คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการจ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดข้อนี้ไว้เป็นประเด็นและจำเลยก็มิได้คัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มค่าจ้างขัดมติคณะรัฐมนตรี: สัญญาไม่ผูกพัน, เหตุผลความชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเป็นหนังสือมีความหมายว่า จำเลยตกลงเพิ่มค่าจ้างเงินเดือนให้พนักงานคนละ 2 ขั้นผู้แทนของจำเลยจะนำข้อตกลงเสนอต่อคณะกรรมการของจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่า ข้อตกลงมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะปฏิบัติตามเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงมิใช่การแปลความหมายของข้อความในหนังสือข้อตกลง แต่เป็นการอ้างว่ายังมีข้อความอื่นเพิ่มเติมข้อความในหนังสือนั้นอยู่อีก ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติห้ามไม่ให้รัฐวิสาหกิจใดปรับปรุงอัตราค่าจ้าง เงินเดือนเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันปรับปรุงอัตราค่าจ้างและเงินเดือน โดยไม่ได้กำหนดให้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนมติของคณะรัฐมนตรี ไม่มีผลบังคับ และแม้ความตกลงดังกล่าวได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ก็ไม่เป็นเหตุให้กลับกลายเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และอายุความในการฟ้องเรียกค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ตาม พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น แสดงว่ากิจการ ที่องค์การดังกล่าวดำเนินการหาใช่งานเกษตรไม่ และการประกอบ ธุรกิจขององค์การก็เป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไร ในทางเศรษฐกิจ และองค์การนี้ก็ไม่ใช่ส่วนราชการที่เป็นกรมหรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย จึงไม่ได้รับยกเว้นมิให้นำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ
การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือเกษียณอายุ ไม่เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เมื่อพนักงานต้องพ้นจากตำแหน่งไปเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างหรือให้ออกจากงานซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เงินกองทุนบำเหน็จตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นเป็นเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อาจถือว่าเป็นค่าชดเชยได้
การฟ้องเรียกค่าชดเชยไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัส-บำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างรับโอนจากรัฐวิสาหกิจ vs. ลูกจ้างใหม่ตามสัญญาเช่า
เงินโบนัสและเงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เช่นค่าชดเชยดังนั้น นายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจ่ายจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็ต้องแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด หรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ โจทก์บางคนที่จำเลยรับเข้าทำงานเองมิได้มีความผูกพันอยู่กับสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งและประกาศให้ทราบแล้วว่า ให้แยกจ่ายเงินค่าครองชีพต่างหากจากเงินเดือนและค่าจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้ยอมรับเอาเงินโบนัสและเงินบำเหน็จไปแล้ว มิได้มีการโต้แย้งหรือเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเป็นประการอื่น จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินโบนัสหรือเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้
ส่วนโจทก์บางคนที่จำเลยรับโอนจากโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่านั้น จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า โดยที่ขณะสัญญาเช่ายังมีผลบังคับกระทรวงการคลังได้สั่งให้รัฐวิสาหกิจที่จ่ายเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพ หรือเงินที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นำเงินดังกล่าวไปบวกรวมเข้ากับเงินเดือนค่าจ้าง และนำยอดรวมไปปรับเข้าขั้นเงินเดือนค่าจ้าง ตามบัญชีอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ที่รัฐวิสาหกิจใช้อยู่ ซึ่งเห็นว่าตามวิธีการที่กำหนดนี้ย่อมเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจดีขึ้นในการคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จ ฉะนั้น จึงอยู่ในข้อบังคับของสัญญาเช่าอันเป็นผลให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งทางราชการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้โจทก์ที่จำเลยรับโอนมาจึงมีสิทธิจะให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าครองชีพที่จ่ายให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจถือเป็นค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนไม่แตกต่างไปจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ระเบียบเงินบำเหน็จกับพนักงานรัฐวิสาหกิจ: ระเบียบเฉพาะสำหรับรัฐวิสาหกิจเท่านั้น
การที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว พ.ศ.2498 มาตรา18 กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จและรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้นหมายถึงระเบียบที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดให้ใช้กับองค์การแก้ว จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่อาจนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับกับพนักงานของจำเลยได้เพราะระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับลูกจ้างของส่วนราชการและข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานจำเลยก็มิได้กำหนดให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่พนักงานของจำเลย ดังนั้น จะนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญ พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาบังคับใช้ในกรณีที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ: ระเบียบเฉพาะสำหรับรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่ใช้บังคับได้
การที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว พ.ศ.2498 มาตรา18กำหนดให้พนักงานได้รับบำเหน็จและรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดนั้นหมายถึงระเบียบที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดให้ใช้กับองค์การแก้ว จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่อาจนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขโดย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับกับพนักงานของจำเลยได้เพราะระเบียบดังกล่าวใช้บังคับกับลูกจ้างของส่วนราชการและข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานจำเลยก็มิได้กำหนดให้ใช้ระเบียบดังกล่าวแก่พนักงานของจำเลย ดังนั้น จะนำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญ พ.ศ.2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ของกระทรวงการคลังมาบังคับใช้ในกรณีที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจและขอบเขตบังคับใช้กฎหมายแรงงาน: องค์การฟอกหนังไม่ใช่ราชการและอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ.2498 มิได้มีมาตราใดให้องค์การฟอกหนังจำเลย เป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงกลาโหมโดยตรง จึงมิใช่ราชการส่วนกลางตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
องค์การฟอกหนังจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการอุตสาหกรรมและประกอบธุรกิจการค้าเพื่อมุ่งหวังกำไรเป็นรายได้แก่รัฐเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย จึงไม่เป็นกิจการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงเป็นนายจ้างลูกจ้างและอยู่ใต้บังคับของกฎหมายแรงงาน
อุทธรณ์ของจำเลยข้อ 3 ที่ขอถือเอาคำให้การเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์นั้น ไม่เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล: แม้ได้รับสวัสดิการจากรัฐวิสาหกิจ ยังมีสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิด
จำเลยขับรถประมาทชนรถโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายแม้โจทก์เป็นพนักงานขององค์การ ท. มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากองค์การ และได้เบิกไปตามสิทธิแล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาจาก จำเลยได้เพราะสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากองค์การ ท. เป็นสิทธิซึ่งรัฐวิสาหกิจนั้นจะพึงให้สวัสดิการแก่พนักงาน ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่มีต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าล่วงเวลาล่าช้าของรัฐวิสาหกิจ แม้มีเหตุผล แต่ยังต้องรับผิดดอกเบี้ย
เหตุที่จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ล่าช้าเป็นเพราะระเบียบการจ่ายเงินเป็นการภายในซึ่งจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ไว้เอง จึงยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยมิต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์หลังจากที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์เกิน 30 วันนับแต่โจทก์ทำงานล่วงเวลาเสร็จสิ้นลงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาจากโจทก์ จำเลยก็ได้พยายามดำเนินการโดยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือจงใจทำให้ล่าช้า จึงถือไม่ได้ว่าจำเลย จงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรอันเป็นผลให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศดังกล่าว ข้อ 31 วรรคสอง
of 18