คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การประเมินราคาอันแท้จริงตามหลักศุลกากรและแนวทางปฏิบัติของกรมศุลกากร
ราคาสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินถือตามเป็นราคาที่ผู้นำเข้าได้นำเข้าก่อนโจทก์ไม่นานนัก และบางรายก็ปรากฏว่าได้นำเข้าหลังโจทก์เพียง 1 วัน เป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามคำสั่งเฉพาะของกรมศุลกากรที่ 14/2524 และคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ซึ่งแม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็แสดงว่าเป็นการปฏิบัติที่มีแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมและกระทำโดยสุจริต เมื่อราคาที่นำเข้ามาก่อนกลับสูงกว่าที่โจทก์นำเข้าจึงมีเหตุให้น่าสงสัยว่า ราคาที่ซื้อมาอาจมิใช่ราคาอันแท้จริงหากราคาที่โจทก์ซื้อต่ำกว่าราคาที่บริษัทอื่นซื้อเพราะโจทก์เป็นลูกค้าประจำและโจทก์สั่งเข้ามาเป็นจำนวนมากหรือเพราะบริษัทผู้ขายย่อมขายให้ลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกัน ก็ย่อมแสดงว่าราคาที่โจทก์ซื้อเป็นราคาที่ได้หักทอนหรือลดหย่อน ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการลดหย่อนทั่ว ๆ ไป การลดหย่อนดังกล่าวจึงเป็นการลดหย่อนกรณีพิเศษเฉพาะราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 จะถือเอามาเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าที่ไม่เคยมีผู้นำเข้ามาก่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการใช้ราคา FOB เป็นฐานในการประเมินถูกต้อง
สินค้าประเภทที่จำเลยนำเข้ามาในประเทศไม่เคยมีผู้ใดนำเข้ามาก่อน กรมศุลกากร โจทก์จึงถือเอาราคา เอฟ.โอ.บี เป็นฐานเพื่อกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพื่อเสียภาษี โดยไม่ปรากฏว่าราคาเอฟ.โอ.บี ที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าเป็นราคาที่ถูกกว่าราคาเป็นจริง ต้องฟังว่าราคาที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากราคาดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีอากรและการประเมินราคาที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
การขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงภายในสองปีนับแต่วันนำของเข้าเพราะเหตุเกี่ยวด้วยราคาแห่งของใด ๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา10 วรรคท้าย นั้น จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เห็นว่าเสียไว้เกินจำนวนที่พึงเสียจริง มิฉะนั้นย่อมไม่มีสิทธิขอคืนไม่ว่าจะอยู่ในระยะ 2 ปี หรือไม่ การขอคืนหนังสือค้ำประกันมิใช่การขอคืนเงินภาษีอากรจึงไม่ต้องห้ามด้วยบทบัญญัติของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต้องบังคับด้วยอายุความทั่วไป10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กระบอกลูกสูบเครื่องยนต์ที่โจทก์นำเข้านอกจากจะมีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์. แล้ว ยังมีเครื่องหมายการค้าอื่นด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำสินค้าดังกล่าวของโจทก์ที่มียี่ห้อฮีโน่ประทับอยู่ไปเปรียบเทียบกับอะไหล่แท้ซึ่งเป็นสินค้ายี่ห้อฮีโน่ ปรากฏว่าเป็นสินค้าที่มีเนื้อโลหะ ขนาด และน้ำหนักเหมือนกันทุกประการ ส่วนสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้ออีซูซุหรือโตโยต้านั้น แม้จะไม่ปรากฏผลการเปรียบเทียบก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากอะไหล่แท้ดังกล่าวอย่างไร จึงต้องถือว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามราคาของอะไหล่แท้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องใช้ราคาขายส่งเงินสดของสินค้าประเภทเดียวกัน หากเป็นสินค้าทดแทนห้ามเทียบเคียงราคาสินค้าแท้
การพิจารณาถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใดจะต้องนำราคาขายส่งเงินสดของสินค้าอย่างเดียวกันมาเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เมื่อสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นอะไหล่ยานยนต์เทียมจึงจะนำราคาอะไหล่ยานยนต์แท้มาเปรียบเทียบและลดราคาลงร้อยละ20 ดังที่คำสั่งทั่วไปของจำเลยระบุไว้หาได้ไม่และเมื่อจำเลยมิได้นำสืบว่าราคาตามระเบียบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นราคาของหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้เพียงใด จึงไม่มีข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่าโจทก์จะต้องชำระค่าอากรตามระเบียบดังกล่าว การประเมินราคาสินค้าเพิ่มของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร การระงับคดีอาญา และการวางประกันค่าอากร
โจทก์นำสินค้าเข้า พนักงานของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าต่ำไปและสำแดงรายการสินค้าเท็จ จึงให้โจทก์นำเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันมาวางโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันในวงเงิน 400,000 บาท และ 783,000 บาท ตามลำดับพนักงานของจำเลยจึงตรวจปล่อยสินค้าให้โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์ไปตกลงระงับคดี แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงได้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ กำหนดไว้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยได้ และเมื่อยังโต้เถียง จำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยคืนหลักประกัน ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่าโจทก์กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ถ้า โจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ทำให้คดีอาญาระงับได้ตามมาตรา 102 และ 102 ทวิสินค้าที่โจทก์นำเข้าได้ระบุว่าเป็นกระบอกสูบเครื่องยนต์เครื่องหมายการค้า เอ็น.พี.อาร์. แต่ในตัวสินค้ามีเครื่องหมายรถยนต์ ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงถือเอาราคาตามที่บริษัทรถยนต์ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง โดยลดให้ร้อยละห้า และถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาด กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับอันจะได้ระงับคดีอาญา ดังนี้เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร, การสำแดงเท็จ, และการระงับคดีอาญา: สิทธิในการโต้แย้งและการคืนหลักประกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เห็นว่าโจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันค่าภาษีอากรไว้ ทั้งการกระทำของโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 จึงมีหนังสือเรียกให้โจทก์ไปตกลงระงับคดีอาญา ซึ่งหากโจทก์ยอมเสียค่าปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาดโดยคำนวณจากราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 102 และ 102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติศุลกากรกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยที่ตีราคาสินค้าโจทก์แล้วนำไปกำหนดค่าปรับ และโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันค่าภาษีอากรจนกว่าโจทก์จะชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบตามมาตรา 112 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรศุลกากร การสำแดงเท็จ และอำนาจเจ้าหน้าที่ในการวางประกันหรือปรับ
โจทก์นำกระบอกสูบเครื่องยนต์ระบุว่ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์.แต่บางรายการมีเครื่องหมายรถยนต์ยี่ห้อฮีโน บางรายการเป็นอะไหล่ชนิดแท้ของรถยนต์ยี่ห้อฮีโน โตโยต้า และนิสสัน ไม่ตรงกับใบขนสินค้า แสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจให้วางเงินประกันหรือให้มีการค้ำประกันของธนาคารแทนการวางเงินตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 และเมื่อเห็นว่ามีการทำคำสำแดงเท็จเป็นการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร จำเลยอาจจะตกลงงดการฟ้องร้องทางอาญาถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 99,102,102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปตกลงระงับคดีโดยเสียค่าปรับ จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาและตามเกณฑ์ระงับคดีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติและเป็นธรรมแก่คู่กรณีของจำเลยโจทก์จะต้องถูกปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยถือเอาราคาที่บริษัทรถยนต์ฮีโน โตโยต้าและนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง กับสินค้าที่โจทก์นำเข้าแล้วลดให้ร้อยละห้าแล้วถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาดแล้วได้กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับนั้น เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจจะฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งใดของจำเลยได้ และคดีนี้ยังโต้เถียงจำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ประเมินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อชำระเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันสินค้าเพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตามกฎหมาย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักตรวจสินค้าเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจกักตรวจหากมีเหตุสงสัย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้ โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อนการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากรมิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่ง สนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.
of 32