พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4100/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายที่ดินต่ำกว่าราคาตลาด และการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินมาปรับปรุงแล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยขาย เป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร การที่โจทก์โอนขายที่ดินให้แก่ศ.และส. ไปในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน แม้บุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้มีบุญคุณต่อโจทก์ตามที่กล่าวอ้างก็ย่อมเป็นเหตุอันไม่สมควรในทางการค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินราคาที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่ ศ.และส.ตามราคาตลาดในวันที่มีการโอนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) โจทก์มีเงินได้จากการค้าที่ดิน จัดอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ซึ่งประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาอันได้แก่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 155 พ.ศ. 2515 ข้อ 10 ที่กำหนดว่าเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตามหนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0802/6625 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ได้วางแนวทางให้ถือปฏิบัติในการหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรไว้ดังนี้ 1. ผู้มีเงินได้จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 หากผู้มีเงินได้ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้หักค่าใช้ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาหักค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนที่ดินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาตามสภาพความเป็นจริงเป็นราย ๆ ไปแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาขาย เมื่อโจทก์มีเพียงหลักฐานทางบัญชี แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชีมาแสดง การที่เจ้าพนักงานประเมินฟังว่า เป็นกรณีโจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้และพิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาขายจึงเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงนำเข้า: การเปรียบเทียบราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่า
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมายศุลกากร ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ไม่ใช่ราคาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด"(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป การคิดราคาแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะซื้อขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมเหตุสมผล
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อนแม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปีทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่าน ทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายมรดกในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และความสัมพันธ์ของผู้ขายกับผู้ซื้อ อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉล
ราคาที่ดินและบ้านพิพาทรวมกันประมาณ 70,000-100,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 ในราคา 15,000 บาท จึงเป็นราคาที่ต่ำไม่เหมาะสมนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ขอจำเลยที่ 2 มาเลี้ยงดูอย่างลูกและอยู่บ้านเดียวกัน ทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่มีโอกาสรู้เห็นการขายที่ดินและบ้านพิพาท มีวี่แววให้น่าสงสัยถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์ทั้งสองและทายาทโดยธรรมเสียเปรียบ ศาลเพิกถอนเสียได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทกันในราคา 60,000 บาท แต่จดทะเบียนเพียง 15,000 บาท นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จึงไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งใจจัดการทำศพทายาทผู้ตายก็ไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการศพจำเลยกระทำตามอำเภอใจ ใช้จ่ายค่าจัดการศพผู้ตายไปเองค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เจ้ามรดกต้องชดใช้ให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะหักหนี้ค่าจัดการศพผู้ตายไว้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนและค่าเสียหายจากประกาศคณะปฏิวัติ พิจารณาจากราคาตลาดจริงและสภาพทรัพย์สิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ประกอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ที่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาของที่ดินแต่ละแปลงที่อ้างซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริง แต่ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจด-ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเพียงราคาปานกลางของที่ดินในแต่ละเขตท้องที่ ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงในท้องที่เดียวกันและตามบัญชีดังกล่าวกำหนดไว้เป็นราคาเดียวกัน อาจมีราคาแตกต่างกันตามสภาพของที่ดินแต่ละแปลง และสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนปรากฏว่าเป็นที่ดินที่อยู่ห่างจากถนนสายธนบุรี - ปากท่อ เพียงประมาณ 15 เมตรเป็นที่ดินที่ใช้สร้างโรงภาพยนตร์ มีทางเข้าออกเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลานจอดรถและอาคารพาณิชย์โดยรอบ เชื่อได้ว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงสูงกว่าราคาตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาดจริง โดยพิจารณาจากราคา CIF และความผันผวนของราคาน้ำมัน
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่อง การตรวจสอบและ ประเมินราคาสินค้าและคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า เป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดย การเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น คำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ ดุลพินิจพิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควร แก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงต้อง ให้ผู้อำนายการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือเอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้า เป็นราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้ สินค้าเคมีภัณฑ์ ที่โจทก์นำเข้าคือ เมทิ่วเอททิ่วคีโตน(methylethylketone) และ บิวทิ่วอะครีเลทโมโนเมอร์ (butylacrylatemonomer) อันเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมันราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้น ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากันเป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาด และอายุความฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ให้กำหนดค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พ.ร.ฎ. ใช้บังคับและการเรียกค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์มีหน้าที่จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 54330 เมื่อวันที่ 21มีนาคม 2528 ส่วนที่ดินอีก 4 แปลง ได้รับค่าทดแทนปี 2527โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2529 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 54330 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินอีก 4 แปลงที่เหลือ ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน จึงขาดอายุความตามข้อ 67.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่ได้รับอิทธิพลจากโครงการเวนคืน
โจทก์ซื้อที่พิพาทภายหลังจากที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางใหญ่ฯ มีผลใช้บังคับถึง 7 เดือนเศษ ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับที่พิพาทจะมีราคาซื้อขายในท้องตลาดอย่างไรโจทก์หาได้นำสืบไม่ และที่โจทก์ซื้อที่พิพาทก็เพราะคาดว่าที่ดินที่เหลือจากถูกเวนคืนจะมีราคาสูงขึ้นคุ้มกับที่ลงทุนซื้อ ราคาที่โจทก์ซื้อจึงไม่ใช่ราคาของที่พิพาทที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องถือตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม.