พบผลลัพธ์ทั้งหมด 169 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามโอนสิทธิแก่บุคคลอื่น แม้เป็นบุตรเขยหรือทายาท เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าเท่านั้น จะโอนจะแบ่งตามกฎหมายครอบครัวหรือมรดกหรือตามนิติกรรมก็ดี ถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาเช่า หรือมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าแล้ว จะโอนจะแบ่งไปยังบุคคลภายนอกแม้จะเป็นสามีภริยาหรือแม้แต่ทายาทของผู้เช่าหาได้ไม่หรือนัยหนึ่งสิทธิการเช่าเป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งคนอื่นนอกจากคู่สัญญาเช่าจะเข้าไปมีสิทธิตามสัญญาด้วยไม่ได้ เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าตึกพิพาทตามสัญญาเช่าแต่ผู้เดียวจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาด้วย. ย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับชำระหนี้ คือการเข้าอยู่ในตึกเช่ารายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 888/2511)
ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์สัญญาจะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยด้วยวาจานั้น ไม่มีผลในกฎหมายที่จะผูกพันบังคับกันได้
โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายมาด้วย แต่ไม่มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหาย ศาลฎีกาย่อมไม่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์สัญญาจะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยด้วยวาจานั้น ไม่มีผลในกฎหมายที่จะผูกพันบังคับกันได้
โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายมาด้วย แต่ไม่มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหาย ศาลฎีกาย่อมไม่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสิทธิการเช่าของสามีตามกฎหมาย และหน้าที่ชำระค่าเช่าของผู้เช่า
สามีมีอำนาจที่จะเอาตึกแถวซึ่งภริยาเช่าไปให้ผู้อื่นเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าเป็นทรัพย์สินซึ่งสามีมีอำนาจจัดการได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะได้มีการเช่าช่วงระหว่างสามีภริยากันหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า มิฉะนั้นสิทธิการเช่าไม่ตกไปยังผู้รับโอน
บันทึกข้อตกลงที่ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของผู้เช่าโอนไปยังโจทก์
สัญญาเช่าตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่าช่วงได้แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อนถ้าผู้เช่าให้โจทก์เช่าช่วงโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร สัญญาเช่าระหว่างผู้เช่ากับโจทก์ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ให้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจให้จำเลยเช่าช่วงต่อและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากตึกแถวที่เช่า
สัญญาเช่าตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่าช่วงได้แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อนถ้าผู้เช่าให้โจทก์เช่าช่วงโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร สัญญาเช่าระหว่างผู้เช่ากับโจทก์ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ให้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจให้จำเลยเช่าช่วงต่อและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากตึกแถวที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงลอย - ผู้มีสิทธิขายของย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ แม้ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์เป็นผู้เช่าแผงลอยแล้วให้น้องสาวและมารดาโจทก์เข้านั่งขายของ น้องสาวโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ ได้ให้จำเลยเข้าขายของที่แผงลอยนั้นโดยโจทก์ไม่ทราบเรื่อง และไม่ปรากฏว่าจำเลยขอเช่าจากผู้มีสิทธิให้เช่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของแผงลอย และคนเก็บค่าเช่าจะเก็บค่าเช่าจากจำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิการเช่า vs. การยินยอมให้ปลูกสร้าง และผลกระทบต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นสามีภริยา พินัยกรรมยกสิทธิให้ผู้อื่นจึงไม่ผูกพัน
บิดาโจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ บิดาโจทก์ทำพินัยกรรมโอนสิทธิในที่เช่านั้นให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พินัยกรรมนั้นไม่มีผลที่จะนำมาใช้ยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นสามีภริยาก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมยกสิทธิให้ผู้อื่นได้
บิดาโจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ บิดาโจทก์ทำพินัยกรรมโอนสิทธิในที่เช่านั้นให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พินัยกรรมนั้นไม่มีผลที่จะนำมาใช้ยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาของจำเลยร่วมผูกพันจำเลยร่วมอื่น เมื่อมูลคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้และสิทธิการเช่า
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน และทนายได้ยื่น ฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2 สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวน และในฎีกามีข้อความว่า "จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย" ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการทำสัญญาช่วง: ผู้เช่าช่วงต้องทำสัญญาใหม่กับผู้เช่าเดิมหากต้องการใช้สิทธิ
จำเลยกับพวกประมูลสิทธิขายเนื้อสุกรโดยเสียค่าตอบแทนหรือค่าบำรุงให้เทศบาล 368,000 บาท กับค่าเช่าเป็นรายวันจำเลยเข้าขายเนื้อสุกรที่เขียงตามที่ประมูลได้แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าจากเทศบาลจำเลยกับพวกยังผูกพันจะต้องชำระเงิน 368,000 บาท จึงจะมีสิทธิต่อมามีการตั้งบริษัทโจทก์ขึ้นโดยจำเลยกับพวกเป็นผู้ถือหุ้นและมี ต.เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง บริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าเขียงหรือแผงจากเทศบาลโดยเสียเงินบำรุงให้แก่เทศบาล 368,000 บาทตามที่จำเลยกับพวกประมูลไว้จำเลยกับพวกมิได้คัดค้านดังนี้ บริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งต่างหากจากจำเลยและพวก เป็นคู่สัญญากับเทศบาล จำเลยยอมให้บริษัทโจทก์เป็นผู้เช่าแล้ว บริษัทโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้เขียงจำหน่ายเนื้อสุกรได้อย่างฐานะผู้เช่าทั่วไปเมื่อบริษัทโจทก์ให้จำเลยมาทำสัญญาเช่าจากบริษัทโจทก์ เพื่อจำเลยจะได้ใช้เขียงจำหน่ายต่อไปก็ชอบที่จะต้องทำสัญญาเช่าจากบริษัทโจทก์การที่จำเลยไม่ยอมมาทำสัญญาเช่า บริษัทโจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยได้ข้อโต้เถียงของจำเลยเกี่ยวกับ ต. ผู้ถือหุ้นของบริษัทว่าทำการไม่ชอบอันเป็นกิจการภายในของบริษัทโจทก์นั้นเป็นกรณีที่จำเลยจะว่ากล่าวเอาแก่บริษัทโจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก