คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ภาษีการค้าเกินกำหนด 30 วัน ทำให้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีไม่มีผล แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับเรื่อง
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าที่โจทก์ต้องชำระแล้วได้แจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าโดยผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดเป็นผู้นำไปส่งที่บ้านโจทก์แต่ไม่พบโจทก์จึงส่งให้คนในบ้านโจทก์รับแทน แม้จะไม่ได้ส่งแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้รับกับเจ้าพนักงานว่าโจทก์ได้ทราบการประเมินตามที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไปแล้ว จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินแล้วตั้งแต่วันที่รับกับเจ้าพนักงาน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีผลให้อุทธรณ์นั้นกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ เท่ากับโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลไม่อนุญาตคู่ความร่วม: พิจารณาประเภทคำสั่งเพื่อสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น, สิทธิอุทธรณ์, การฟ้องสองฐานะ
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว มิได้ฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยข้อกฎหมายมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นได้ (อ้างฎีกาที่ 1689/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น, สิทธิอุทธรณ์, การวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว มิได้ฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยข้อกฎหมายมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นได้ (อ้างฎีกาที่ 1689/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและสิทธิอุทธรณ์: คำสั่งระหว่างพิจารณาที่มิได้โต้แย้งย่อมถึงที่สุด
ศาลได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลไต่สวนแล้วสั่งไม่อนุญาต จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ ทั้ง ๆ ที่จำเลยมีโอกาสจะโต้แย้งได้ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์ขอยื่นคำให้การอีก เพราะคำสั่งนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมยังมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์. แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14) อธิบายคำว่า 'โจทก์' ไว้ว่า. หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน. เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ. พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้. ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น: การที่โจทก์ขอเลื่อนสืบพยานไม่ถือว่าประวิงคดี หากมีการโต้แย้งคำสั่งศาลอย่างถูกต้อง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก โจทก์ยื่นคำร้องว่าทนายป่วยมาศาลไม่ได้พร้อมทั้งส่งใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานปรากฏว่าโจทก์มิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานไว้ และวันสืบพยานนั้นตัวโจทก์เดินทางไปต่างจังหวัดศาลสอบถามจำเลย จำเลยแถลงว่าแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรตามพฤติการณ์ทั้งหมดนี้ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แกล้งประวิงคดี
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนสืบพยานโจทก์และถือว่าโจทก์ไม่มีพยานนำสืบ โจทก์ได้ยื่นคำร้องชี้แจงเหตุผลในการที่โจทก์มีความจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนการสืบพยาน ขอให้ศาลนัดไต่สวนและมีคำสั่งให้โจทก์เข้าสืบเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้วโจทก์อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้นยังคงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีก่อนศาลสั่งจำหน่ายคดีโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้อีกไม่เป็นฟ้องซ้ำ ให้ดำเนินคดีสืบพยานโจทก์ไป" นั้น หาทำให้คดีเสร็จสำนวนไม่ เพราะศาลยังต้องทำการสืบพยานและพิพากษาชี้ขาดต่อไป เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งนี้ จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
of 18