คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน หากไม่มีถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จำเลยไม่มีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของผู้ตายเนื่องจากคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป้นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องสอดกับพวกได้ยื่นคำร้องคัดค้านและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวและได้ยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องสอดเพื่อมิให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่อาจรับมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งจะทำให้โจทก์และจำเลยสมยอมกันจัดแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกันหากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความนั้น เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1) ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้อง เมื่อคำร้องสอดไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่
คดีนี้จำเลยทั้งสองมิได้ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี มิใช่ขาดนัด ไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่
กรณีที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าธรรมเนียมศาล ส่งผลต่อสิทธิในการอุทธรณ์และการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งกรณีดังกล่าวจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะต้องสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้สั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9128/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง การใช้สิทธิหยุดกิจการบางส่วนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่กิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 ถึงมิถุนายน 2546 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงมากเมื่อเทียบกับในปี 2544 หากโจทก์ยังคงผลิตสินค้าในปริมาณเดิม ก็เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้หมดอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของโจทก์มีปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดได้ หากยังคงผลิตออกมาก็ไม่มีตลาดรองรับ ย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะการเงินและความคงอยู่ของกิจการโจทก์ การที่โจทก์ลดการผลิตลงจึงเป็นความจำเป็นโดยเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และการที่โจทก์ลดการผลิตลงด้วยการให้ลูกจ้างสลับกันหยุดงานเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนทำงาน มีผลเท่ากับโจทก์หยุดการผลิตบางส่วนซึ่งทำให้ผลผลิตลดลง อันเป็นการหยุดกิจการในส่วนที่ต้องลดการผลิตนั้น จึงเป็นการหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราว การที่โจทก์ให้ลูกจ้างสลับกันหยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ครึ่งหนึ่งตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2545 ถึงสิงหาคม 2546 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่โจทก์ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงมาก จึงเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9079/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดกของผู้สืบสิทธิจากทายาทโดยธรรม การขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องของผู้คัดค้านอ้างว่า อ. เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย อ. จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อ อ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ อ. ซึ่งตามกฎหมายย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งมีผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. รวมอยู่ด้วย ทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายยังมีทายาทลำดับอื่นก่อนผู้ร้องซึ่งยังมีชีวิตอยู่และผู้ร้องยังประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย สมควรถูกถอดออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหากเป็นจริงตามข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้สืบสิทธิของ อ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9079/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดกของผู้สืบสิทธิทายาทโดยธรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดก
ตามคำร้องของผู้คัดค้านอ้างว่า นาย อ. เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย นาย อ. จึงมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อนาย อ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนาย อ. ซึ่งตามกฎหมายย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งมีผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย อ. รวมอยู่ด้วย ทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เนื่องจากผู้ตายยังมีทายาทลำดับอื่นก่อนผู้ร้องซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และผู้ร้องยังประพฤติตนไม่เหมาะสม ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย สมควรถูกถอดออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากเป็นจริงตามข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้สืบสิทธิของนาย อ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำร้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาหลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแล้ว ถือเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่งไปแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว จำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้าแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะคนอนาถา: การเลือกใช้สิทธิ และผลของการอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยเพราะจำเลยมิใช่คนยากจน หากจำเลยไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวจำเลยมีสิทธิที่จะดำเนินการตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าบัญญัติไว้ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนหรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งแม้จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จำเลยก็จะกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8705/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นบนที่ดินที่เช่า แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง
แม้โจทก์กับจำเลยจะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทไม่ได้ เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมและสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงก่อนหน้านี้ไม่ยอมออกไปจากที่พิพาทนั้นย่อมเป็นการรอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยโดยการยื่นคำฟ้องพร้อมกับขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 ซึ่งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามที่โจทก์มีคำขอแล้ว ก็ย่อมมีผลทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องจำเลย
of 424