คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ช.โดยโจทก์จำเลยที่1ที่2และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และ ช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันนัดพิจารณา ทำให้คำสั่งอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ถึงที่สุด แม้เวลาผ่านไปนาน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องแก่ทุกฝ่ายและนัดพร้อมกันเพื่อสอบถาม ทนายของจำเลยได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันนัดจำเลยและทนายไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำร้องขอ เฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยไม่คัดค้านและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพิ่งจะมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2514 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้จึงถึงที่สุด จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเล็กน้อยในคดีแชร์: ศาลอนุญาตได้หากเป็นข้อผิดพลาดทางตัวเลขและไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย
ฟ้องเดิมบรรยายว่า "ลงหุ้นแชร์กันไว้คนละ 200 บาท ต่อเดือน" โจทก์ขอแก้ในวันชี้สองสถาน เป็นว่า "ลงหุ้นแชร์กันไว้ คนละ300 บาทต่อเดือน" ปรากฏว่าฟ้องเดิมของโจทก์บรรยายมาชัดแจ้งว่าจำเลยประมูลแชร์ได้โดยให้ดอกเบี้ย 220 บาท จำเลยจึงต้องส่งเงินแชร์งวดต่อ ๆ ไปเดือนละ 520 บาท เพิ่งค้างส่ง 3 เดือนเป็นเงิน 1,560 บาท ดังนี้ เห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ตัวเลขผิดพลาดคือพิมพ์เลข 3 เป็นเลข 2 ไป จึงเป็นการขอแก้คำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ศาลย่อมมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์โดยเพิ่มชื่อจำเลยร่วมหลังพ้นกำหนดเวลา ศาลอนุญาตได้หากเนื้อหาในฟ้องอุทธรณ์ครอบคลุมถึงจำเลยร่วมนั้น
จำเลยอุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับคดี โดยฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีระบุแต่ชื่อจำเลยที่ 1 ทนายจำเลยทั้งสามเป็นผู้ลงชื่อในอุทธรณ์และคำร้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำร้องไว้แล้ว ต่อมาเมื่อพ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอระบุชื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ดังนี้ เมื่อคำร้องของ จำเลยมิได้อ้างเหตุขึ้นมาใหม่ คงอ้างแต่เพียงว่าฟ้องอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้แล้วเป็นฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ที่ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวนั้นเพราะพิมพ์ผิดพลาดไป อีกทั้งข้อความในฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ยื่นพร้อมอุทธรณ์มีข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 จริง ศาลอุทธรณ์ย่อมอนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจะซื้อขายที่ไม่มีการอนุญาตจึงไม่ผูกพัน
การขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต และผู้ใช้อำนาจจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งการขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กด้วย เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผูกพันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผู้จะซื้อผิดสัญญาและจะริบมัดจำหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 816-817/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำให้การรับสารภาพ: ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
ปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพจะเป็นการชอบหรือไม่นั้น มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อคู่ความมิได้โต้เถียงกันในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานว่าจำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อหาไม่สู้คดีนั้นเสียแล้วขอให้การใหม่ว่าขอปฏิเสธฟ้องโจทก์ตลอดข้อหาขอสู้คดี โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนั้น โจทก์จะยกมาอ้างเป็นข้ออุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องอาญา: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้เพิ่มเติมรายละเอียดหรือฐานความผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยไปไถ่จำนองที่ดินของโจทก์จากนางประหยัดสุวเทพ เพื่อจะได้นำไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยจากธนาคาร แต่จำเลยบังอาจทุจริตนำที่ดินโจทก์ซึ่งไถ่จำนองแล้วไปขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเบียดบังเอาเงินค่าขายไว้เป็นประโยชน์ส่วนตนเสียขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า'ให้ไปไถ่จำนองที่ดินจากนางประหยัด สุวเทพ เพื่อจำเลยจะได้นำที่ดินแปลงนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้มาจากธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท' เป็นว่า 'ให้นำที่ดิน แปลงนี้ไปจำนองกับธนาคารในวงเงินไม่เกิน 375,500 บาท เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปไถ่จำนองที่ดินแปลงนี้จากนางประหยัด สุวเทพและจากข้อความที่ว่า 'โดยเจตนาทุจริต จำเลยได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเอาที่ดินดังกล่าวไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุขแล้วเอาเงินที่ขายได้เป็นประโยชน์ของจำเลยเสีย เป็นว่า'จำเลยได้บังอาจมีเจตนาทุจริตร่วมกันไปไถ่จำนองที่ดินดังกล่าวจากธนาคารและนำไปโอนขายให้นายวรเทพ ลิ้มรสสุข แล้วจำเลยมีเจตนาทุจริตร่วมกันเบียดบังยักยอกเอาเงินที่ขายได้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยเสีย' ดังนี้ ข้อความที่ขอแก้คงมีผลตรงกันกับฟ้องเดิมในใจความสำคัญไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก็เป็นเพียงเรียกการกระทำให้ชัดขึ้น รวมทั้งการเพิ่มเติมบทลงโทษก็หาทำให้จำเลยหลงต่อสู้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบเช่นกัน โจทก์ชอบที่จะขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีบุกรุกที่ดินร่วม ศาลอนุญาตได้แม้สืบพยานแล้ว หากไม่กระทบฐานะเจ้าของร่วม
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง แม้จำเลยคัดค้าน ศาลเห็นว่าการที่โจทก์ถอนฟ้องไม่ทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ในที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงไป แม้จะสืบพยานไปบ้างแล้วก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ ไม่กระทบสิทธิเจ้าของร่วม ศาลอนุญาตถอนฟ้องได้แม้มีการสืบพยานแล้ว
โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง แม้จำเลยคัดค้าน ศาลเห็นว่าการที่โจทก์ถอนฟ้องไม่ทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ในที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงไป แม้จะสืบพยานไปบ้างแล้ว ก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนการพิจารณาคดีอาญาเนื่องจากทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น ศาลต้องอนุญาตหากมีเหตุสมควร
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าในวันนัดนั้นทนายจำเลยติดว่าความที่ศาลอื่น ข้ออ้างของทนายจำเลยเป็นความจริงทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 179 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและทำการพิจารณาพิพากษาไปเลย จึงเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)
of 21