พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์บนเกาะกลางน้ำ: ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและสถานะที่ดิน
ในคดีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอ้างว่า ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดอยู่บนเกาะกลางน้ำซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและโจทก์ให้การว่าที่ที่โจทก์นำยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพียงโจทก์แถลงรับว่า ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นที่ดินซึ่งอยู่บนเกาะกลางน้ำมีน้ำในแม่น้ำล้อมรอบ ยังไม่พอฟังว่าที่รายพิพาทเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และกรณีไม่เข้าตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1309 เพราะโจทก์ยังโต้เถียงอยู่ว่าทรัพย์สินรายพิพาทเป็นของจำเลย และเกาะต่างๆ หาใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินทั้งหมดไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงาน: การแต่งตั้งเป็นกรรมการจัดงานพิเศษไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานที่ดินอำเภอได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดงานปีใหม่ และเป็นกรรมการจำหน่ายบัตรผ่านประตูนั้น หาทำให้ผู้เสียหายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องช่วยเหลือนายอำเภอปฏิบัติงานพิเศษเป็นการส่วนตัวเท่านั้น ฉะนั้น การพยายามทำร้ายผู้เสียหายที่ไม่ยอมให้ผ่านประตูเข้าไปในบริเวณงานโดยไม่มีบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 296 ประกอบด้วยมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาในฐานะพยาน การสอบสวนต้องกำหนดสถานะชัดเจน
ในคดีอาญานั้น พยานหลักฐานที่จะฟังลงโทษจำเลยได้ต้องเป็นพยานหลักฐานโจทก์ เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนสอบจำเลยเป็นพยานในชั้นแรก จึงเป็นพยานที่มิชอบ จะนำคำให้การของจำเลยที่ให้การเป็นพยานในชั้นสอบสวนนั้นมาอ้างพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานในการชันสูตรบาดแผล: โจทก์ต้องพิสูจน์เองหากไม่มีกฎหมายกำหนด
รายงานชันสูตรบาดแผลนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องให้เจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ โจทก์จึงต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่าผู้ทำเป็นเจ้าพนักงานต่างกับการชันสูตรพลิกศพ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ได้บัญญัติไว้ ซึ่งเมื่อนายแพทย์ได้ทำการชันสูตรพลิกศพด้วยศาลย่อมรับรู้ว่านายแพทย์เป็นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ลูกจ้าง' โรงงานสุรา ไม่ใช่ 'เจ้าพนักงาน' ทำให้ฟ้องทุจริตไม่ได้ แม้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบข้อบังคับของโรงงานสุราแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นผู้บรรจุแต่งตั้งก็ตาม ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่ต้องรับอนุมัติจาก ก.พ.การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งเป็นไปตามข้อบังคับของโรงงานสุรา ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ จำเลยได้รับเงินเดือนจากรายได้ของโรงงานสุราไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินเมื่อจะออกจากงานก็ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญจำเลยทำงานอยู่ในโรงงานสุราโดยมีค่าจ้าง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น ถือว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายและถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไปเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายและถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไปเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะการสมรสและการรับบำนาญ: การสมรสที่จดทะเบียนแล้วย่อมสมบูรณ์จนกว่าศาลพิพากษาเป็นอื่น
ป.พ.พ. มาตรา 1488 หมายความว่าตราบใดที่ศาลยังไม่ได้พิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะ การสมรสที่จดทะเบียนแล้วย่อมสมบูรณ์อยู่เสมอ ส่วนมาตรา 1445 (3) (4) เป็นแต่เพียงเหตุที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าการสมรสที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นโมฆะ หาใช่เหตุที่แสดงในตัวเองว่า การสมรสเป็นโมฆะไม่
โจทก์เป็นภริยาของนายถนอมอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 โดยจดทะเบียนสมรสกัน แม้ต่อมานายถนอมจะได้ตายไป แล้วโจทก์มาได้เสียกับนายธรรมอีก ภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้วการได้เสียกันดังนี้ ไม่ทำให้โจทก์เป็นภริยานายธรรม โจทก์จึงไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายธรรมในเวลาที่นายธรรมถึงแก่ความตาย
โจทก์เป็นภริยาของนายถนอมอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 โดยจดทะเบียนสมรสกัน แม้ต่อมานายถนอมจะได้ตายไป แล้วโจทก์มาได้เสียกับนายธรรมอีก ภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้วการได้เสียกันดังนี้ ไม่ทำให้โจทก์เป็นภริยานายธรรม โจทก์จึงไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายธรรมในเวลาที่นายธรรมถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องพิพากษาแสดงสถานะภริยาหลังคู่สมรสเสียชีวิต และผลกระทบต่อสิทธิรับมรดกที่ไม่ชัดเจน
เมื่อคดีได้ความว่าการสมรสของนายทองไทยได้สิ้นสุดลงแล้วโดยการตายของนายทองไทยและโจทก์บรรยายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายทองไทย จำเลยมิใช่ภริยา การจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับนายทองไทยเป็นโมฆะขอให้สั่งเพิกถอนเสียนั้น คำขอเช่นนี้ไม่บังเกิดผลอะไรแก่สิทธิในครอบครัวของโจทก์กับนายทองไทย ส่วนสิทธิในการรับมรดกของนายทองไทยนั้น โจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้แต่อย่างใด ทำนองจะเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการรับมรดก จึงเป็นฟ้องที่ไม่ควรรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบสถานะผู้เช่า: ไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่า
โจทก์ลงชื่อเป็นผู้เช่าในสัญญาเช่าห้องพิพาท จำเลยนำสืบว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเช่า ไม่ต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-359/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างกระทบฐานความผิดยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนเจ้าพนักงานประจำแผนกกลางของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ฝ่ายการเงินของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์คือการรับเงินจ่ายเงิน ปกครองรักษาและนำเงินผลประโยชน์รายได้ต่างๆของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ส่งต่อเจ้าหน้าที่แผนกคลังกรมประชาสัมพันธ์เป็นรายได้ของรัฐบาล จำเลยได้ยักยอกเงินที่ได้รับไว้ในหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานท่องเที่ยวนี้ได้รับเงินเดือนประเภทการจรมีฐานะเป็นลูกจ้างรายเดือนของสำนักงานและในคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนปรากฏว่าจำเลยรับราชการเป็นลูกจ้างได้ค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานอันจะเป็นผิดตาม มาตรา131
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319(3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3 บัญญัติให้ใช้ กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวลกฎหมายอาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ มาตรา319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า มาตรา352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319 จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา352 บังคับลงโทษจำเลย
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319(3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3 บัญญัติให้ใช้ กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวลกฎหมายอาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ มาตรา319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า มาตรา352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319 จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา352 บังคับลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานก่อนมี พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2499 มีผลต่อความผิด ม.145 ก.ม.ลักษณะอาญา
จำเลยเป็นเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกฟ้องก่อนที่ใช้ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2499 ว่าเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันไม่ควรทำ ละเว้นการอันไม่ควรละเว้น โดยเจตนาจะให้เกิดการเสียหายแก่โจทก์ซึ่งอ้างว่าผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.145 นั้น ไม่เป็นผิดเพราะก่อนใช้ พ.ร.บ.ธรรมศาสตร์ 2499 ถือว่าจำเลยเป็นพนักงานของนิติบุคคลธรรมดาไม่ใช่เจ้าพนักงานตาม มาตรา 145.