คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแขวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการสำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุ กฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2494 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้ มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไมเกิน หกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิด ฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูดทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ผลของพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจหลังเกิดเหตุ และดุลพินิจศาลในการไม่รับฟ้อง
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจกท์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเปลี่ยนแปลงหลังเกิดเหตุ: คดีต้องฟ้องต่อศาลแขวง แม้ฟ้องศาลจังหวัด ศาลมีดุลพินิจไม่รับ
ขณะเกิดเหตุคดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอำนาจศาลให้คดีของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลแขวง
คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์-ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง-วิธีพิจารณาความอาญา
ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าจำเลยขาดเจตนาทุจริต โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 10 การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีของโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว โจทก์จึงยกข้อเท็จจริงขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฎีกาโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีศาลแขวงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงเดิมจึงไม่รับฟัง
ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าจำเลยขาดเจตนาทุจริตโจทก์ อุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 มาตรา 10 การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมี เจตนาทุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีของโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว โจทก์จึงยกข้อเท็จจริงขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฎีกาโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยพยานใหม่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าเป็นการผิดข้อตกลงในทางแพ่ง ไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยหลอกลวงโจทก์หรือไม่ เป็นการพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องนี้ไว้แล้วว่า จำเลยไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ พิพากษายืน ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้พิจารณาจากคำเบิกความของพยานในสำนวนอีกว่า ความจริงจำเลยหลอกลวงโจทก์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องในคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและการห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวงพระนครเหนือ) พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงต้องห้างอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 มาตรา 22 แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมา ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ความผิดฐานฉ้อโกงที่เกิดจากหลายท้องที่ ศาลแขวงธนบุรีมีอำนาจพิจารณา
ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,84 โดยบรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโจทก์ที่ 1 กระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ด้วยการยุยงส่งเสริมของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ต่อมาจำเลยที่ 2 นำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 ธนาคารได้ตัดเงินจากบัญชีโจทก์ที่ 1 จ่ายให้ไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ได้ความตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คที่ตำบลลาดยาวอำเภอบางเขน แล้วจำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ การนำเช็คไปเข้าบัญชีและรับเงินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความผิดตามฟ้องสำเร็จบริบูรณ์ ท้องที่ที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค และท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คไปเข้าบัญชี ต่างก็เป็นที่เกิดเหตุคดีนี้ ธนาคาร ก. สาขาภาษีเจริญ อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีศาลแขวงธนบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเกิดก่อน/หลังขยายอำนาจ ศาลจังหวัดและศาลแขวงพิจารณาได้
ตามฟ้องระบุวันเกิดเหตุระหว่างตั้งแต่ก่อนจนถึงภายหลังขยายอำนาจศาลแขวงมาถึงที่เกิดเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดและศาลแขวงพิจารณาคดีได้ แม้คดีในอำนาจศาลแขวง ศาลจังหวัดก็พิจารณาได้ศาลจังหวัดจึงควรรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา
of 25