คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้การค้าประเวณี: โจทก์ต้องพิสูจน์ปัจจัยอื่นเพื่อดำรงชีพของผู้ถูกกล่าวหา
การที่จะถือว่าผู้ใดดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงในการค้าประเวณีจะต้องได้ความว่าผู้นั้นไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพเมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงความข้อนี้ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องรับผิดเสียภาษี หากไม่ได้มีส่วนในการประกอบกิจการที่ทำให้เกิดรายได้ในไทย
ลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อที่เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ นั้น จะต้องเป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ซึ่งเป็นเหตุให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นเจ้าสำนักดูแลสถานค้าประเวณีและดำรงชีพจากรายได้หญิงโสเภณี การพิสูจน์เจตนาและพฤติการณ์
จำเลยยืนอยู่หน้าตึกแถวที่มีประตูเหล็กยึดปิดกั้นพร้อมด้วยกุญแจที่ไขประตูเหล็กผ่านเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุ ซึ่งขณะเกิดเหตุมีหญิงหลายคนถูกกักขังในบ้านเพื่อร่วมประเวณีกับชาย จำเลยไม่ได้นำสืบว่ามีรายได้พอดำรงชีพ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแข่งขันขนส่งสาธารณะละเมิดสิทธิผู้ประกอบการประจำทาง, การกำหนดค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้
จำเลยได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์จำเลยเดินรถยนต์รับส่งคนโดยสารทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับการอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา14เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์นำสืบค่าเสียหายแน่นอนไม่ได้ศาลกำหนดให้ตามที่โจทก์ได้รับจากผู้ที่นำรถมาร่วมรับส่งคนโดยสารกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม: การใช้รายรับจากผู้เช่าเพื่อคำนวณรายได้ที่แท้จริงของผู้ประกอบการ
บริษัทโจทก์เริ่มดำเนินกิจการโรงแรม ส. มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2511 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2514 แล้วให้บริษัท ร. เช่าดำเนินกิจการโรงแรมต่อมา ปรากฏว่าบริษัทยื่นรายการเสียภาษีการค้าไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในเดือนพฤษภาคม 2514 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่บริษัทโจทก์ดำเนินกิจการโรงแรม ส. ได้ยื่นรายการเสียภาษีไว้ 20,295 บาท แต่ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2515 รวม 6 เดือน บริษัท ร. ดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวมีรายรับเดือนละ 60,945 บาท ถึง 73,320 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 7 เดือน แต่มีรายรับเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว ดังนี้ จึงเห็นได้ว่ามีเหตุที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจะใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเอาแก่บริษัทโจทก์ และใช้อำนาจตามมาตรา 87 ทวิ (7) กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์เสียไม่ได้
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าใด จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุมยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มาเป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากการส่งสินค้าออกต่างประเทศ ให้ใช้ราคาตลาดในประเทศเท่านั้น ไม่รวมค่าระวางและค่าประกันภัย
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี วรรคแรก บัญญัติให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากรบัญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัท โจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์ จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าด้วยไม่ได้
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1 (ก) (ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอกราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริษัทหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้และภาษีจากการส่งสินค้าออกต่างประเทศ ให้ใช้ราคาตลาดในประเทศ ไม่รวมค่าระวางและประกันภัย
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี วรรคแรก บัญญัติให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตาม ราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคา สินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากร บัญญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบอกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าด้วยไม่ได้
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1(ก)(ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอก ราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าว เป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคา ตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มี ราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริการหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่าย ในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 หากมีรายได้อื่นเพียงพอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยดำรงชีพอยู่ด้วยผลจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี โดยไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ และไม่มีปัจจัยเพียงพอสำหรับดำรงชีพ ได้บังอาจรับเงินโดยหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีรายได้จากการรับจ้างซ่อมวิทยุและโทรทัศน์และจากค่าเช่าบ้าน ไม่ปรากฏว่ารายได้ดังกล่าวไม่เพียงพอสำหรับดำรงชีพ ถึงจำเลยจะได้รับเงินส่วนแบ่งจากหญิงซึ่งค้าประเวณีก็ตาม ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเดินรถทับเส้นทางสัมปทาน: ค่าเสียหายรายวันตามรายได้ที่ตกต่ำ
เดินรถยนต์รับส่งคนโดยสารทับเส้นทางสัมปทาน เป็นละเมิดต้องใช้ค่าเสียหายทุกวันตามจำนวนที่รายได้ของฝ่ายที่เสียหายตกต่ำลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการรับเหมาช่วงและการจ่ายเงินแทนผู้เช่า: กำหนดระยะเวลาประเมินภาษี
บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทำสัญญารับปรับปรุงที่ดินปลูกสร้างอาคารเรียกเก็บเงินจากผู้เช่า โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดิน 30,100,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเงินที่เก็บจากผู้เช่าบางส่วน แล้วโจทก์ให้ผู้เช่าชำระเงินจำนวนนี้แก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดินเอง เท่ากับโจทก์รับเงินจากผู้เช่าไปจ่ายนั่นเอง โจทก์จึงมีรายรับ 30,100,000 บาท ซึ่งต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการค้าว่าไม่มีรายรับ จำเลยประเมินเรียกเก็บได้ในกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 88ทวิ(2) ไม่ใช่ 5 ปี ตาม มาตรา 88 ทวิ(1)
of 15