คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดเบี้ยปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อ: การกำหนดค่าสินไหมทดแทนล่วงหน้าและการลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
คำว่า 'เบี้ยปรับ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา383 หมายถึงค่าสินไหมทดแทนที่คู่สัญญาได้ตกลงกำหนดกันไว้ล่วงหน้าการที่โจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันไว้ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อถึงวิธีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงถือได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดก และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ. ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญาด.ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ได้. แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ. ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่พ.ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกันที่ ด. ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขตโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ. ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาลาศึกษา: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วนเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ขาดราชการ
สัญญาว่า ถ้าผู้ที่ลาไปศึกษากลับมารับราชการไม่ครบตามเวลาที่ตกลงกันไว้ ต้องใช้เงิน 3 เท่าของเงินที่ได้รับไปข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, การลดเบี้ยปรับ, และการฟ้องคดีที่มิเคลือบคลุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอะไร เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไรมิใช้ข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรวมทั้งอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาซื้อขายค่าความยินยอมและกิจการซักรีด ไม่ใช่ตราสารหรือเอกสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์จำเลยมีข้อสัญญากันว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยยินยอมเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งกับชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิเลิกสัญญา จำเลยนอกจากจะต้องใช้ค่างวดที่ค้างชำระ และค่าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งแล้ว จำเลยจะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามข้อกำหนดในสัญญาด้วย แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนนี้กำหนดไว้สูงไป ก็ชอบที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดเบี้ยปรับสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างลาศึกษาต่อแล้วไม่กลับเข้าทำงาน ศาลพิจารณาเหตุผลและทางได้เสียของคู่สัญญา
ลานายจ้างไปศึกษาต่างประเทศโดยรับเงินเดือนระหว่างลามีสัญญาว่าถ้าไม่กลับมาทำงานตามเดิมจะคืนเงินและปรับอีก 1 เท่าของเงินเดือนระหว่างลา ศาลลดเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาประกันตัว: ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามสมควร หากจำนวนสูงเกินไปเมื่อเทียบกับความร้ายแรงของข้อหา
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันซึ่งผู้ประกันจะต้องชำระเมื่อมีการผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ที่ขอประกันให้ตามกำหนดมิได้นั้น เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดเบี้ยปรับได้ และการคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า/ประกัน
หนังสือสัญญาเช่าระบุให้เช่าเสียค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าจนเต็มจำนวนของกำหนดเวลา หรือเป็นค่าเสียหายของผู้ให้เช่าในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดนั้น เป็นการกำหนดเบี้ยปรับให้ผู้เช่าชำระให้แก่ผู้ให้เช่า ซึ่งหากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้า 300,000 บาท เงินประกันค่าเสียหาย 75,000 บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไป 28,700 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหาย 403,700 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ถือว่าค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ด้วย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดเรื่องค่าเสียหายเป็นประเด็นนั้น จึงหมายถึงค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันค่าเสียหายส่วนที่เหลือจากหักค่าเสียหายให้จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้จะฟังว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา แต่โจทก์มีสิทธิ์บอกเลิกการเช่าได้ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยในกรณีที่โจทก์บอกเลิกการเช่าก่อนสัญญาครบกำหนดไว้ด้วย ศาลก็จำต้องวินิจฉัยถึงเบี้ยปรับว่าจำเลยควรได้เบี้ยปรับหรือค่าเสียหายเท่าใด หากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายที่จำเลยควรได้รับน้อยกว่าค่าเช่าล่วงหน้า และเงินประกันค่าเสียหายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ จำเลยก็จะต้องคืนเงินส่วนที่เกินจากเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลจะยกฟ้องโจทก์เสียเลยทีเดียวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายกำหนดส่งมอบ, การบอกสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับ, และการลดเบี้ยปรับตามสมควร
สัญญาซื้อขายซึ่งมีข้อความว่า ผู้ขายต้องส่งมอบน้ำตาลทรายแก่ผู้ซื้อภายใน 15 วัน หลังจากโรงงานของผู้ขายเปิดดำเนินการหีบอ้อยประจำปี และทั้งนี้ไม่ช้ากว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2507 นั้นมีความหมายว่าผู้ขายต้องส่งมอบน้ำตาลทรายแก่ผู้ซื้อให้ครบถ้วนภายใน 15 วันนับแต่วันที่โรงงานของผู้ขายเปิดดำเนินการหีบอ้อยประจำปีหากเปิดดำเนินการล่าช้า แม้นับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 จะมีเวลาดำเนินการไม่ครบ 15 วันผู้ขายก็จะต้องส่งมอบภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2507
เบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้นศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้
คำฟ้องของโจทก์ซึ่งบรรยายว่า จำเลยส่งมอบน้ำตาลทราย 200 กระสอบแก่โจทก์เกินกำหนดระยะเวลาตามสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดใช้เบี้ยปรับโจทก์และทนายโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแล้วทั้งโจทก์ยังได้ส่งสำเนาสัญญาซื้อขายและสำเนาหนังสือทนายโจทก์มาท้ายฟ้องด้วยย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลย ไม่จำต้องกล่าวในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย, การลดเบี้ยปรับ, ดอกเบี้ยจากการชำระหนี้, สิทธิในการริบเงิน, หนี้ที่เกิดขึ้นตามคำพิพากษา
เมื่อสัญญาเลิกกันหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยทั้งเจ็ดเพื่อชำระหนี้บางส่วน ย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์จำเลยทั้งเจ็ดมีข้อตกลงกันให้ริบเงินที่ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วได้ตามข้อตกลงในสัญญา เมื่อศาลลดเบี้ยปรับลงโดยให้จำเลยทั้งเจ็ดคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนับแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2549 (วันที่โจทก์ยื่นคำขอบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน) นั้นไม่ เพราะการที่จำเลยทั้งเจ็ดริบเงินไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาโดยชอบ แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงิน 22,000,000 บาท จำเลยทั้งเจ็ดมีหนี้เงินจำนวนที่แน่นอนและเป็นยุติแล้วว่าต้องชำระ จึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การลดเบี้ยปรับ และเหตุผลในการยืนตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ปัญหาข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ ย่อมเป็นอันยุติ โจทก์จะยกขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกปัญหาว่า การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายทองรูปพรรณทั้งหมดเป็นรายได้ของโจทก์เป็นการไม่ชอบขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนนี้ได้ แม้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะอุทธรณ์ประเด็นนี้ต่อไป
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน แม้โจทก์ไม่มีบัญชีเอกสารหรือหลักฐานมาแสดง แต่ถ้อยคำของโจทก์เองถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ปรากฏจากการไต่สวนซึ่งเจ้าพนักงานประเมินนำมาใช้ในการตรวจสอบได้ การที่เจ้าพนักงานจะพิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนอย่างไร เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ แม้เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์โดยอาศัยเพียงแต่ข้อมูลจากที่โจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ ก็ไม่มีผลทำให้การไต่สวนเสียไป
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 (14) กำหนดว่า "มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า" กรณีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวเป็นการรับซื้อและขายทองรูปพรรณแก่บุคคลทั่วไป แต่สำหรับการขายฝากทองรูปพรรณนั้น คู่สัญญาย่อมกำหนดสินไถ่โดยเรียกประโยชน์ตอบแทนรวมไปกับราคาขายฝากที่แท้จริงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 สินไถ่จึงขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่กรณีแต่ละราย หากผู้ขายไม่ต้องการรับภาระจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้รับซื้อฝากเกินความจำเป็นที่ต้องใช้เงินก็ตกลงสินไถ่ต่ำกว่าราคาขายทองรูปพรรณได้ สินไถ่จึงไม่ต้องเท่ากับราคาขายทองรูปพรรณทั่วไป ส่วนราคาที่โจทก์รับซื้อฝากก็ไม่ต้องเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้ออีกเช่นกัน กรณีจึงไม่อาจนำประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) มาใช้บังคับแก่การขายฝากได้
แม้โจทก์จะมิได้รับฝากเงินเช่นธนาคาร แต่ประกอบกิจการรับซื้อลดเช็คเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์หลายครั้งหลายช่วงเวลา ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ในการรับซื้อตั๋วเงินเป็นปกติ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 แห่ง ป.รัษฎากร
อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลภาษีอากรกลางในการวินิจฉัยเรื่องเหตุอันควรลดเบี้ยปรับเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ละเดือนภาษีพิพาท มีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละเดือนภาษีไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
of 14