พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความคดีฉ้อโกง: ผลกระทบต่อการฟ้องร้องและการบังคับชำระหนี้
ผู้เสียหายมีหนังสือถึงจำเลยมีใจความว่าผู้เสียหายได้รับเงิน จำนวน 10,000 บาทจากจำเลยเป็นค่าชดใช้เงินที่ได้ฉ้อโกงไปจาก ผู้เสียหาย ซึ่งได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจแล้วผู้เสียหายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ดังกล่าว อีกต่อไปดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกัน โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา341 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ลงโทษจำเลย ในความผิดฐานนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลย ใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและ ใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และมาตรา 268นั้น ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ ย่อมไม่ระงับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและ ใช้เอกสารที่ตนปลอมนี้ด้วยกรณีเช่นนี้มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ลงโทษตาม มาตรา 268 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราต่อหน้าธารกำนัล ความผิดอันยอมความได้
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนอยู่กับบุตร 2 คน ไม่ปรากฏว่าบุตรของผู้เสียหายคนใดเห็นการกระทำของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดต่อหน้าธารกำนัล การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 281
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกคดีอาญาที่มีเงื่อนไขการชำระเงิน หากไม่ปฏิบัติตาม ผู้เสียหายมีสิทธิยกเลิกได้ ไม่ถือว่าเป็นการยอมความ
ผู้เสียหายตกลงเลิกคดีกับจำเลย โดยจำเลยจะนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่ชำระเงินให้ครบถ้วนตามที่ตกลง จึงมีผลว่าผู้เสียหายไม่ผูกพันที่จะต้องถอนคำร้องทุกข์ และผู้เสียหายมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงที่ได้ทำมาแล้วเสียได้ คดียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความในคดีอาญา: ผลผูกพันสิทธิฟ้อง และการระงับคดี
ผู้เสียหายยอมรับเงินสดและเช็คจากจำเลยเป็นการชำระหนี้แทนเช็คเดิมซึ่งผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แก่พนักงานสอบสวนไว้แล้ว และได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คด้วย แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีเกี่ยวกับเช็คเดิม ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยจึงเป็นการยอมความกันในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือประนีประนอมยอมความ ก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปและผูกพันพนักงานอัยการโจทก์ การที่ผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินตามเช็คใหม่ก็ไม่เป็นเงื่อนไขในการตกลงยอมความ เพราะผู้เสียหายชอบที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นคดีใหม่ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิรื้อฟื้นคดีเกี่ยวกับเช็คเดิมซึ่งยุติไปแล้วมาฟ้องจำเลยอีก เพราะสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สิน ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ และการยอมความทำให้สิทธิฟ้องระงับ
จำเลยเป็นสหกรณ์อำเภอท่าใหม่และเป็นเลขานุการคณะกรรมการร้านสหกรณ์ท่าใหม่ จำกัด มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเงินของร้านสหกรณ์ทุกประเภทในเขตอำเภอนั้น ๆ และมีหน้าที่บันทึกรายงานการประชุม ทำหนังสือโต้ตอบ ทำงบเดือน โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การที่จำเลยเก็บและรักษาเงินจากการจำหน่ายปุ๋ยให้แก่สมาชิกสหกรณ์แล้วเบียดบังเอาไว้ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สิน ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ และการระงับคดีด้วยการยอมความ
จำเลยเป็นสหกรณ์อำเภอท่าใหม่และเป็นเลขานุการคณะกรรมการร้านสหกรณ์ท่าใหม่ จำกัด มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเงินของร้านสหกรณ์ทุกประเภทในเขตอำเภอนั้น ๆและมีหน้าที่บันทึกรายงานการประชุม ทำหนังสือโต้ตอบ ทำงบเดือน โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การที่จำเลยเก็บและรักษาเงินจากการจำหน่ายปุ๋ยให้แก่สมาชิกสหกรณ์แล้วเบียดบังเอาไว้ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(2)โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(2)โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา: ผลกระทบต่อการฟ้องคดี และการพิจารณาความผิดหลายบท
ในคดีความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอม โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลย จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งหมด และจำเลยทั้งสี่กับผู้เสียหายได้ลงชื่อไว้ในท้ายรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ยอมความกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้ สิทธิในการฟ้องระงับ
ในคดีความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอม โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลย จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งหมด และจำเลยทั้งสี่กับผู้เสียหายได้ลงชื่อไว้ในท้ายรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ยอมความกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้ และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้ และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีบุกรุกและการระงับสิทธิฟ้องร้อง รวมถึงข้อจำกัดในการโต้แย้งข้อเท็จจริงในฎีกา
ปรากฏจากบันทึกว่า ผู้เสียหายได้กล่าวหาจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คนว่าบุกรุกที่ดินผู้เสียหาย ในที่สุดจำเลยที่ 1 กับพวกรับว่าได้บุกรุกและยอมออกไปจากที่ดินของผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 1 คนเดียวไม่ยอมออกไป คงครอบครองที่ดินนั้นตลอดมา ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ได้ยอมความกันโดยตกลงเลิกคดีกันแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) การที่จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขไม่ยอมออกไปจากที่ดินเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีบุกรุก และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
ปรากฏจากบันทึกข้อตกลงว่า ผู้เสียหายได้กล่าวหาจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คนว่าบุกรุกที่ดินผู้เสียหายในที่สุดจำเลยที่ 1 กับพวกรับว่าได้บุกรุกและยอมออกไปจากที่ดินของผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 1 คนเดียวไม่ยอมออกไป คงครอบครองที่ดินนั้นตลอดมา ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลย ที่ 1 ได้ยอมความกันโดยตกลงเลิกคดีกันแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) การที่จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขไม่ยอมออกไปจากที่ดินเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220