พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524-2525/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาทำงานปกติและการจ่ายค่าอาหาร: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการทำงานในช่วงเวลาปกติไม่อาจเรียกร้องค่าอาหารตามระเบียบเดิมได้
เดิมจำเลยมีคำสั่งที่ 3507/2523 กำหนดให้พนักงานจ่ายงานจ่ายตั๋ว จ่ายเบี้ยเลี้ยง ปฏิบัติงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติในช่วงเวลาตั้งแต่ 4.00-8.00 นาฬิกา และไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงอื่นใด ให้ได้รับค่าอาหารวันละ 20 บาทต่อมาจำเลยมีคำสั่งที่ 540/2525 กำหนดเวลาการทำงานตามปกติของพนักงานจ่ายงานในเขตการเดินรถที่ 6 เป็นสองผลัดผลัดที่ 1 ทำงานระหว่าง 4.00-12.30 นาฬิกา ผลัดที่ 2 ทำงานระหว่าง 11.00-19.30 นาฬิกา ซึ่งนายจ้างมีอำนาจที่จะกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมแก่ลักษณะงานในหน้าที่ของลูกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3 และข้อ 68 อันถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ย้ายมาเป็นพนักงานจ่ายงานประจำเขตการเดินรถที่ 6 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของคำสั่งดังกล่าว ส่วนคำสั่งที่ 3507/2523 มิใช่เป็นเรื่องกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานแต่อย่างใดคำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับคำสั่งที่ 3507/2523 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าคำสั่งที่ 540/2525 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์หรือไม่ โจทก์มีเวลาทำงานในช่วงเวลา 4.00-8.00 นาฬิกา แต่มิใช่เป็นการทำงานนอกเหนือชั่วโมงทำงานปกติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนหรือค่าอาหารตามคำสั่งที่ 3507/2523
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การให้พนักงานทำงานเป็นผลัดไม่มีหลักฐาน ว่ามีชื่อและลายมือชื่อผู้ปฏิบัติงาน จึงฟังไม่ได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การให้พนักงานทำงานเป็นผลัดไม่มีหลักฐาน ว่ามีชื่อและลายมือชื่อผู้ปฏิบัติงาน จึงฟังไม่ได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากพฤติการณ์ไม่ถึงขั้นร้ายแรง การเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์มิได้ซ่อมแมคปั๊มตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและกลับบ้านไปเพราะโจทก์เชื่อว่ามอเตอร์เสีย มิใช่แผงอีเล็กทรอนิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์เสีย และเวลาที่กลับก็ล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติแล้ว รุ่งขึ้นเมื่อโจทก์ทราบว่าแมคปั๊มไม่ทำงานเพราะแผงอีเล็กทรอนิกเสียก็จัดการเปลี่ยนแผงใหม่จนแมคปั๊มทำงานเป็นปกติ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ในคำสั่งเลิกจ้างว่า โจทก์กระทำความผิดฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอย่างร้ายแรง และตามระเบียบของจำเลยเพียงแต่ระบุว่า การละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าการกระทำผิดที่เคยถูกตักเตือนมาแล้วเป็นความผิดร้ายแรงไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือหรือไม่ เพราะเป็นเพียงข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาเพื่อเข้าร่วมสัมมนาของสมาชิกสหภาพแรงงาน นายจ้างต้องพิจารณาเหตุผลสมควร แม้จะไม่ได้ลาตามระเบียบ
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าผู้ร้องอนุญาตให้สมาชิกสหภาพแรงงานไปประชุมหรือสัมมนาได้ เพียงแต่ต้องขอลาต่อผู้ร้องล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มลางานในวันที่ 29 สิงหาคม 2526 เพื่อไปร่วมสัมมนา คำว่าล่วงหน้าย่อมแปลได้ว่าล่วงหน้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2526 มิใช่แจ้งในวันดังกล่าวอันเป็นวันเริ่มลางาน ที่ผู้ร้องไม่อนุญาตให้ลาและถือว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่เป็นการชอบแล้ว
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน
การที่ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ไปร่วมสัมมนานั้น เมื่อมีหนังสือกรมแรงงานชี้แจงผู้ร้องว่าการสัมมนาอาจเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างประกอบทั้งสหภาพแรงงานได้คัดเลือกผู้คัดค้านให้เป็นผู้เข้าสัมมนา นับเป็นเหตุสมควรที่ผู้คัดค้านจะหาทางเข้าร่วมสัมมนา ถือไม่ได้ว่าการละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านทำไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพียงแต่ผู้คัดค้านมิได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบการลาเท่านั้น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นต้องมีใบหุ้นที่ส่งมอบได้จริง การไม่ปฏิบัติตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้
ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 35 ผู้ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์จำต้องยินยอมผูกพันตนเองตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้สั่งซื้อหุ้นมิได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องใช้ข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
ระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีว่า การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะต้องส่งมอบใบหุ้นและชำระราคากันภายใน 4 วันของวันทำการเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นจำเลยเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว ไม่ว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยโอนใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์ภายใน 4 วันของวันทำการได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบใบหุ้นที่สั่งซื้อให้แก่โจทก์โดยไม่มีการผ่อนผันหรือตกลงยินยอมเป็นอย่างอื่น เมื่อผู้ขายหุ้นไม่ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลยภายใน 4 วัน จำเลยก็มิได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เป็นหนังสือเพื่อให้ ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ 31 จึงเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์จำเลยจะผูกพันกันในฐานะตัวการตัวแทนก็ดีหากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวซึ่งใช้บังคับระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ถือได้ว่าตัวแทนประพฤติผิดสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมบอกเลิกสัญญาได้
การซื้อขายหุ้นที่จะถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น จะต้องเป็นการซื้อขายหุ้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้กำหนดกันไว้แล้วว่าเป็นหุ้นจำนวนเท่าใด และมีหมายเลขหุ้นที่เท่าใด นอกจากนี้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และวิธีการรับมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ข้อ 5และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 33 วรรคสามยังบังคับว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีใบหุ้นหรือใบตอบรับการโอนหุ้นที่นายทะเบียนเป็นผู้ออกให้อยู่ที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ขายพร้อมที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ทุกเมื่อ ปรากฏว่าขณะที่จำเลยตกลงซื้อหุ้นรายพิพาทจากผู้ขายยังไม่มีใบหุ้นตามจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันอยู่ที่ผู้ขาย หรือมิได้มีบุคคลใดมอบหมายให้ขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อการซื้อขายยังไม่มีใบหุ้นจึงเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยข้อ 33 วรรค 1 และ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นเพราะจำเลยประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนี้อันเกิดจากโจทก์สั่งซื้อหุ้นพิพาทจึงไม่มีจำเลยจึงต้องคืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันการสั่งซื้อหุ้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดงานเนื่องจากน้ำท่วมไม่ถือเป็นเหตุสมควรหรือไม่ฉุกเฉิน แม้ขอลาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้านไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าวแล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี: ระเบียบลูกจ้างที่ลาป่วยเกิน 36 วัน ไม่ตัดสิทธิพักผ่อนตามกฎหมาย
การที่ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งไม่มีวันลาเกิน36 วัน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันนั้น ใช้บังคับเฉพาะพนักงานที่มิได้ลาเกินกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ถึง 10 วันเท่านั้น หามีผลเป็นการตัดสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาเกินกำหนดซึ่งมีอยู่ 6 วันทำงานตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีเด็กและเยาวชน: การเข้าพบผู้ถูกควบคุมตัวต้องเป็นไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายยื่นคำร้องต่อหัวหน้ากองแรกรับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเพื่อเข้าพบเยาวชนซึ่งถูกควบคุมตัว ณ กองแรกรับ หัวหน้ากองแรกรับจะอนุญาตหรือไม่เป็นเรื่องธุรการซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองแรกรับ หากผู้ร้องไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ก็ชอบที่จะร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงขึ้นไป หามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งหัวหน้ากองแรกรับอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าพบลูกความตามที่ต้องการไม่ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเยาวชนนั้นถูกฟ้องต่อศาลแล้ว
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จของลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่เข้าข่ายพนักงานประจำตามระเบียบ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลยวันที่ 2 กรกฎาคม 2488 และได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2500 ก่อนได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำโจทก์ถูกเรียกกลับเข้าปฏิบัติงานใหม่สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 5 ของปี พ.ศ. 2498 จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2498 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2499 จำเลยก็เรียกโจทก์มาปฏิบัติงานใหม่อีก ลักษณะงานของโจทก์เป็นการจ้างเฉพาะเวลาที่จำเลยมีงานให้ทำ หมดงานก็ให้โจทก์พักและเมื่อมีงานใหม่จำเลยจะเรียกโจทก์เข้ามาทำงานอีก งานของโจทก์ก่อนวันที่ 5 มีนาคม 2500 จึงมีลักษณะเป็นการชั่วคราวโจทก์จึงเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่ลูกจ้างประจำของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของประธานกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการยักยอกเงิน เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการรับเงิน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินของสุขาภิบาลกำหนดให้ต้องมีกรรมการควบคุมการไปรับเงินธนาคาร หากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลตั้งกรรมการไปรับเงินร่วมกับจำเลยที่ 1 กรรมการ ก็อาจควบคุมดูแลมิให้จำเลยที่ 1 ปลอมใบขอถอนเงินและรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวจึงเป็น เหตุโดยตรงที่ทำให้สุขาภิบาลโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์