คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจหน้าที่อย่างไร และศาลจะพิจารณาถอนผู้จัดการมรดกเมื่อใด
แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกจากธนาคารก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องย่อมไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทได้การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคารไม่ใช่เหตุที่จะอ้างไม่ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเป็นบุตรเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องเป็นมารดาผู้คัดค้านและเป็นภริยาเจ้ามรดกและทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง การที่ผู้ร้องไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบังทรัพย์มรดก ส่วนเรื่องผู้ร้องไม่เรียกประชุมทายาทก็ปรากฏว่าทายาทของเจ้ามรดกบางคนอยู่ต่างประเทศบางคนอยู่ต่างจังหวัดจึงเป็นการยากที่จะจัดประชุมทายาทดังนั้น ที่ผู้ร้องไม่จัดประชุมทายาทเพราะเหตุดังกล่าวมาจึงไม่พอฟังว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และแม้ผู้ร้องจะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 และ 1729บัญญัติไว้ก็ตาม แต่มาตรา 1731 ก็ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า มีเหตุสมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ซึ่งตามพฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและผลของการโอนมรดกโดยสุจริต ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอถือเอาคำพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดินดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 แล้ว และจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ ดังนั้นเงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกดังกล่าวจึงเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ซึ่งถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง โดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้ชำระราคาที่ดินมรดกที่ถูกขายไปแล้วโดยสุจริต ไม่เกินคำขอเดิม แม้จะมีการแก้ไขเลขที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกให้แก่โจทก์โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดิน ข้อเท็จจริงในการพิจารณาได้ความเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 ไปแล้วและจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ดังนี้กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ แต่เงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกเป็นเงินเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคสองโดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยที่ 1ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินไปจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ได้ และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส.3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 ในคำพิพากษาซึ่งพิมพ์ผิดพลาดเป็นเลขที่ 3906 และ 3907 นั้น เมื่อคำพิพากษาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไข
การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยในผลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ประสงค์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอมาในคำร้องหรือคำแก้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้ทายาทรับผิดตามสัญญาจะซื้อขายที่ผู้ตายทำไว้ และอายุความของฟ้องร้อง
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไม่ปรากฏว่า อ. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ใด เมื่อ อ. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ อ. ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง จำเลยเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. มีสิทธิได้รับมรดกของ อ. ในลำดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินทันทีตั้งแต่ อ. ถึงแก่ความตาย และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของอ. มีหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ อ. ทำไว้ ในอันที่จะต้องจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย การบังคับให้จำเลยจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วยเป็นการบังคับในส่วนอันเป็นสิทธิของจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ อ. ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นในที่ดินพิพาท และไม่ได้เป็นเรื่องที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้
การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกชอบด้วยกฎหมายเมื่อทายาทตกลงและรับโอนทรัพย์แล้ว ผู้จัดการมรดกพ้นหน้าที่
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งปันที่ดินมรดกตามคำสั่งเสียของผู้ตาย โดยทายาททุกคนรวมตลอดทั้งผู้คัดค้านตกลงยินยอม การจัดการมรดกของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทายาทอื่นรวมทั้งผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกในส่วนของตนไปแล้ว และไม่มีทรัพย์มรดกอื่นต้องแบ่งแก่ทายาทต่อไป การจัดการมรดกย่อมสิ้นสุดตั้งแต่บัดนั้น ความเป็นผู้จัดการมรดกตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ร้องย่อมสิ้นสุดลงผู้คัดค้านจึงไม่อาจขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้คัดค้านจะยังไม่ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินมรดกที่กันไว้เป็นทางเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนตามข้อตกลงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทรับมรดกสิทธิครอบครองเดิม ไม่อาจฟ้องรื้อร้องประเด็นที่เคยถูกตัดสินถึงที่สุดแล้ว
ในคดีก่อน ช. ฝ่ายหนึ่ง และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งพิพาทกันในสิทธิครอบครองที่ดินซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเฉพาะพื้นที่นอกแนวเขตของพื้นที่ที่ ช. ครอบครองปลูกบ้านเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนโดย ช. ยกให้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีก่อน เพียงแต่อ้างจำนวนเนื้อที่มากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับ ที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. และได้เป็นผู้เข้ารับมรดกความแทน จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ช. ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิรื้อร้องฟ้องเป็นคดีนี้อีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองแทนและการคงสิทธิในฐานะเจ้าของรวม
เมื่อโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้ตกลงแบ่งปันมรดกกันแล้ว แม้มรดกส่วนที่โจทก์จะได้รับโจทก์ยังไม่เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของแต่โจทก์ได้ให้ผู้อื่นครอบครองแทน ซึ่งเปรียบเสมือนโจทก์ได้รับส่วนแบ่งและได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยตนเองแล้ว การแบ่งปันมรดกจึงเสร็จสิ้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกที่ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการแบ่งปันมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีส่วนของโจทก์ บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยโจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมา บ.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ครอบครองทำประโยชน์ต่อ โจทก์ไม่ฟ้องขอแบ่งมรดกภายใน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วอ้างเป็นเหตุยกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์และ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดย บ.ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจาก บ.ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกเรือยนต์ของกลาง ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนได้หากไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
ตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนาย ด. เป็นหัวหน้าครอบครัว นาง จ. เป็นภรรยา ส่วนผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด. กับนาง จ. สำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าข้อความตามที่ได้ระบุไว้นั้นไม่ถูกต้อง จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด.
เมื่อนาย ด. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนาย ด. อันมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นทายาทผู้หนึ่งที่มีสิทธิได้รับมรดกเรือยนต์ของกลาง แม้จะปรากฏว่านาย ด. มีบุตรอื่นอีกหลายคน ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกร่วมเป็นเจ้าของเรือยนต์ของกลางด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเรือยนต์ของกลางได้
เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดโดยนำเรือประมงเข้าไปจับปลาในเขตหวงห้าม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือประมงที่ใช้ในการกระทำความผิดมิได้เป็นของจำเลยทั้งสองแต่เป็นของผู้ร้องและผู้ร้องก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้คืนเรือของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกยุติลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในการเป็นผู้จัดการมรดก
ณ. เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยคำสั่งศาลมาก่อน ต่อมาผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ตายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ณ. จากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถอนฟ้อง โดยตกลงกันให้ ณ. ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ซึ่ง ณ. ยอมแบ่งเงินจากกองมรดกของผู้ตายจำนวน 180,000 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งทำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 852 ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก จึงมาร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6804/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, ค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดก, สิทธิของทายาท, การพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกนั้นจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปจริงและเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกฎหมาย จึงสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายจากกองมรดกได้ แม้การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอาจจะมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างแต่เมื่อไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าได้เสียไปจริงและเป็นสิ่งที่ต้องชำระตามกฎหมายแล้ว ถึงโจทก์มิได้คัดค้านจำเลยทั้งสองก็ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักจากกองมรดกได้ สำหรับค่าบำเหน็จผู้จัดการมรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1721 ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้ เมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้และทายาทจำนวนข้างมากมิได้ยินยอมให้จำเลยหักค่าใช้จ่าย ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ แต่สำหรับค่าจัดการศพซึ่งรวมอยู่ในค่าทำบุญสร้างศาลาการเปรียญนั้น เนื่องจากการจัดการศพเป็นสิ่งจำเป็นอันต้องจัดการตามจารีตประเพณีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้จัดการมรดกย่อมนำมาหักจากกองมรดกก่อนแบ่งปันแก่ทายาทได้ตามกฎหมาย การที่ทายาทในสายเดียวกันกับโจทก์จะยอมรับเงินทรัพย์มรดกจำนวนเพียงใดก็เป็นเรื่องเฉพาะของทายาทแต่ละคน เมื่อโจทก์ยังมิได้รับทรัพย์มรดก สิทธิของโจทก์จะมีเพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมาย
of 179