พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากเรือน (อสังหาริมทรัพย์) ที่มิได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ ทำให้สิทธิในเรือนยังคงเป็นของจำเลย
เมื่อจำเลยปลูกเรือนพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ เรือนพิพาทย่อมมีสภาพติดอยู่กับดิน ไม่อาจเคลื่อนจากที่ได้ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
ตามสำเนาสัญญาขายฝากท้ายฟ้องโจทก์ โจทก์จำเลยมีเจตนาขายฝากเรือนพิพาทอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสัญญานั้นมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะ
ตามสำเนาสัญญาขายฝากท้ายฟ้องโจทก์ โจทก์จำเลยมีเจตนาขายฝากเรือนพิพาทอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสัญญานั้นมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากเรือนซึ่งติดกับที่ดินเช่าตกเป็นโมฆะเนื่องจากไม่จดทะเบียน ทำให้สิทธิในเรือนยังเป็นของผู้ขาย
เมื่อจำเลยปลูกเรือนพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ เรือนพิพาทย่อมมีสภาพติดอยู่กับดิน ไม่อาจเคลื่อนจากที่ได้ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
ตามสำเนาสัญญาขายฝากท้ายฟ้องโจทก์ โจทก์จำเลยมีเจตนาขายฝากเรือนพิพาทอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสัญญานั้นมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ
ตามสำเนาสัญญาขายฝากท้ายฟ้องโจทก์ โจทก์จำเลยมีเจตนาขายฝากเรือนพิพาทอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อสัญญานั้นมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและโอนสิทธิเช่า: ผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่ผู้เช่าที่ดินทำสัญญาขายฝากห้องแถวและโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้ผู้ซื้อฝากด้วยนั้น ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องการให้ผู้ซื้อฝากต้องรื้อโรงเรือนนั้นไป และเป็นบุคคลสิทธิที่ใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ฉะนั้น แม้ต่อมาผู้เช่าที่ดินนั้นจะไปทำสัญญาเช่าใหม่กับเจ้าของที่ดินก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้สิ้นความผูกพันตามสัญญาที่ทำไว้ ผู้เช่าที่ดินจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้รับซื้อฝากนั้นได้
ในทำนองเดียวกัน ผู้ซื้อฝากห้องแถวซึ่งแม้จะได้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินที่โรงเรือนนั้นปลูกอยู่ไว้แล้วก็ตามแต่เมื่อยังไม่ได้ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน ก็ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินนั้นเช่นกัน
ในทำนองเดียวกัน ผู้ซื้อฝากห้องแถวซึ่งแม้จะได้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินที่โรงเรือนนั้นปลูกอยู่ไว้แล้วก็ตามแต่เมื่อยังไม่ได้ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน ก็ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินนั้นเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611-612/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก การชำระหนี้ และอายุความฟ้องร้อง
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝากซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝากคดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยเกินอัตรา ศาลพิจารณาตามเจตนาคู่สัญญา
โจทก์กู้เงินจำเลย แต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก นิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ (แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญา เพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ๆ เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่ไม่ผูกพันจริง ศาลวินิจฉัยเป็นนิติกรรมกู้เงินได้
โจทก์กู้เงินจำเลยแต่จำเลยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จึงเลี่ยงทำเป็นสัญญาขายฝากที่ดินโดยจำเลยผู้ซื้อฝากจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธินั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากนิติกรรมขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะ(แต่เข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้เงิน ซึ่งโจทก์ให้ที่ดินจำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน จึงบังคับกันได้)
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง
คดีแพ่งนั้น โจทก์ไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายอย่างคดีอาญาเพียงแต่โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและคำขอมาก็พอแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นๆ เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-708/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดไถ่สัญญาขายฝาก, สิทธิไถ่ถอน, หนังสือไม่เป็นสัญญาประนีประนอม, ราคาไถ่รวมดอกเบี้ย
สัญญาขายฝากทำเมื่อ 30 กันยายน 2498 กำหนดไถ่ใน 15 เดือนวันสุดท้ายที่จะไถ่ คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1-2 มกราคม 2500 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3มกราคม 2500 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยใช้สิทธิไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก และผลกระทบต่อการฟ้องขอไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนด
โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยมีกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี และมีข้อตกลงกันโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ต่อสัญญาขายฝากใหม่และจะเพิ่มเงินให้ด้วย แต่ที่ยังไม่ไปทำสัญญากันใหม่เพราะจำเลยป่วย เช่นนี้ โจทก์จะมาฟ้องขอไถ่เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีโดยถือว่าจำเลย โดยถือว่าจำเลยผิดสัญญาหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงต้องแสดงความเท็จหรือปกปิดความจริง การรับสัญญาขายฝากไว้เพื่อเก็บรักษาไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยมาพูดหลอกลวงโจทก์โดยเจตนาทุจริตขอเอาหนังสือสัญญาขายฝากไปโดยหลอกลวงว่าจะเอาไปรักษาไว้ให้เพื่อความปลอดภัยในการสูญหาย เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนจะคืนให้และจะมาบอกให้ไปไถ่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งความตามใน ม.341 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เพราะถ้อยคำของจำเลยดังที่โจทก์ระบุมาในฟ้องนั้นเป็นแต่เพียงมีความหมายว่าจะเอาไปเก็บไว้ให้เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นความจริงดังโจทก์กล่าวหา ก็เอาผิดแก่จำเลยตามฟ้องไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)