คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ ศาลยกฟ้อง
ตามฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาททั้งหกสายเป็นทางสาธารณะหรือไม่และในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นสมประโยชน์แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันหนี้ การรับผิดส่วนตัวของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ และดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส.คือบริษัทต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส. ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้ จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส. ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลย ผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้อง รับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์ทันที หากคดีถึงที่สุดแล้วไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมนั้นคำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์ หากโจทก์เห็นว่าไม่ชอบอย่างไรก็อาจที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาตามยอมและสิทธิในการขอแก้ไขการบังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 คำพิพากษานั้นกฎหมายห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้ในสิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกัน ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้วมีข้อความผิดพลาดไม่ถูกต้องนั้น เมื่อโจทก์บังคับคดีจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลบังคับคดีโดยถูกต้อง โดยอ้างว่าการคิดต้นเงินหรือดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้องอย่างใด ที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใดแล้วขอให้บังคับคดีไปตามนั้นได้ เพราะคำพิพากษาตามยอมต้องบังคับไปตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความที่แท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล ในชั้นนี้ศาลฎีกายังวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอม และการเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิจารณาชี้ขาดได้เลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทนายโจทก์ไม่ได้ไปยังที่ทำการที่ดินอำเภอเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา แต่โจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษเป็นการพ้นเวลานัด โจทก์จึงเป็นผู้ผิดนัด เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่ได้เป็นผู้ผิดนัด เพราะให้ทนายโจทก์ไปยังสำนักงานที่ดินก่อน และตัวโจทก์ไปถึงเวลา 12 นาฬิกาเศษ จึงมีประเด็นเรื่องผิดนัดเป็นกรณีที่พิพาทกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้เมื่อมิได้วินิจฉัยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยร่วมฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ควรขยายระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ต้องสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แต่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือว่าเป็นประเด็นพิพาทในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ให้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5267/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีการรับชำระภายหลัง ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีได้
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนดวันที่ 30 ของทุกเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป หากผิดนัดสองงวดติดต่อกันให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้งวดแรกช้าไป 1 วัน และไม่ได้ชำระงวดที่ 2 จำเลยทั้งสี่จึงผิดนัดสองงวดติดต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ถึง 44,714,520.11บาท และต้องผ่อนชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จภายใน 5 ปีจำเลยทั้งสี่ผ่อนชำระให้โจทก์เพียง 7 ครั้ง เป็นเงินเพียง 3,500,000บาท การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่อีกต่อมาภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ผิดนัดนั้นย่อมเป็นการบรรเทาภาระหนี้สินของจำเลยทั้งสี่ที่มีอยู่ต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่จะถือเอาเป็นการผูกมัดโจทก์ว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ทั้งโจทก์ได้คัดค้านปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ตลอดมา แม้จำเลยทั้งสี่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2533 โจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แสดงว่าโจทก์ยังถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนที่ดิน ไม่เป็นโมฆะ แม้ต้องใช้เวลาประกาศ 30 วัน
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยตกลงที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินตาม น.ส.3 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของให้แก่โจทก์โดยจะไปจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนภายใน 7 วันนับแต่วันทำสัญญาหากจำเลยไม่ไปโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และจำเลยยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาทกำหนดเวลาดังกล่าวเพียงแต่ให้ไปยื่นคำขอเท่านั้นหาได้หมายความถึงการจดทะเบียนโอนด้วยไม่ เนื่องจากการจดทะเบียนโอนที่ดินจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายก่อนซึ่งบางกรณีจำต้องประกาศ30 วันเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินมีโอกาสคัดค้านเสียก่อนดังนั้นกำหนดในสัญญาที่ให้คู่สัญญาไปจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 7 วัน จึงไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ ใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยรับว่าเป็นหนี้ตามเช็คในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คคดีนี้จริง และขอผ่อนชำระเงินเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อให้นัดฟังคำพิพากษา อีกทั้งยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งได้ด้วย ส่วนผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาใด ๆ ให้ปรากฎในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวว่าจะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแต่อย่างใด ส่วนคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายก็มีใจความสำคัญว่า โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากตกลงกันได้โจทก์จะถอนฟ้อง แต่ปรากฎว่าจำเลยถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หากโจทก์ถอนฟ้องก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก ขอให้ศาลพิพากษาไปได้เลย ไม่มีข้อความใดที่โจทก์แสถงเจตนาสละสิทธิดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน กลับมีข้อความยืนยันให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปเสียอีกดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายดังกล่าว จึงมิใช่การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามนัย ป.วิ.อ.มาตรา39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็ค แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดกำหนดโทษไว้ให้ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ อันเป็นอัตราโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การบังคับคดี, ทายาท, ฟ้องซ้ำที่ไม่เป็นฟ้อง
โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวเคยฟ้องจำเลยขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แล้วโจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จึงมาฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกคดีโจทก์ที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีก่อน โจทก์ที่ 1เคยขอบังคับคดีโดยขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยถูกจับตามหมายจับได้ขอประกันตัวต่อศาลและหลบหนีไปจนพ้นกำหนดการบังคับคดี แสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลยจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องฟ้องซ้ำไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ย.ทายาทผู้รับมรดกของห.ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวข้างต้น แต่ย.และโจทก์ที่ 2(ผู้จัดการมรดกนายห.) มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวคำพิพากษาตามยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.
of 51