คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน มิใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ตายเช่าซื้อเป็นกรณีที่ผู้ใช้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและค้ำประกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายกุ้งจากโจทก์ขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมเป็นนิติกรรมที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,24เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1แล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ไม่มีอำนาจกระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นของศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้เท่านั้นสัญญาซื้อขายอาหารกุ้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150ไม่มีผลบังคับสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่1ตกลงขยายระยะเวลาชำระราคาค่าอาหารกุ้งที่ทำขึ้นระหว่างนั้นก็ตกเป็นโมฆะเช่นกันสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ที่ค้ำประกันหนี้ที่ขยายเวลาชำระนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา681โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระค่าอาหารกุ้งไม่ได้ คดีเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่1มิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857-2858/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, การตีราคาชำระหนี้, อายุความ, มูลหนี้เดียวกัน, คำพิพากษาขัดแย้ง
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดนัดและสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรก ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสอง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลาจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่า จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน96,525 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท., ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, สัญญาไม่มีกำหนดเวลา
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดระบุห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนดโดยมิได้ระบุจำกัดเฉพาะกรณีของการกู้ยืมเงินเท่านั้น ดังนั้น จึงใช้บังคับในเรื่องดอกเบี้ยเกี่ยวกับความรับผิดต่อธนาคารในการที่ธนาคารได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่บุคคลภายนอกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน และอำนาจศาลในการกำหนดค่าธรรมเนียมผู้เชี่ยวชาญ
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับ ไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้าง และสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีปฏิเสธว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ปลอม จำเลยที่ 2 จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยที่ 2 เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใด ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 129 (2) แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคสอง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้อง และสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่ 2แถลงไว้ ดังนี้ถือว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 99 แล้วและการกำหนดความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรก ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 167 วรรคแรก คดีนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์การทำสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิด
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้างและสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2ดังนี้เมื่อจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์จำเลยที่2ต่อสู้คดีปฏิเสธว่าจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างลายมือชื่อของจำเลยที่2ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่2ปลอมจำเลยที่2จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเลยที่2เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใดศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา129(2)แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง1ถึง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสอง ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่2ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องและสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักบานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่2แถลงไว้ดังนี้ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา99แล้วและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคแรกไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167วรรคแรกคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้จำเลยที่2จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควรที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันขยายผลถึงบริษัทในเครือ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันมีใจความว่าข้าพเจ้า(จำเลย)ขอทำสัญญาค้ำประกันว. ไว้ต่อบริษัทน. มีข้อความดังต่อไปนี้ข้อ5"ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับคำสั่งให้โยกย้ายไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่นซึ่งต่างนิติบุคคลกับบริษัทน. แต่เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มที.ซี.ซี.ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานอยู่ณที่ใดก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี."หมายความว่าจำเลยยอมผูกพันตนชำระหนี้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆอันเกิดจากการกระทำของว.ในขณะปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของบริษัทน. หรือบริษัทในกลุ่มที.ซี.ซี. เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ว. ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัทน.แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่มที.ซี.ซี.ดังนั้นเมื่อว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาค้ำประกันทุนรัฐบาลต่างประเทศ – ความเสียหายระหว่างปฏิบัติราชการ
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากประเทศมาเลเซีย เป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
of 50