พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12060/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม คดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ให้ประหารชีวิต คำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืน ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่อาจจะฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9407/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: หน้าที่ของศาลชั้นต้นในการส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์
กรณีที่คู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยไม่ชักช้า โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับคำร้องเช่นว่านั้นเหมือนอย่างชั้นสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 234 เสียเอง โดยไม่ได้ส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและการวินิจฉัยความผิดของศาลอุทธรณ์ต้องครบถ้วนก่อนตัดสินโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต คำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นว่านี้ยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้พิจารณาและวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหลังศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว ถือเป็นการอ่านโดยเปิดเผยตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้มีการนัดอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์และจำเลยฟังโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสองแล้ว แม้ในวันดังกล่าว จะมิได้เป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อีกทั้งเสร็จการพิจารณาก่อนนั้นแล้ว การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นครั้งหลังจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหลังศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษา: ชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้เป็นวันนัดอ่านคำพิพากษา
ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์และจำเลยมาศาล เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วโดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาใหม่แล้วดำเนินการต่อไปศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์และจำเลยฟังต่อเนื่องกันไป ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในศาลให้โจทก์และจำเลยฟังโดยเปิดเผยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสอง แล้ว แม้ในวันดังกล่าวจะมิได้เป็นวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบเพราะคดีเสร็จการพิจารณามาก่อนนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์ในคดีเช่าซื้อ การยึดรถถือเป็นการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาโจทก์จึงยึดรถคืนและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสองมีไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้น คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพียงใด ส่วนในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การถึง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืน เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ติดต่อกันเกินกว่า 2 งวด ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความรับกันแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อเท็จจริงใหม่ว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์ยึดรถที่ให้เช่าซื้อคืนถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออย่างหนึ่ง โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญา เป็นหนังสือแต่อย่างใด
การที่โจทก์ยึดรถที่ให้เช่าซื้อคืนถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออย่างหนึ่ง โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญา เป็นหนังสือแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการเรียกค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันเกินกว่า 2 งวด โจทก์จึงยึดรถที่เช่าซื้อคืน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสองมีไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นอ้างได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายซ้ำหลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยอ้างเหตุบอกกล่าวใหม่ ถือเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. ม.148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขาย เรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือน ตามข้อสัญญา พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เท่ากับประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา และฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญาแล้ว อันเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญา โดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างเหตุใหม่ หลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการบอกเลิกสัญญาแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขายและเรียกเงินคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือนตามสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวจึงยังไม่มีการวินิจฉัยให้เป็นที่สุด ภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญาแล้ว กรณีถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาโดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรื้อฟื้นคดีอาญา: บทบาทของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญา
บทบัญญัติมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (5) ที่ร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องได้ แต่หากเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (1) ถึง (4) เป็นผู้ร้องแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งรับคำร้องให้ดำเนินคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือยกคำร้อง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ดำเนินการตามมาตรา 9 วรรคสอง ทำการไต่สวนคำร้องหรือหากเห็นว่าคำร้องไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จะไม่ทำการไต่สวนก็ได้ แต่ศาลชั้นต้นมีสิทธิเพียงทำความเห็นเสนอสำนวนการไต่สวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การสั่งรับคำร้องให้พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือสั่งให้ยกคำร้องเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง