คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัด: สิทธิเหนือโต้แย้งด้วยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
ที่ซึ่งวัดได้ปกครองมาก่อนช้านานต้องสันนิษฐานว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ ที่วัดผู้ใดจะอ้างอำนาจปกครองปรปักษ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้วัด: แม้ไม่มีหนังสือ เมื่อมีการครอบครองเกิน 10 ปี ถือว่าสำเร็จเด็ดขาด
พิธีอุทิศที่ดินโฉนดเก่าให้เป็นที่ธรณีสงฆ์จะต้องทำอย่างไรบ้าง ยกที่ให้วัดเป็นที่ธรณีสงฆ์ เมื่อมีภิกษุเข้าครอบครองเป็นวัดมาตั้ง 10 ปีกว่าแล้วแม้การให้ไม่ได้ทำหนังสือก็ดีก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิที่ดินของวัด: การได้มาซึ่งที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายและการขับไล่ผู้บุกรุก
ที่ดิน ขับไล่ วัดถือกรรมสิทธิที่ดินได้ ยกที่ดินให้วัด ๆ มีทรัพย์สมบัติได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินป่าช้าติดวัด: การครอบครองและการพิสูจน์ขอบเขต
ป่าช้าติดกับวัดไม่เปนที่ของวัดเสมอไปที่ป่าช้าเอกชนจับจองเปนเจ้าของได้ โฉนดแผนที่ทับป่าช้าเจ้าของได้กรรมสิทธิที่วัด พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ม.7,8 ลักษณพะยาน พะยานชื่อเสียงฟังได้เท่ากับไม่ขัดข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10517/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากวัด ถือเป็นเอกสารปลอมและอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง หรือเป็นกรรมการวัด หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในวัดบ้านขว้างที่จะมีอำนาจจัดทอดผ้าป่าโดยลำพัง การที่จำเลยจัดพิมพ์ซองผ้าป่าซึ่งข้อความบนซองผ้าป่าของกลางเป็นการเชิญชวนให้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดบ้านขว้าง ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจโดยลำพังที่จะจัดทอดผ้าป่าในนามวัดบ้านขว้างโดยพลการเพราะไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดและไม่ได้ผ่านการประชุมระหว่างไวยาวัจกร กรรมการวัด เจ้าอาวาสวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนรวมทั้งชาวบ้าน ทั้งซองผ้าป่าของกลางที่จัดพิมพ์แจกจ่ายให้ผู้อื่นไม่มีรอยตราของวัดประทับด้านหลังซอง การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าดังกล่าวจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ โดยจำเลยไม่มีอำนาจ ลักษณะข้อความตามซองผ้าป่าของกลางระบุชัดเจนว่าเป็นการทอดผ้าป่า ณ วัดบ้านขว้าง ทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อว่าเป็นซองผ้าป่าที่แท้จริงที่จัดทำขึ้นโดยวัดบ้านขว้าง ทั้งที่ความจริงแล้วทางวัดบ้านขว้างมิได้รับรู้ด้วย หากมีการนำซองผ้าป่าดังกล่าวไปใช้โดยไม่สุจริตนำออกเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วไม่นำเงินมาทำบุญที่วัดบ้านขว้างตามที่ระบุในซองผ้าป่า ย่อมเกิดความเสื่อมเสีย หรือเสียชื่อเสียง หรือขาดความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อวัดบ้านขว้างและพระครู ป. เจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง แม้ผลของการกระทำจะยังไม่ปรากฏความเสียหายแต่พิจารณาพฤติการณ์ประกอบการกระทำของจำเลยที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยก็น่าจะเกิดความเสียหายได้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14779/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องของวัด: หลักฐานการสร้างวัดตามกฎหมาย และฐานะนิติบุคคล
วัดโจทก์เป็นวัดที่สร้างในปี 2478 แต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดโจทก์จึงมีสถานะเป็นวัดประเภท "ที่สำนักสงฆ์" ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 5 ที่บังคับใช้ในขณะนั้น และได้สร้างวัดขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 5 ประการ โดยนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อแล้ว ให้เจ้าคณะแขวงมีอำนาจทำหนังสืออนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ และให้นายอำเภอประทับตรากำกับในหนังสือนั้น และเจ้าของที่ดินนั้นจะต้องจัดการโอนโฉนดเนื้อที่วัดถวายแก่สงฆ์ตามกฎหมายก่อน จึงจะสร้างที่สำนักสงฆ์ได้ ดังนั้น การสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีหลักฐานเป็นหนังสือที่สามารถตรวจสอบได้คือ จดหมายของผู้ประสงค์จะสร้างที่สำนักสงฆ์ถึงนายอำเภอ 1 ฉบับ หนังสือของเจ้าคณะแขวงอนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ซึ่งนายอำเภอประทับตรากำกับ 1 ฉบับ และโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนให้เป็นที่วัดแล้ว เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ ควรจะมีการเก็บรักษาหรือบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโฉนดที่ดินที่มีผู้อุทิศให้สร้างวัดนั้นย่อมเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการสร้างวัดหรือที่สำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือเกี่ยวกับการสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจากอำเภอ เจ้าคณะแขวงหรือโฉนดที่ดินมาแสดง ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่วัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของวัด: เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการศาสนสมบัติและฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า ...ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกรณีทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี... และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้แทนของวัด และมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งคำว่า จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดนั้น หมายถึง การบริหารจัดการวัดและศาสนสมบัติของวัดนั่นเอง โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดิน ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโจทก์โดยละเมิดได้ ส่วนบทบัญญัติมาตรา 40 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้วัด แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและทายาท
การที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาอุทิศที่ดินของเจ้ามรดกให้สร้างวัด และวัดได้ดำเนินการก่อสร้างสำเร็จตามเจตนาของเจ้ามรดกแล้ว ที่ดินย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ทำให้การได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้ต่อสู้หรือบังคับต่อบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาก็ตาม แต่การยกให้นี้มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10455-10462/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีของวัดต้องมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมายและปิดอากรแสตมป์ มิฉะนั้นการมอบอำนาจนั้นไม่ชอบ
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 10 จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาในศาลล่าง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 - และที่ 10 จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นวัดผู้ที่มีหน้าที่กระทำการแทนคือเจ้าอาวาส หากเจ้าอาวาสไม่กระทำด้วยตนเอง ต้องการให้บุคคลอื่นกระทำแทน รวมถึงการฟ้องคดีก็ต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจและต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร เมื่อการมอบอำนาจระหว่างเจ้าอาวาสของโจทก์ที่ตั้งให้ ส. ดำเนินคดีแทนโดยไม่ปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ส. จึงไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ. เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในวัด แต่พระพุทธรูปมิได้เป็นที่สักการบูชา ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335(7) มิใช่ความผิดตาม ม.335ทวิ
แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักจะเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหายแต่ได้ความว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าซึ่งเห็นได้ชัดตามภาพถ่ายว่าอยู่ในสภาพที่ถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนไปสักการบูชาแต่ประการใด รวมทั้งเครื่องบูชาใด ๆ ไม่มีปรากฏให้เห็นจึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นที่สักการบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ร่วมกับพวกลักพระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหาย ก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญกุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพจึงมิใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. 335 (9) การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 เท่านั้น
of 13