คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิใช้ทาง การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางพิพาทที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์เพียงแต่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนเสาไม้แก่นและต้นมะพร้าวที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกและปักเอาไว้ทั้งหมดออกไปให้พ้นจากช่องทางเข้าออกบ้านโจทก์และทำที่ดินตรงนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิใช้ทางร่วม และการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทาง แม้ไม่มีการบรรยายฟ้องเรื่องภารจำยอม
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์เพียงแต่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนเสาไม้แก่นและต้นมะพร้าวที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกและปักเอาไว้ทั้งหมดออกไปให้พ้นจากช่องทางเข้าออกบ้านโจทก์และทำที่ดินตรงนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยคดีจึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิทางเดินและการละเมิดสิทธิในที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางทางเดินที่รอนสิทธิของผู้อื่น
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและคำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์เพียงแต่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนเสาไม้แก่นและต้นมะพร้าวที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกและปักเอาไว้ทั้งหมดออกไปให้พ้นจากช่องทางเข้าออกบ้านโจทก์และทำที่ดินตรงนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยคดีจึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีคุ้มครองชั่วคราว การละเมิด และการรื้อถอนทางกีดขวางทางเข้าออก
วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) โจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตวรรคหนึ่ง (1) (2) และโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลยทั้งสี่ตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 ้รรคสาม (ก) อีกด้วย แม้ตามคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันก่อสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกสู่ถนนหลวงจนแล้วเสร็จไปก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดอ้างว่า จำเลยก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียว ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอน ดังนี้ ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียว การก่อสร้างทางเดินเท้าตามฟ้องย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติ ส่วนปัญหาว่าที่ดินของโจทก์จะต้องด้วยข้อกำหนดเงื่อนไขให้เปิดทางได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณากรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ.2525, พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 หมวด 4 ข้อ30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 เช่น อาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง หาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้รื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2528และ พ.ศ. 2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารเกินกว่าการซ่อมแซม ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงาม จำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องรื้อถอน
จำเลยได้ต่อเติมอาคารพิพาทจากหลังคามุงกระเบื้องเป็นดาดฟ้าคอนกรีตทำเป็นชั้นที่ 4 และต่อเติมจากชั้นดาดฟ้าโดยทำหลังคาเป็นชั้นที่ 5 ถือเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการซ่อมแซมเพื่อความเป็นระเบียบสวยงามจำเลยจึงต้องรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดแบบแปลนและคำสั่งรื้อถอน การใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำการติดตั้งบันใดเลื่อนจากชั้นใต้ดินไปชั้นที่ 1 และใช้บริเวณชั้นใต้ดินเพื่อการอื่นโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบแปลนโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โดยโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยใช้บริเวณชั้นใต้ดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่าบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างนั้นต้องทำเป็นลานจอดรถแต่จำเลยได้ใช้ลานจอดรถดังกล่าวเพื่อการอื่น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณชั้นใต้ดินดังกล่าวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการส่งคืนที่ดินเช่าและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด แม้มีการซื้อขาย/ยึดทรัพย์
จำเลยปลูกบ้านพิพาทในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ แม้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าจำเลยขายบ้านพิพาทให้ ส. โดยมีข้อตกลงให้ ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินตามฟ้องได้
of 40