คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดต้องเริ่มนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจริง และค่าขึ้นศาลไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลายได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง กำหนดแจ้งชัดว่า หนี้ที่จะขอรับชำระได้ต้องเป็นหนี้ที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้หรือเป็นหนี้ที่ยังมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำนวนเงินค่าขึ้นศาลที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระแก่ศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 เพื่อเจ้าหนี้จะได้ใช้สิทธิดำเนินคดีทางแพ่งต่อลูกหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น และเงินจำนวนนี้ไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 แล้ว จึงมิใช่มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินที่ไม่สมเหตุสมผลในแผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและสมควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ในการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใดจึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่ในคดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึงประมาณ 2,000,000,000 บาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้ทำแผนมิได้แสดงถึงเหตุดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผนจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อการประเมินราคาทรัพย์สินต่ำลงมากทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ส่วนใหญ่ถูกนำไปชำระตีใช้หนี้แก่เจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีผู้ร้องขอเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในราคาต่ำ ทำให้หนี้ลดลงเพียงจำนวนน้อยและหนี้ส่วนที่ขาดอยู่มีจำนวนสูงขึ้น เมื่อนำหนี้ส่วนที่ไม่มีประกันส่วนนี้ไปจัดสรรชำระหนี้ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ได้รับชำระหนี้น้อยลง เจ้าหนี้อื่นย่อมได้รับความเสียหายเนื่องจากการตีราคาทรัพย์สิน
เมื่อมีเหตุข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งใช้ในการจัดทำแผน ถือได้ว่าผู้ทำแผนยังแสดงพยานหลักฐานไม่ได้ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 วรรคสาม ทั้งมีพฤติการณ์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งประโยชน์ของผู้ร้องขอ ไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันอื่น การที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้อื่นในอันที่จะได้รับชำระหนี้อย่างน้อยเท่ากับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินที่ต่ำเกินจริงในแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้เท่ากรณีล้มละลาย ศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วย
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ กำหนดให้ผู้ทำแผนส่งแผนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการนั้นหรือไม่ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแล้วก็ให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่งว่าแผนที่ผู้ทำแผนเสนอมานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน
ในการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนสำเร็จแล้ว จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้แต่ละรายซึ่งมิได้ลงมติยอมรับแผนจะได้รับในการฟื้นฟูกิจการ กับจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวนี้การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะมีราคาประเมินเพียงใด จึงเป็นสาระสำคัญ
แม้ว่าการกำหนดหรือวินิจฉัยราคาประเมินทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ละช่วงจะไม่มีผลผูกพันต่อการพิจารณาในช่วงอื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อมีการประเมินราคาทรัพย์สินโดยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ราคาประเมินย่อมแตกต่างกันได้ แต่คดีนี้มีการประเมินตีราคาทรัพย์สินในเวลาที่ต่างกันเพียงประมาณ 5 ถึง 6 เดือน ทรัพย์สินส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ในการประเมินมีราคาแตกต่างกันถึง 2,000 ล้านบาท กรณีจึงต้องมีเหตุอันสมควรและอธิบายถึงความแตกต่างดังกล่าวได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ทำแผนก็มิได้แสดงเหตุดังกล่าวโดยชัดแจ้ง การประเมินราคาครั้งหลังเพื่อจัดทำแผน จึงไม่มีน้ำหนัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันแผนฟื้นฟูกิจการ, การยกเลิกการฟื้นฟู, และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 นั้น แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ในอันที่จะถูกปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ อีกทั้งเมื่อได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้วก็มีผล ให้ลูกหนี้คงต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/75 คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการ ฟื้นฟูกิจการตาม มาตรา 90/70 แต่เมื่อเจ้าหนี้ที่ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่ได้ถอนอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ต้องพิจารณาคดีตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
ตามมาตรา 90/42 ทวิ ประกอบมาตรา 6 เมื่อจำนวนหนี้สูงกว่าราคาทรัพย์หลักประกันจำนวนหนี้ที่มีประกันของเจ้าหนี้มีประกัน ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ส่วนหนี้จำนวนที่เหลือย่อมมีฐานะเป็น เจ้าหนี้ธรรมดา ในการพิจารณามูลค่าราคาหลักประกัน ศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์ หลักประกันในท้องตลาดตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันในการฟื้นฟูกิจการ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 (9) บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนซึ่งมีหน้าที่ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้น จนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องไปทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจาก ข้อกำหนดในแผนก็ดี เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วก็ดี ข้อกำหนดดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดนี้จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้ข้อกำหนดบางส่วนในแผนตกเป็นโมฆะ หากข้อกำหนดดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญของแผน หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องมิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ เมื่อข้อกำหนดในแผนที่เหลืออยู่ยังใช้บังคับได้ และ แผนฟื้นฟูกิจการที่ใช้บังคับได้ยังมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย การประเมินมูลค่าทรัพย์สินหลักประกัน และผลของการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในอันที่จะถูกปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ อีกทั้งเมื่อได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว มีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจจะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วเช่นนี้การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการยังคงมีผลให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการโดยชำระหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ไม่ครบถ้วนตามแผนต่อไป คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบถ้วนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/70 ซึ่งเป็นคำสั่งที่สืบเนื่องจากคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงไม่ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผน ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผนแต่อย่างใดไม่ และเหตุที่แผนกำหนดให้จัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพราะเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นว่า จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว เช่นนี้ ข้อกำหนดเรื่องการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่สาระสำคัญของแผนเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้น เงื่อนไขดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน แต่เมื่อได้ความว่ามีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว จนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วนแต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อเนื้อหาของแผนที่คงเหลืออยู่ยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และกรณีมติยอมรับแผนเป็นมติพิเศษตามมาตรา 90/46(2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130 บัญญัติไว้แล้ว ทั้งเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ประกอบกับการเห็นชอบด้วยแผนจะทำให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไปได้ อันเป็นประโยชน์แก่พนักงานของลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้น ตลอดจนประชาชนทั่วไป และเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวม อีกทั้งเป็นการรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ด้วยคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินหลักประกันตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 และมาตรา 90/75 การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ลูกหนี้คงรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการและชำระหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ไม่ครบถ้วนตามแผนต่อไป เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะให้ลูกหนี้ชำระเงินดังกล่าว คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหาทำให้สิทธิในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่แล้วต้องเสียไปไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้แล้วไม่ได้ถอนอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาคดีตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบถ้วนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 เป็นคำสั่งที่สืบเนื่องจากคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ถ้าศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการก็ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยปริยาย
การที่เจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีจำนวนหนี้มีประกันเพียงเท่าราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกัน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ธรรมดา
การพิจารณามูลค่าราคาหลักประกันศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์หลักประกันในท้องตลาด ตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันดังกล่าวในการฟื้นฟูกิจการประกอบกัน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42(9) ที่บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง หมายความว่า การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใดอย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผนข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผน เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นควรให้จัดทำขึ้นเพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว จึงมิใช่สาระสำคัญของแผน ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่า เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้นเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อมีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้วจนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วน แต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อแผนยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น
ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอมตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(2)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในมาตรา90/42(3)(ข) ให้มีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ และมาตรา 90/42 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ ตามมาตรา 90/42 ทวิ(3)และมาตรา 90/42 ตรี ดังนั้น เจ้าหนี้ไม่มีประกันจึงสามารถจัดแบ่งเป็นหลายกลุ่มได้ เพียงแต่แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: นับจากวันโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำรับขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญหากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกันต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง
คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนคดีนี้ต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/24 วรรคสอง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องทายาทในฐานะผู้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหลังการล้มละลาย: อำนาจศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของบริษัท ท. เป็นการฟ้องกองมรดกของผู้ตายเป็นลูกหนี้ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายทำไว้กับโจทก์ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น มิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องผู้ตายให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ตายเด็ดขาด ทั้งมิได้มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 82 แต่อย่างใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายหรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) และ (2) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีที่โจทก์ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้
แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ต่อไปมาด้วย แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)
of 192