พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: การให้เช่า/โฆษณาต้องเป็นงานที่ทำซ้ำ/ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ และคดีไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เช่าวีดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิสูจน์การทำซ้ำหรือดัดแปลง หากไม่มีหลักฐานการกระทำดังกล่าว การให้เช่าจึงไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 13,24,25,26,43 และมาตรา 27,44 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 27,44 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดตามมาตรา 13,24,25,26,43 เป็นอันยุติคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเฉพาะมาตรา 27,44 ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27คดีจะต้องได้ความว่างานที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณานั้น จะต้องเป็นงานที่ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่คดีนี้ไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์ก็มิได้ยืนยันความดังกล่าว กลับกล่าวอ้างว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยนำให้เช่า เสนอให้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น คดีจึงต้องฟังว่าม้วนเทปของกลางมิได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์และอำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิให้ผู้อื่น
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัทด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อปปี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท ชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น บริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก.และต่อมา บริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้นเมื่อ บริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก.ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ถูกต้องตามบทกฎหมายที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือ ความผิดตามมาตรา 27และ 44 วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่าให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินฟ้องในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลต้องพิจารณาตามฟ้องที่กล่าวอ้างเท่านั้น
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปของกลางเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึง ไม่มี สิทธิที่จะอัดเทปดังกล่าวแล้วนำออกให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งถือว่า เป็นการนำออกโฆษณา โดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 13อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 24 และ 25และลงโทษตาม มาตรา 43 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว นั้นชอบหรือไม่ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้กระทำ ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขาย ให้เช่า หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้า โดยรู้อยู่แล้ว ว่าภาพยนตร์วีดีโอเทปดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์และลิขสิทธิ์ ดังกล่าวเป็นของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง กล่าวคือความผิด ตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง เป็นการกระทำ แก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิด ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอขาย เสนอให้เช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ นำออกโฆษณา แจกจ่าย นำหรือสั่ง เข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง เป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 เมื่อโจทก์มิได้บรรยาย ฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 24,25 และ 43 วรรคสอง ย่อมมีผลเท่ากับวินิจฉัย ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ เดียวกันไปในตัว และเมื่อโจทก์ไม่ฎีกาขอให้ลงโทษ จำเลยในข้อหาความผิดตามมาตรา 27 และ 44 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในฮ่องกง, เอกสารมอบอำนาจ, และสิทธิในการรับเงินค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครอบแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุมครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไร และประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา158 (5) แล้ว
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ การรับรองเอกสาร และการมอบอำนาจทางกฎหมาย
โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้บังคับครอบคลุมไปถึงเมืองฮ่องกงที่เป็นอาณานิคม ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม นั้นต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัย หรือคู่ความอีกฝ่ายยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นเอกสาร ตามวิธีการในวรรคสามนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจตามเอกสารหมาย จ.10 และ จ.11 โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัย และเมื่อจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า เอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจแท้จริงจึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจได้ทำถูกต้องตามป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายและเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้องผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลิขสิทธิ์ข้ามประเทศ: การรับรองเอกสาร, การมอบอำนาจ, และสิทธิในการได้รับค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไรและประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามหรือไม่ ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้วพระราชบัญญัติ ญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใดโจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง