คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำคัญผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: การเข้าใจว่าสัญญาจ้างขุดดินลูกรังเป็นการอนุญาตให้ขุดได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติม
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาตจำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความ ยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคาทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ ในครั้งก่อนๆไม่เคยขออนุญาต การที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุด และขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ ตามระเบียบ โดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและ ขนลูกรัง ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีก กรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: เข้าใจว่าสัญญาขุดดินลูกรังถือเป็นการอนุญาตแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตซ้ำ
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาตจำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา9แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคาทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ในครั้งก่อนๆไม่เคยขออนุญาตการที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุดและขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ตามระเบียบโดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและขนลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีกกรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการทุจริตและการสำคัญผิดในตัวบุคคล ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับซื้อที่ดินจากผู้ที่ปลอมชื่อเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งลักโฉนดที่ดินมาจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการทุจริตโดยโจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย เป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคล อันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น แม้การซื้อขายจะทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าตอบแทนโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการทุจริตและสำคัญผิดในตัวบุคคล ทำให้การโอนเป็นโมฆะ แม้มีการเสียค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับซื้อที่ดินจากผู้ที่ปลอมชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งลักโฉนดที่ดินมาจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนจำนอง ที่ดินดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการทุจริต โดย โจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคล อันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น แม้การซื้อขายจะทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ได้เสียค่าตอบแทนโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดิน ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการทุจริตและการสำคัญผิดในตัวบุคคลทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่1จดทะเบียนรับซื้อที่ดินจากผู้ที่ปลอมชื่อเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งลักโฉนดที่ดินมาจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้วจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวกับจำเลยที่2ดังนี้จำเลยที่1ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์นิติกรรมซื้อขายเกิดจากการทุจริตโดยโจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเป็นการสำคัญผิดในตัวบุคคลอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119ถือเสมือนว่าไม่มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นแม้การซื้อขายจะทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และจำเลยที่1ได้เสียค่าตอบแทนโดยสุจริตจำเลยที่1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสำคัญผิด และสิทธิในการอายัดรถยนต์ของผู้สุจริต
ก่อนนำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผู้นำมาขอแลกว่า หมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์ และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนรถมีพิรุธว่าเป็นของปลอม หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถ แม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียน กรมตำรวจ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้ประโยชน์แก่ตน จำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้ เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ การใช้สิทธิอายัดรถยนต์โดยสุจริต
จำเลยซื้อรถยนต์พิพาทมาจากป. แต่ยังไม่ได้โอนทะเบียนเป็นชื่อจำเลยต่อมามีผู้อ้างว่าชื่อธ. นำรถยนต์มาขอแลกเปลี่ยนกับรถยนต์พิพาทจำเลยก็ตกลงแลกเปลี่ยนให้หลังจากนั้นโจทก์ได้รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากชายคนหนึ่งอีก2วันต่อมาจำเลยทราบว่าทะเบียนรถที่ธ. นำมาแลกเปลี่ยนเป็นทะเบียนปลอมเจ้าของรถที่แท้จริงไม่ใช่ธ. จำเลยจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและขออายัดรถยนต์พิพาทไว้เมื่อได้ความว่าก่อนตกลงแลกเปลี่ยนรถกันจำเลยได้ตรวจดูเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ที่ธ. นำมาขอแลกเปลี่ยนแล้วปรากฏว่าตรงกับในทะเบียนรถและรูปถ่ายในบัตรประชาชนที่นำมาแสดงเหมือนกับผู้ที่อ้างว่าเป็นธ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วแม้จะถือว่านิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์พิพาทตกเป็นโมฆะเพราะทำด้วยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยจึงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตน และย่อมมีสิทธิในการขออายัดรถยนต์พิพาทได้โดยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินที่ธนาคารจ่ายเกินเนื่องจากความสำคัญผิดของผู้ปฏิบัติงานธนาคาร
ตามหนังสือมอบอำนาจปรากฏว่า ธนาคารมอบอำนาจให้ผู้จัดการธนาคารสาขามีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีที่สาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้อง ดังนี้ผู้จัดการธนาคารสาขาย่อมมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินที่พนักงานของธนาคารสาขาส่งมอบให้จำเลยโดยสำคัญผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน 90,000 บาท ของธนาคารโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราช โดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน 10,000 บาท โดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า 'หนึ่งหมื่นบาท' แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลข ได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่ง โดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข 1 แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน 100,000 บาท จึงจ่ายเงินให้จำเลย 100,000 บาท ถือได้ว่าเงินจำนวน 90,000 บาท เป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไป แม้จะด้วยการใดก็ตาม เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในนิติกรรม: ตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและความจำเป็นในการไถ่คืน
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะและตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญแต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนางอ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจโจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นางอ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อนแต่นางอ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมรรับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะนั้นคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นางอ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญคงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้นการที่นางอ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกันเพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้วเหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะคดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์
of 28