พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสหกรณ์เบียดบังเงิน ยุติว่าอยู่ในความครอบครอง จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ผู้จัดการสหกรณ์มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการยักยอกทรัพย์: พฤติการณ์บ่งชี้ความบริสุทธิ์ใจของผู้รับจ้าง
โจทก์ร่วมมอบนากแท่งให้จำเลยไปทำนากรูปพรรณ จำเลยนำไปจ้างร้าน ศ. รีดให้เป็นเส้นเล็ก เมื่อจำเลยให้ลูกจ้างไปรับปรากฏว่าเป็นเส้นทองแดงจำเลยนำไปให้โจทก์ร่วมดู และต่อว่าโจทก์ร่วมในวันนั้น ทั้งได้ไปแจ้งความตามคำแนะนำของโจทก์ร่วม ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกยอมใช้เงินแก่โจทก์ร่วมดังนี้พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตที่จะยักยอกนากของโจทก์ร่วม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อทายาทและการยักยอกทรัพย์: การพิสูจน์ความเสียหายและอายุความ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อใน สภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อบุตรโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่ง เมื่อจำเลยได้ยักยอกทรัพย์นั้นไปจากโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มอบรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยซ่อมเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ จำเลยไม่ได้แจ้งราคาซ่อมให้โจทก์ทราบ โจทก์น่าจะทราบได้ในขณะนั้นหรือช่วงเวลานั้นแล้วว่าจำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันพิพาทเป็นของตนเอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินระยะเวลา 3 เดือน พ้นกำหนดอายุความเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มอบรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยซ่อมเป็นเวลานานถึง 8 เดือนเศษ จำเลยไม่ได้แจ้งราคาซ่อมให้โจทก์ทราบ โจทก์น่าจะทราบได้ในขณะนั้นหรือช่วงเวลานั้นแล้วว่าจำเลยเบียดบังเอารถยนต์คันพิพาทเป็นของตนเอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินระยะเวลา 3 เดือน พ้นกำหนดอายุความเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อผิดสัญญา ไม่ถึงขั้นยักยอกทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเช่าซื้อรถไปจากผู้เสียหาย ต่อมาจำเลยผิดสัญญา ผู้เสียหายจึงบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยส่งรถคืน แต่จำเลยกลับเบียดบังยักยอกรถดังกล่าวเป็นของจำเลยโดยไม่ส่งคืน แก่ผู้เสียหายและพารถหลบหนีไปเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นการเบียดบัง รถของผู้เสียหายเป็นของจำเลยโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก หากแต่เป็นเพียงการกระทำที่แสดงถึงการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และทุจริตหน้าที่ กรณีอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินบัญชี และอำนาจการมอบอำนาจร้องทุกข์
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และหน้าที่ของธนาคาร, อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม, หนังสือมอบอำนาจ
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์และการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ การลงโทษสถานเบาและการบรรเทาผลร้าย
จำเลยยักยอกเงินผู้เสียหาย แม้ภายหลังจะมอบเงินคืนแก่ผู้เสียหายแล้วก็ตาม แต่บันทึกการรับเงินไม่มีข้อความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีและต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในคดีหนึ่งไปแล้ว จึงไม่สมควรรอการลงโทษแก่จำเลย แต่การที่จำเลยได้ใช้เงินที่ยักยอกคืนแก่ผู้เสียหายแล้ว เป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด สมควรลงโทษจำเลยสถานเบา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดียักยอกทรัพย์: สถานที่ส่งมอบทรัพย์สินเป็นเกณฑ์
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: การพิจารณาความต่างกรรมต่างวาระของการยักยอกทรัพย์และการปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง และความรับผิดของผู้ค้ำประกันจากการยักยอกทรัพย์
โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่1ฐานยักยอกเงินของโจทก์ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1และให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาได้อยู่แล้วตามป.วิ.อ.มาตรา249,253หากรื้อฟื้นคดีส่วนแพ่งนั้นมาฟ้องใหม่โดยเรียกค่าดอกเบี้ยเพิ่มเติมย่อมเป็นฟ้องซ้ำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดใช้หนี้ที่ทุจริตในการทำงานโดยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปจำเลยที่2ที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดในการทำงานของจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดชดใช้แทนจำเลยที่1ตามสัญญาค้ำประกันรวมทั้งดอกเบี้ยด้วย.