไว้ประมาณ 9 เมตรเช่นกัน จำเลยได้ก่อกำแพงสูง 2 เมตรปิดกั้น โดยเว้นช่องทางเข้าออกไว้เพียง1 เมตร เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ยืนยันว่าไม่สามารถเข้าไปใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสามได้เพียงแต่ไม่สะดวกเท่านั้น ซึ่งจำเลยก็ได้เปิดทางเป็นถนนให้โจทก์ทั้งสามเข้าออกโรงงานของโจทก์ทั้งสามแล้ว และที่ดินฝั่งตรงข้ามโรงงานก็เป็นที่ว่าง แม้จำเลยจะก่อรั้วขึ้นมาดังกล่าว แต่ก็มิได้กีดขวางทางเข้าออกสู่ถนนพิพาทเพราะยังเหลือที่ว่างเปล่าอีกมากซึ่งโจทก์ทั้งสามสามารถเข้าออกสู่ถนนพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามจึงไม่ได้รับความเสียหาย
คดีนี้จำเลยได้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 แต่เมื่อปรากฏว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทคดีนี้ให้แก่ ก.แล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้องได้ต่อไป เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับกรณีนี้มาด้วย จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่
คดีนี้จำเลยได้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 แต่เมื่อปรากฏว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทคดีนี้ให้แก่ ก.แล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้องได้ต่อไป เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับกรณีนี้มาด้วย จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็น: คลองสาธารณะทำให้ที่ดินไม่ถูกล้อม, ประเด็นภาระจำยอมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
เมื่อยังมีการใช้เรือสัญจรไปมาในคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นคลองสาธารณะอยู่ คลองบางกอกน้อยจึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1349 ดังนั้นการที่ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นทางสาธารณะเช่นนี้ จึงไม่เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของจำเลยไม่เป็นทางจำเป็นของที่ดินของโจทก์
ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความแล้วนั้น ปรากฏว่าในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินของจำเลยเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความแล้วนั้น ปรากฏว่าในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินของจำเลยเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์: ไม่แยกแยะผลกระทบกับที่ดินมีโฉนด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 ไม่ได้แยกเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือที่ดินมีโฉนดให้มีผลแตกต่างกัน หากแต่บัญญัติไว้ว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ดังนี้แม้ที่ดินของจำเลยจะเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ก็เป็นอสังหา-ริมทรัพย์จึงย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ ซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เหมือนกับที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6242/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดจากการครอบครองปรปักษ์และสิทธิภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์และจำเลยได้รับการยกที่ดินส่วนที่ได้ครอบครองตั้งแต่บิดาทั้งสองฝ่ายยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งบิดาทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรม ต่างก็ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดในส่วนที่ได้ครอบครองนั้นโดยไม่มีการโต้แย้งแนวเขตซึ่งกันและกันเป็นเวลาประมาณ 30 ปีมาแล้ว และต่อมาภายหลังมีการขอแบ่งแยกและออกโฉนดเป็นของตน ก็ยังคงเป็นไปตามที่ต่างฝ่ายครอบครองมา แม้นับตั้งแต่เวลาที่ได้มีการออกโฉนดใหม่จนถึงวันฟ้องจะไม่ถึง 10 ปี ก็ตาม แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 และเมื่อโจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยในส่วนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้น ตามมาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382แม้โจทก์อาจจะใช้เส้นทางอื่นได้ก็ไม่เป็นเหตุให้ภาระจำยอมสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมตกแก่ผู้ซื้อที่ดินเดิม แม้มีทางออกอื่น
เจ้าของเดิมได้สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ติดต่อกันมากว่า 10 ปีเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิมภาระจำยอมย่อมตกแก่โจทก์ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการได้มาหลังจากที่ภาระจำยอมนั้นเกิดมีขึ้นแล้ว ถึงหากโจทก์จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่ก็ต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทสูญสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5314/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังคงมีอยู่แม้มีทางออกอื่น
ที่ดินของจำเลยมีที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมอยู่แล้ว แม้จะมีทางออกทางอื่นโดยมีถนนสาธารณะตัดผ่านที่ดินของจำเลยก็หาทำให้ทางภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ที่มีอยู่แล้วสิ้นไปไม่ กรณียังมิใช่เป็นเรื่องภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น/ภาระจำยอม: การฟ้องขอเปิดทางผ่านที่ดินของผู้อื่น การกำหนดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ซึ่งซื้อมาจากเจ้าของเดิมอยู่ติดกับที่ดินจำเลยและมีที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ระหว่างที่ดินโจทก์กับทางสาธารณะมีที่ดินจำเลยคั่นอยู่และมีทางพิพาทจากที่ดิน โจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะ ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินเจ้าของเดิมได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวก็ได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันตลอดมา ต่อมาจำเลยนำเสาปูนมาปักกั้นทางพิพาท จึงขอให้จำเลยเปิดทางพิพาท เช่นนี้จะเห็นได้ว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอม ซึ่งต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินจำเลยและที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือเจ้าของเดิมก็ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันก่อนขายให้โจทก์เป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิมาปิดกั้นทางพิพาท คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง 2 ประเด็น ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาต ขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิม จึงไม่อนุญาต" จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้ จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง 2 ประเด็น ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาต ขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิม จึงไม่อนุญาต" จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้ จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินจัดสรรเป็นสาธารณูปโภค แม้ยังไม่ได้จัดทำจริง ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้ซื้อสุจริต
จำเลยที่ 1 และบริษัท ส.ผู้จัดสรรที่ดิน ได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทไว้เพื่อจัดทำเป็นสวนหย่อมสำหรับเป็นที่พักผ่อนของผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรถึงแม้จะได้ความว่าผู้จัดสรรที่ดินยังไม่ได้จัดทำสวนหย่อมในที่ดินพิพาท สภาพของสวนหย่อมแตกต่างกับสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่การที่ผู้จัดสรรที่ดินแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าจะจัดให้มีสวนหย่อม และได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทไว้เป็นส่วนสัดแน่นอนเพื่อดำเนินการดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าการทำสวนหย่อมได้จัดให้มีขึ้นแล้วสาธารณูปโภคประเภทถนน สวนสาธารณะ และสนามเด็กเล่นดังที่ระบุไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น สาธารณูปโภคอย่างอื่น เช่น สวนหย่อมที่ผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรรใช้เป็นที่พักผ่อนร่วมกัน ย่อมเป็นสาธารณูปโภคตามบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวด้วย กรณีจึงถือได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวแล้ว ฉะนั้นที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรของโจทก์โดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไปจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเกินขอบเขตที่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์
แม้ตามคำฟ้องจะไม่ได้กล่าวถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง11117 รวม 4 โฉนด แต่โจทก์ก็ได้กล่าวในคำฟ้องว่า เมื่อปี 2511 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ป. เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกจากโรงสีสู่ถนนสรรประศาสน์มากว่า 10 ปีป.ได้ทำทางภาระจำยอมเป็นถนนมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 4 โฉนด โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้รับโอนมา ครั้นต่อมาเดือนพฤษภาคม 2531 จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนเข้าไปในทาง ทำให้ทางแคบลงเหลือความกว้างเพียง 3 เมตร โจทก์ไม่สามารถนำรถบรรทุกขนข้าวเปลือกได้ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าถอนเสาปูนออกไป ห้ามมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 7496มีเนื้อที่ 2 ไร่ ต่อมาได้ทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยอีก 4 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด และตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 5 คนละแปลง ส่วนโฉนดเดิมคงเหลือเนื้อที่ 91 ตารางวา โดยมีความกว้าง3 เมตร ยาว 125 เมตร และได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของป. ทั้งตามคำขอของโจทก์ขอบังคับมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ ตามคำฟ้องพอเข้าใจได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด ซึ่งถูกแบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 7496 และมีชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของตกเป็นทางภาระจำยอมโดยมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ยาว 125 เมตร ซึ่งมีความกว้างเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้ 2 ถึง 3 เมตร ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความด้วย
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งห้าโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอมแต่การที่โจทก์ใช้ทางล้ำออกไปมากกว่าที่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินโดยปริยาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งห้า แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่บรรทุกข้าวจากโรงสีของโจทก์อันเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนทางภาระจำยอมมีความกว้างเพียง 3 เมตรโจทก์จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มากกว่า 3 เมตร ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนลงในทางพิพาทด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ ทำให้ทางภาระจำยอมเหลือความกว้างอยู่เพียง 3 เมตร นั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามิได้กระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไว้ลดหรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาปูนที่ปักไว้และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าไม่ได้
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งห้าโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอมแต่การที่โจทก์ใช้ทางล้ำออกไปมากกว่าที่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินโดยปริยาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งห้า แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่บรรทุกข้าวจากโรงสีของโจทก์อันเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนทางภาระจำยอมมีความกว้างเพียง 3 เมตรโจทก์จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มากกว่า 3 เมตร ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนลงในทางพิพาทด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ ทำให้ทางภาระจำยอมเหลือความกว้างอยู่เพียง 3 เมตร นั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามิได้กระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไว้ลดหรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาปูนที่ปักไว้และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าไม่ได้