พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเหมืองแร่ซ้อนกันและการละเมิดสิทธิของผู้เช่ารายแรก เจ้าของเหมืองและผู้เช่ารายหลังต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
เจ้าของเหมือแร่ให้เช่าเหมืองแร่ไปแล้ว ต่อมาให้ผู้อื่นเช่าอีกเมื่อผู้เช่ารายหลังเข้าไปทำในทรัพย์ที่เช่า ก็ถือว่าเจ้าของและผู้เช่ารายหลังทำละเมิดต่อผู้เช่ารายแรกต้องรับผิดชอบในความเสียหายให้แก่ผู้เช่ารายแรา.
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เต็มตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แม้จะได้ความว่า ตามทางพิจารณาว่าโจทก์เสียหายมากกว่าที่ศาลชั้นต้นกะให้ ก็ไม่มีทางแก้ไข.
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เต็มตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แม้จะได้ความว่า ตามทางพิจารณาว่าโจทก์เสียหายมากกว่าที่ศาลชั้นต้นกะให้ ก็ไม่มีทางแก้ไข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิผู้เช่าเหมืองแร่จากสัญญาเช่าซ้อน ผู้ให้เช่าและผู้เช่ารายหลังต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
เจ้าของเหมืองแร่ให้เช่าเหมืองแร่ไปแล้ว ต่อมาให้ผู้อื่นเช่าอีก เมื่อผู้เช่ารายหลังเข้าไปทำในทรัพย์ที่เช่า ก็ถือว่าเจ้าของและผู้เช่ารายหลังทำละเมิดต่อผู้เช่ารายแรกต้องรับผิดชอบในความเสียหายให้แก่ผู้เช่ารายแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เต็มตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แม้จะได้ความว่า ตามทางพิจารณาว่าโจทก์เสียหายมากกว่าที่ศาลชั้นต้นกะให้ ก็ไม่มีทางแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เต็มตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา แม้จะได้ความว่า ตามทางพิจารณาว่าโจทก์เสียหายมากกว่าที่ศาลชั้นต้นกะให้ ก็ไม่มีทางแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการละเมิดสิทธิ: เหตุอันควรสงสัยและการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
การที่จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน ให้กับโจทก์และว่าโจทก์เป็นผู้ร้ายลักทรัพย์ ซึ่งศาลได้ตัดสินยกฟ้องในคดีนั้นไปแล้ว จะเป็นผิดฐานละเมิดหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันมาฎีกาต่อไปไม่ได้ตาม ม.219
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันมาฎีกาต่อไปไม่ได้ตาม ม.219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดินโดยมิชอบและละเมิดสิทธิครอบครอง การกระทำตามหน้าที่ราชการมิอาจเป็นเหตุให้พ้นความรับผิด
นายอำเภอรังวัดที่ดินของผู้อื่นเพื่ออกโฉนดให้แก่ศาลเจ้า เจ้าของที่ดินฟ้องขอห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องได้นายอำเภอจะอ้างว่าทำการตามหน้าที่หรือตามคำสั่งเพื่อให้พ้นจากการถูกฟ้องดังกล่าวนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองแร่ต้องไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน แม้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ประทานบัตรไม่ใช่กรรมสิทธิ
ใช้สิทธิไม่ต้องเสียหายคนอื่น การตัดสินเรื่องเลมิด ไม่จำต้องคำนึงว่าผู้เลมิดผิดทางอาชญาหรือไม่
เมื่อฎีกาได้แต่ข้อกฎหมายข้อใดเป็นข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ข้อเท็จจริง
ศาลกำหนดค่าเสียหายเกินสมควรเป็นข้อเท็จจริงเหมืองแร่ ประทานบัตร์ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธที่ดิน
เมื่อฎีกาได้แต่ข้อกฎหมายข้อใดเป็นข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ข้อเท็จจริง
ศาลกำหนดค่าเสียหายเกินสมควรเป็นข้อเท็จจริงเหมืองแร่ ประทานบัตร์ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22312/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การใช้ชื่อทางการค้า 'Hôtel Plaza Athénée' ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และไม่มีความสับสนในทางการค้า
โจทก์กล่าวอ้างว่าผลของสัญญาซื้อขายหุ้นทำขึ้นโดยคู่สัญญาที่มิได้มีสัญชาติไทยและมิได้ทำขึ้นในประเทศไทยจึงต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ โจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยบังคับ
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15674/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น การสร้างกำแพงบดบังทัศนียภาพทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิกระทำการใด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของจำเลย แต่การใช้สิทธิของจำเลยต้องเป็นไปโดยสุจริต และไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นด้วย ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 35 ตารางวา เป็นรูปสามเหลี่ยมชายธง มีความกว้างสุดประมาณ 2 เมตร ตามสภาพย่อมไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จะบดบังทัศนียภาพหน้าที่ดินที่เป็นตึกแถวตั้งอยู่ได้ ซึ่งทัศนียภาพดังกล่าวเป็นคูน้ำและทางหลวงสายสุพรรณบุรี - ชัยนาท หมายเลข 340 ที่อยู่หน้าที่ดินของจำเลย ส. เจ้าของที่ดินเดิมก็คงคาดหมายเช่นนี้ จึงสร้างตึกแถวขาย แต่เมื่อมีกำแพงทึบสูงถึง 2.70 เมตร ย่อมทำให้ชั้นล่างของตึกแถวถูกบดบังและผู้อยู่อาศัยย่อมไม่อาจเห็นทัศนียภาพดังกล่าวได้ ทำให้ผู้อยู่ในตึกแถวเสียโอกาสเห็นความเป็นไปบนทางหลวง และผู้สัญจรบนทางหลวงไม่อาจเห็นตึกแถวได้ชัดเจนเช่นกัน ย่อมทำให้ผู้อยู่ในตึกแถวเสียโอกาสในการค้าขาย การที่จำเลยทำกำแพงคอนกรีตทึบสูง 2.70 เมตร โดยขาดเหตุผล จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหินในเขตประทานบัตร: ไม่ใช่ลักทรัพย์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิและบุกรุก
หิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายเป็นหินที่ประเมินจากความเสียหายจากหินที่ถูกคนร้ายขุดขึ้นมา มิใช่หินที่โจทก์ร่วมขุดขึ้นมากองไว้แต่อย่างใด หินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นหินแกรนิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของแต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการเข้ายึดถือเอา การที่บริษัท ก โจทก์ร่วมได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่เป็นการผูกขาดจากรัฐ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงว่า ถ้าจะขุดหินแกรนิตจากพื้นดินที่ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถือเอาได้โดยไม่มีการหวงห้ามเสมือนบุคคลที่ไม่ได้รับประทานบัตร แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในหินแกรนิตได้จะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้ายึดถือ ถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318 โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นเจ้าของหินแกรนิต การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าขุดหินแกรนิตซึ่งฝังอยู่ในดินโดยจำเลยที่ 4 ซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้กับเขตประทานบัตรของโจทก์ร่วมเป็นผู้ขายหินแกรนิตให้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงการละเมิดสิทธิของโจทก์ร่วมตามประทานบัตรที่จะเข้ายึดถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรเท่านั้น มิใช่เป็นการลักเอาทรัพย์ซึ่งเป็นหินแกรนิตของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาเกินจริงของโรงพยาบาลละเมิดสิทธิและผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล, ป.พ.พ.
ข้อมูลเปรียบเทียบศักยภาพของจำเลยในใบแผ่นพับโฆษณา จำเลยแสดงผลการเปรียบเทียบให้เห็นว่าโรงพยาบาลของจำเลยดีกว่า น่าใช้บริการมากกว่า เพราะมีผู้ประกันตนที่รับได้จำนวนมากที่สุด สะดวกสบายกว่า มีจำนวนเครือข่ายหลายแห่งกว่ามีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยมากกว่าเพราะมีผู้เข้าร่วมโครงการประกันสังคมเป็นจำนวนมากกว่าใคร โรงพยาบาลของจำเลยใหญ่กว่าเพราะมีเตียงจำนวนมากกว่ามีความมั่นคงกว่าเพราะมีประกันอุบัติเหตุให้ด้วย การโฆษณาแผ่นพับของจำเลยดังกล่าวเป็นการจูงใจให้บุคคลมาใช้บริการของจำเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ โฆษณา หรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการของสถานพยาบาลหรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล" ดังนั้น การที่จำเลยระบุในแผ่นพับในช่องผู้ประกันตนที่รับได้ว่า โจทก์รับได้ 25,000 คน ช่องระยะเวลาเข้าร่วมโครงการประกันสังคมว่า โจทก์เพิ่งเริ่มเข้า ช่องขนาดโรงพยาบาลว่า โจทก์มี 150 เตียง ช่องประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคมว่าโจทก์ไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งความเป็นจริงทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า โจทก์มีจำนวนผู้ประกันตนที่รับได้ 50,000 คน โจทก์มีเตียง 400 เตียง และโจทก์เข้าร่วมโครงการประกันสังคมตั้งแต่ปี 2535 โจทก์จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการเป็นต้นมา จึงเป็นการที่จำเลยเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรงกับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลจำเลยมีศักยภาพดีกว่าโรงพยาบาลโจทก์เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่ามีประสบการณ์มากกว่า จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริงเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 และเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ คำว่า สิทธิ หมายความถึงประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ และจำเลยหรือบุคคลอื่นต้องเคารพหรือได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่สิทธิเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 423
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079-2084/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรน้ำมันไบโอดีเซล: การผลิตโดยกรรมวิธีอื่นที่ไม่ตรงตามสิทธิบัตร ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ชื่อว่า "กรรมวิธีทำน้ำมันพืชเหลือใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล" ระบุข้อถือสิทธิว่า "กรรมวิธีในการเตรียมส่วนผสมที่ใช้ได้อย่างน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ประกอบด้วยการทำให้ส่วนต่อไปนี้ผสมเข้าด้วยกันโดยการใช้เครื่องสูบผสมเวียนน้ำมันพืชเหลือใช้ที่ผ่านการทำให้สะอาด น้ำมันดีเซลและน้ำมันละหุ่ง (หรือแอลกอฮอล์) ในอัตราส่วน 10 : 10 : 1 โดยปริมาตรตามลำดับ ก่อนปรับความหนืดเป็น 6 ถึง 8 เซนติสโตกส์ ด้วยน้ำมันดีเซล" ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล แต่โจทก์ทั้งสองเพียงมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 (2) ประกอบมาตรา 65 ทศ บุคคอื่นย่อมมีสิทธิที่จะผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีอื่นๆ นอกจากกรรมวิธีตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้