คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุริมสิทธิพิเศษในมูลจ้างทำของต้องจดทะเบียนเพื่อให้มีผลผูกพันและใช้ยันเจ้าหนี้อื่นได้
บุริมสิทธิพิเศษในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหนี้ต้องทำประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น หากเจ้าหนี้มิได้จดทะเบียนไว้ย่อมไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือที่ดินของลูกหนี้และไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น และถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯเจ้าหนี้คงอยู่ในฐานะที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยสุจริตและมีมูลหนี้ ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกหนี้ได้
เดิมบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ได้นำเช็คหมาย จ.8 แลกเอาเงินไปจากโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัทดังกล่าวจึงมอบเช็คพิพาทซึ่งห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้โจทก์ โจทก์จึงนำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขาพระโขนง แต่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงต้องชำระเงินแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้วรับเช็คพิพาทกลับคืนมาฟ้องจำเลยทั้งสอง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตและมีมูลหนี้ต่อกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด โดยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้นำเช็คเอกสารหมาย ล.7 ไปชำระแก่บริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัดหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแล้ว ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายลดเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามสัญญาขายลดเช็คพิพาทแก่ธนาคาร-กรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้ว ได้รับเช็คพิพาทกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โดยรับช่วงสิทธิจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ในการฟ้องให้จำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์มูลหนี้จากการให้กู้ยืมเงิน การเบิกความลอยๆ และหลักฐานการชำระหนี้ที่ไม่เพียงพอ
เจ้าหนี้มีรายได้น้อยกว่าจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมไป เจ้าหนี้อ้างว่าได้กู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาให้ลูกหนี้กู้ยืม ก็ไม่ได้นำบุคคลดังกล่าวมานำสืบสนับสนุน การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปก็ไม่ได้ทำหลักฐานการกู้ยืมหรือมีหลักประกันอย่างอื่นนอกจากให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คไว้เป็นประกันเท่านั้นทั้ง ๆ ที่เป็นเงินจำนวนมาก การจ่ายเงินให้ลูกหนี้จ่ายเป็นเงินสดแต่ไม่มีหลักฐานการรับเงิน คำเบิกความของเจ้าหนี้เป็นการเบิกความลอย ๆ ขาดเหตุผล และไม่มีพยานอื่นสนับสนุน ฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้จากดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย เช็คเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งค่าผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวก็คือดอกเบี้ยซึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อเช็คพิพาทมีมูลหนี้ที่เกิดจากดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3(ก) มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องคดีหลังด้วยมูลหนี้เดิมยังเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ก็ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาการที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้ต่อมาคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็หาทำให้ฟ้องคดีหลังซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีล้มละลาย อาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาชั้นที่สุด อายุความสะดุดหยุดลงจากการบังคับคดี
ระยะเวลา 10 ปี ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความฟ้องร้องคดี เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง มูลหนี้ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 หลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2522 แล้ว โจทก์ก็ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนมีการยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2523 ได้เงินชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนในวันดังกล่าว การดำเนินการชั้นบังคับคดีจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2523 จึงเป็นการดำเนินการภายใน10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งซึ่งย่อมเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลา 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาเช่าซื้อ, มูลหนี้จากการรับสภาพหนี้, การลดค่าเสียหายที่สูงเกินควร, ศาลฎีกาพิพากษากลับ
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากสัญญาเช่าซื้อถูกยกเลิกไปผู้เช่าซื้อต้องรับผิดในจำนวนค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าเสียหายพร้อมด้วยค่าปรับร้อยละสิบแปดต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 574 เพราะเป็นเพียงข้อกำหนดในการชำระค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการเลิกสัญญากันพร้อมทั้งเบี้ยปรับกรณีผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นและค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแชร์: มูลหนี้แยกต่างหาก, ทุนทรัพย์แต่ละโจทก์, ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
มูลหนี้ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกเงินจากจำเลยตามสัญญาเล่นแชร์ที่โจทก์แต่ละคนและจำเลยต่างร่วมเล่นแชร์ด้วยกันโดย มีฉ. เป็นนายวงแชร์ เป็นมูลหนี้ที่แยกต่างหากจากกันได้คือจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคนคนละ 9,510 บาท โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้รวมของจำเลย ทุนทรัพย์ในคดีของโจทก์แต่ละคนจึงแยกต่างหากจากกันคนละ 9,510 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเพื่อหักล้างข้อต่อสู้ของจำเลย ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์เพื่อไม่ให้โจทก์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอแบ่งจากจำเลย โจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินนั้นแล้ว โจทก์จำเลยมิได้พิพาทเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวแต่พิพาทกันว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่ามารดาโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพียงเพื่อต้องการให้จำเลยสามารถนำที่ดินไปจำนองธนาคารได้นั้นเป็นการนำสืบเพื่อหักล้างข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เงินไม่มีมูลหนี้เท่านั้น หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหนังสือสัญญาให้ที่ดินฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่.
of 31