พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการครู: การช่วยราชการชั่วคราวและข้อยกเว้นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางชั่วคราวของข้าราชการครู แม้สละสิทธิในคำร้องย้าย หากย้ายไปที่อื่นมิใช่ที่ขอ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีก แห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่า ยานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุกค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่ จำเป็น ต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการมาตรา 14(21)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้ เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการ ใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียว กับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติ ให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลา ที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1 สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่าย ในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็น การที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการ ประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิ์ของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์ยังคงมีอยู่ แม้จะเคยขอถอนคำร้องไปก่อน หากไม่มีเจตนาสละสิทธิ
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัด ทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่าศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไปจึงไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องเสีย ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การสละสิทธิเมื่อไม่แสดงตนภายใน 90 วันหลังประกาศ
แม้จำเลยได้ยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้ป่าดงขุนดำ เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ จึงถือว่า จำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่า จำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปโดยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: การสละสิทธิจากการไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด
จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ จึงถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่าจำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกโดย ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 14,31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเงื่อนเวลาชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์: ศาลบังคับได้แม้ก่อนครบกำหนด หากจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 154 วรรคสองอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธหนี้ของโจทก์อย่างเดียวโดยมิได้ยกเงื่อนเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นโดยปริยาย ศาลจะหยิบยกปัญหาเรื่องเงื่อนเวลาขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งหมดให้จำเลยที่ 1 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามนัด ทั้งต่อมายังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับให้รับชำระราคาจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - การเช่าช่วง - สละสิทธิ - ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมเรียกเก็บค่าเช่าจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดต่อโจทก์โดยตรง จำเลยที่ 2อยู่ในที่ดินพิพาทอ้างว่าเช่าจากผู้ร้องสอดจึงไม่มีความสัมพันธ์กับโจทก์ การที่โจทก์ไม่เรียกเก็บค่าเช่าจากจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิหรือหมดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินเป็นเวลา 15 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะบังคับกันได้อย่างไรหรือไม่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่มีผลต่อบุคคลอื่นบทบัญญัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนการเช่าจึงมิใช่เป็นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับแนวเขตที่ดินเดิมทำให้การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดลง แม้ครอบครองก่อนแต่สละเจตนาแล้ว
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินของตน ได้ชี้แนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยตามหลักเขตที่จำเลยนำชี้ไว้เดิม จำเลยลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ว่าถูกต้อง เชื่อได้ว่าจำเลยยอมรับมาแต่แรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ดังนั้น แม้จะฟังตามที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน ก็ถือว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองแล้ว การครอบครองที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 การครอบครองของจำเลยซึ่งเริ่มใหม่หลังจากวันที่จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์